อุปกรณ์ช่วยพยุงหลังสำหรับการฝึกม้วนตัว
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 19.5K views



อุปกรณ์ช่วยพยุงหลังสำหรับการฝึกม้วนตัว 1/2
อุปกรณ์ช่วยพยุงหลังสำหรับการฝึกม้วนตัว 2/2

อุปกรณ์ช่วยพยุงหลังสำหรับการฝึกม้วนตัว (สุขศึกษา)

ปรากฎการณ์ ณ โรงเรียนบางมดวิทยา สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์
โรงเรียนบางมดวิทยา สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์ ตั้งอยู่ที่เลขที่ ๑๒/๔ ถนนพระราม ๒ แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๓ จัดการศึกษาในระดับช่วงชั้นที่ ๓- ๔ มีนายราชวัตร สว่างรักษ์ เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา ส่งเสริมให้ครูได้คิดค้นและพัฒนานวัตกรรม อุปกรณ์ช่วยพยุงหลังสำหรับการฝึกม้วนตัวในกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาเพื่อใช้พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนจนประสบความสำเร็จเป็นต้แบบของคนต้นคิดที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาไทย

ข้อค้นพบ : ต้นคิดของแนวทางการพัฒนา
นายบันเทิง จันทร์นิเวศน์ ครูผู้สอนพลศึกษามากกว่า ๒๕ ปี ได้รับมอบหมายให้จัดการเรียนรู้พลศึกษาในรายวิชา พ ๑๐๑ หรือ พ ๑๐ ซึ่งเป็นวิชาที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมและพัฒนาสมรรถภาพทางกายของผู้เรียน

ปัญหาที่ต้องเผชิญในทุกปีการศึกษา ก็คือ ในแต่ละปีจะมีผู้เรียนที่เป็นโรคอ้วนมีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานปีละเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการจัดการเรียนรู้ทั้งของครูและของผู้เรียนเองโดยเฉพาะในเรื่องของการทดสอบทักษะเบื้องต้นของการม้วนตัวทั้งม้วนหน้าและม้วนหลังจะมีผู้เรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานที่ไม่สามารถผ่านทักษะเบื้องต้นการม้วนหน้าและม้วนหลังได้ โดยเฉพาะการม้วนหลังนั้นผู้เรียนไม่สามารถผ่านการทดสอบมากที่สุด

การพัฒนานวัตกรรม
เนื่องจากการทดสอบทักษะการม้วนหน้า ม้วนหลัง เป็นเรื่องที่ครูจะต้องดูแล กำกับและคอยช่วยเหลือผู้เรียนในการฝึกทักษะอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ หากการฝึกเกิดความผิดพลาดจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้เรียนได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่น้ำหนักเกินมาก ๆ

เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพสูงสุด ครูบันเทิง จันทร์นิเวศน์ จึงได้ทำการวัจัยปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้ค้นพบสาเหตุสำคัญหลายประการที่ทำให้ผู้เรียนไม่สามารถม้วนหน้าม้วนหลังได้ เช่น
    1. ไม่เก็บคอขณะม้วนหน้าหลังทำให้ศรีษะฟาดพื้น
    2. ก้มงอตัวไม่ได้เนื่องจากมีไขมันหน้าท้องมาก
    3. ไม่ใช้มือรองรับการม้วนหลัง เพื่อส่งแรงดันให้กลับมานั่ง
    4. ไม่เตะเท้าส่งแรงให้ม้วนหลัง
    5. กลัวอันตรายหรือกลัวบาดเจ็บ
ผลจากการวิจัยนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมประเภทสิ่งประดิษฐ์ ทั้งนี้ เพราะปัญหาโดยรวมของการม้วนตัวมาจากลำตัวและหลังที่ไม่สามารถงอตัวได้จนเป็นแรงส่งให้ลำตัวม้วนกลับมาครบรอบคือกลับมาอยู่ในท่านั่ง

นวัตกรมสิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นและพัฒนาขึ้นเป็นอุปกรณ์ช่วยพยุงสำหรับการฝึกม้วนตัวทำให้ผู้เรียนที่มีรูปร่างอ้วน น้ำหนักเกิน ซึ่งเวลาฝึกจึงเป็นที่หัวเราะขบขันของเพื่อน ๆ ทำให้เกิดปมด้อย และไม่มีความสุขในการฝึกทักษะ ให้สามารถที่จะม้วนตัวได้ ส่งผลให้การฝึกทักษะเต็มไปด้วยความสุข โดยมีโครงสร้างของอุปกรณ์ ดังนี้
    1. เป็นโครงเหล็กมีเบาะฟองน้ำรองรับน้ำหนักช่วยให้ผู้ฝึกมีความรู้สึกที่ดีสะดวกสบายตลอดเวลาของการใช้งาน ทำให้ผู้ฝึกรู้สึกปลอดภัยตลอดเวลาที่ใช้
    2. โครงเหล็กมีการปรับแต่งให้เบาะฟองน้ำรองรับบริเวณหลังและลำตัว มีน้ำหนักถ่วงไปด้านหลังทำให้เกิดแรงส่งขณะม้วน ส่งผลให้การม้วนตัวง่ายขึ้น
    3. โครงเหล็กมั่นคงแข็งแรงรองรับน้ำหนักของเด็กที่มีน้ำหนักเกิน ( อ้วน ) ได้ทั้งเด็กเล็ก และเด็กโตทั้งนักเรียนชายและหญิง
    4. โครงเหล็กที่ได้รับการออกแบบมาให้มีความโค้งสม่ำเสมอ มีขนาดเหมาะสมกับนักเรียนทุกรูปร่างขณะใช้งานช่วยผ่อนแรงผู้ฝึกสอนได้เป็นอย่างดี
    5. วัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบมีความแข็งแรง ทนทาน มีความปลอดภัยสูงขณะใช้งาน
    6. ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้และปฎิบัติทักษะการม้วนตัวได้ด้วยตนเอง โดยที่นักเรียนจะเห็นภาพการม้วนตัวของตนเองหรือเพื่อได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น


บทสรุปของความสำเร็จ
นวัตกรรมอุปกรณ์ช่วยพยุงหลังสำหรับการฝึกม้วนตัวสามารแก้ไขปัญหาในการจัดการเรียนรู้ การฝึกทักษะการม้วนตัวให้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๗ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน เกิดประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา ดังนี้
     ด้านผู้เรียน  :  มีนวัตกรรมการฝึกทักษะการม้วนตัวที่ทันสมัยปลอดภัย ช่วยแก้ปัญหาการม้วนตัวของผู้เรียนที่มีน้ำหนักเกินได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล
     ด้านครู  :  เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน มีสื่ออุปกรณ์การจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
     ผู้บริหาร  :  ส่งเสริมให้ครูได้คิดค้นนวัตกรรมการศึกษาใหม่ ๆ สำหรับการพัฒนาการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
     ชุมชน  :  สามารถเข้ามาใช้บริหารในการฝึกทักษะการม้วนตัวซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญ ของพลศึกษาที่จะส่งเสริมให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง

ความสำเร็จที่เกิดขึ้นที่โรงเรียนบางมดวิทยา "สีสุกหวาดจวนอุปถัมภ์" เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่เป็นคุณูปการยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย