การทำ CPR
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 40.7K views



การทำ CPR

 ขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)
๑. การช่วยจัดทางเดินทางหายใจให้โล่ง และอยู่ในท่าที่จะให้การช่วยเหลือ ซึ่งทำได้โดย
     ๑.๑ วางฝ่ามือบนหน้าผากผู้ป่วยและกดลง นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือพร้อมที่จะเอื้อมมาอุดจมูกเมื่อจะผายปอด มือล่างใช้นิ้วกลางและนั้วชี้เชยคางขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะสามารถใช้ได้ในผู้บาดเจ็บที่มีกระดูกสันหลังส่วนคอหัก

    ๑.๒ ใช้มือกดหน้าผากเหมือนวิธีแรก ส่วนมืออีกข้างหนึ่งช้อนใต้คอขึ้นวิธีนี้ทำได้ง่าย แต่ไม่ควรทำในผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังเพราะจะเกิดอันตรายต่อไข สันหลัง

    ๑.๓ ใช้สันมือทั้งสองข้างวางบนหน้าผากกดลง แล้วใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางจับกระโดงคาง (Mandible) ของผู้ป่วยขึ้นไปทางข้างหน้า ซึ่งผู้ทำ CPR นั่งคุกเข่าอยู่ทางศีรษะของผู้ป่วย ซึ่งวิธีนี้ทำได้ยาก แต่ช่วยให้ทางเดินหายใจโล่งดี

ถ้าการหยุดหายใจเกิดจากลิ้นตกไปอุดตันทางเดินหายใจผู้ป่วยจะหายใจได้เอง และในขั้นตอนการเปิดทางเดินหายใจนี้ควรใช้เวลา ๔ - ๑๐ วินาที

๒. การตรวจดูการหายใจ ซึ่งควรใช้เวลาเพียง ๓ - ๕ วินาที ซึ่งทำโดยคุกเข่าลงใกล้ไหล่ผู้ป่วย ผู้ให้การช่วยเหลือเอียงศีรษะดูทางปลายเท้าผู้ป่วย หูอยู่ชิดติดกับปากผู้ป่วยและฟังเสียงลมหายใจผู้ป่วย ตามองดูหน้าอกว่ามีการเคลื่อนไหวหรือไม่หรือใช้แก้มสัมผัสลมหายใจจากผู้ป่วย

การหายใจเข้า เป็นการที่ปอดพองตัวรับอากาศภายนอกเข้าทรวงอกจากนั้นปอดจะบีบตัวเอาลมที่ใช้ แล้วออกทำให้เห็นทรวงอกเคลื่อนลงเล็กน้อย ซึ่งการขยายขึ้นลงเป็นจังหวะสม่ำเสมอ และนับการหายใจหนึ่งครั้ง ซึ่งการหายใจน้อย (ตื้น) หรือไม่หายใจ จะต้องช่วยการหายใจในทันที โดยการที่ผู้ทำ CPR สูดหายใจเข้าเต็มที่แล้วเป่าเข้าสู่ผู้ป่วยโดยวิธี
    ๒.๑ ปากต่อปาก ผู้ทำการช่วยฟื้นคืนชีพควรนั่งข้างใดข้างหนึ่ง ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือของข้างที่กดศีรษะ บีบจมูกผู้ป่วยเพื่อไม่ให้อากาศรั่วออกขณะเป่าลมเข้าปาก มือข้างที่ยกคางประคองให้ปากเผยอเล็กน้อย ผู้ทำ CPR สูดหายใจเข้าเต็มที่ประกบปากครอบปากผู้ป่วยพร้อมเป่าลมเข้าเต็มที่ ด้วยความเร็วสม่ำเสมอประมาณ ๘๐๐ มิลลิลิตรต่อ ๑ ครั้ง เพื่อให้ปอดขยาย ขณะทำการช่วยเหลือควรสังเกตว่าทรวงอกขยายออกแสดงถึงอากาศผ่านเข้าไปได้ดี แล้วรีบถอนปาก รอให้ลมออกจากผู้ป่วย ซึ่งใช้เวลาประมาณ ๑-๑๕ วินาที แล้วเป่าซ้ำ
    ๒.๒ ปากต่อจมูก การเป่าลมเข้าทางจมูกเป็นวิธีที่ดี กระทำได้เช่นเดียวกับการเป่าปาก ซึ่งในกรณีที่เปิดปากไม่ได้หรือมีแผลที่ปาก ให้ใช้มือด้านที่เชยคางยกขึ้นให้ปากปิดแล้วเป่าลมเข้าทางจมูกแทนโดยต้องใช้ แรงเป่ามากกว่าปากเพราะมีแรงเสียดทานสูงกว่า

๓. การตรวจชีพจรเพื่อประเมินการไหลเวียนโลหิต โดยคลำที่หลอดเลือดใหญ่ที่ตรวจง่าย คือหลอดเลือดแดงคาโรติด (อยู่ทางด้านข้างของลำคอนำเลือดไปเลี้ยงศีรษะ) โดยวางนิ้วโป้งและนิ้วกลางตรงช่องกระหว่างลูกกระเดือกหรือ Thyroid cartilage และกล้ามเนื้อคือ Sternomastoid สังเกต และนับจังหวะ

การเต้นของหลอดเลือด ถ้ามีชีพจรอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ แต่ไม่หายใจให้ช่วยเฉพาะการหายใจ ถ้าไม่มีชีพจรหรือมีแต่ช้ามาก เบามาก ให้ทำการช่วยการไหลเวียนต่อจากการช่วยหายใจทันทีโดยในการคลำชีพจรไม่ควรใช้ เวลาเกินกว่า ๕ วินาที ซึ่งผู้ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพควรฝึกหัดคลำชีพจนให้ชำนาญ

ตำแหน่งการวางมือ
ผู้ให้การช่วยฟื้นคืนชีพจะต้องใช้สันมือ (Heel of Hand) ข้างหนึ่งวางบนกระดูกหน้าอกโดยให้อยู่เหนือลิ้นปี่ประมาณ ๓ เซนติเมตร หรือสองนิ้วมือซึ่งกระทำโดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางวางทาบลงบนกระดูกหน้าอก ให้นิ้วกลางอยู่ชิดลิ้นปี่ แล้วใช้สันมืออีกข้างหนึ่งวางทับลงไปโดยไม่ใช้ฝ่ามือแตะหน้าอกและเมื่อวาง ถูกตำแหน่งแล้วไม่ควรยกขึ้นหรือเคลื่อนที่ ซึ่งพบได้บ่อยในการฝึกปฏิบัติและทำให้การทำ CPR ไม่ได้ผลดี

การนวดหัวใจ
กระทำโดยใช้แรงโน้มของลำตัวผ่านแขนที่เหยียดตรง กดหน้าอกด้วยน้ำหนักที่ทำให้หน้าอกยุบลงประมาณ ๓ - ๕ เซนติเมตร ดังภาพที่ ๓ การกดจะช่วยให้ความดับภายในทรวงอกสูงเลือดไหลผ่านไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญของ ร่างกายได้

ขณะนวดหัวใจ ต้องจัดจังหวะกดโดยนับหนึ่ง และสอง และสาม และสี่ จนถึงสิบห้า เมื่อครบสิบห้าครั้งแล้วผู้ทำการให้ CPR ทำการเป่าปากอีก ๒ ครั้ง นับเป็นหนึ่งรอบ ทำสลับกันไปเช่นนี้ ๔ รอบ แล้วทำการประเมินผล ถ้ามีบุคคลที่มีความรู้ CPR มาช่วย จะทำการกดหน้าอก ๕ ครั้ง ต่อการเป่าอากาศเข้าปอด ๑ ครั้ง และเมื่อต้องการเปลี่ยนหน้าที่ให้ทำการนับเพื่อเปลี่ยนดังนี้ เปลี่ยนและ, สองและ, สามและ , หน้าและ ,เป่า แล้วจึงสลับที่กัน

การส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่สำคัญ ควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้และต้องเฝ้าประเมิน สังเกตภาวะการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยตลอดเวลา ในกรณีที่ต้องทำ CPR ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ควรติดตามผลโดยการหยุดทำ CPR เพื่อจับชีพจรทุก ๒ - ๓ นาที และไม่ว่าโดยเหตุผลใด ๆ ไม่ควรหยุดทำ CPR เกินกว่า ๕ วินาที ยกเว้นถ้าท่านเป็นผู้ทำ CPR เพียงคนเดียวและจำเป็นต้องโทรศัพท์เรียกรถพยาบาลมาช่วย

อันตรายจากการกู้ชีวิต
1. การวางมือไม่ถูกต้อง ทำให้กระดูกซี่โครงหรือปลายกระดูกหน้าอกหักไปทิ่มอวัยวะภายใน กระตุ้นให้เลือดออกมากจนเสียชีวิตได้
2. ไม่ปล่อยมือหลังจากกดหน้าอก ทำให้หัวใจขยายตัวไม่ได้ เลือดกลับสู่หัวใจได้น้อย การกดหน้าอกครั้งต่อไปจะมีเลือดออกจากหัวใจน้อยลง ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
3. การกดหน้าอกแรงและเร็วเกินไป อาจทำให้หัวใจซ้ำ หรือกระดูกได้
4. กดหน้าอกลึกเกินกว่า 3 นิ้ว อาจทำให้เกิดหัวใจช้ำได้
5. เป่าลมเข้าปากมากเกินไป หรือเปิดทางเดินหายใจไม่โล่ง ทำให้ลมเข้ากระเพาะอาหารแทนปอด เกิดท้องอืด เศษอาหารและน้ำล้นออก และเข้าไปในหลอดลมได้

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : https://www.swangkeelee.is.in.th/?md=content&ma=show&id=27