การรับประทานยาให้ถูกวิธี
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 18.6K views



ต้าร์ AF3 : การรับประทานยาให้ถูกวิธี

การรับประทานยาให้ถูกวิธี

หลักง่ายๆ "5 ถ"

1. ถูกโรค - เนื่องจากยามีอยู่หลายชนิด จึงควรใช้ยาให้ตรงกับโรคที่เราเป็น โดยให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้เพราะจะทำให้ไม่เป็นอันตราย

2. ถูกขนาด - ควรใช้ยาตามขนาดที่แพทย์หรือเภสัชกรกำหนดไว้ เพราะถ้าใช้ยาเกินขนาดอาจเกิดอันตรายต่อร่างกายหรือถ้าใช้น้อยไปอาจจะทำให้การรักษาโรคไม่ได้ผลดี

3. ถูกเวลา - แบ่งเป็น ยากินก่อนอาหาร ให้กินก่อนอาหาร 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง เพื่อให้ยาดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดี และ ยากินหลังอาหาร ให้กินหลังอาหารทันที หรือกินหลังอาหารไม่เกิน 15-30 นาที

4. ถูกวิธี - ยาที่นำมาใช้มีหลายชนิด บางชนิดกินได้ แต่บางชนิดใช้ทาหรือฉีด ดังนั้น เราจึงควรใช้ยาให้ถูกวิธี เช่น ไม่แกะผงยาที่อยู่ข้างในแคปซูลมาโรยแผลเป็นต้น

5. ถูกคำแนะนำ - ควรอ่านฉลากยาก่อนใช้ยาทุกครั้ง ฉลากยาเป็นข้อความที่บอกชื่อและสรรพคุณของยา ปีที่ผลิต วันหมดอายุ และคำเตือนในการใช้ยา

สิ่งสำคัญ! คือ ควรใช้ยาให้ถูกกับสภาพของคน เพราะร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่น ยาที่ให้เด็กกินต้องมีปริมาณไม่เท่ากับผู้ใหญ่ ยาบางชนิดไม่ควรให้หญิงมีครรภ์กิน เพราะอาจเกิดอันตรายต่อลูกในท้องได้

นอกจากนี้ยังมีวิธีการรับประทานยาอีกหลายประเภท คือ

ยาที่รับประทานก่อนอาหาร ก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง เพื่อให้ยาถูกดูดซึมได้ดีหรือออกฤทธิ์ระงับอาการบางอย่างที่จะเกิขึ้น ยาประเภทนี้ได้แก่ ยาแก้อาเจียน ยาลดอาการปวดเกร็งในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
ก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง เพื่อให้ยาถูกดูดซึมได้ดีตอนท้องว่าง และออกฤทธิ์ได้สูงสุด ยาประเภทนี้ได้แก่ ยาปฏิชีวนะประเภท เพนิซิลิน , แอมพิซิลิน , ไรเฟมนิซิน เป็นต้น 

ยาที่รับประทานหลังอาหาร หลังอาหาร หมายถึง ยาที่ฉลากระบุให้กินหลังอาหาร โดยทั่วไปให้ทานยาหลังอาหารประมาณ 15 นาที หลังอาหารทันที จะให้ทานหลังอาหารทันทีหรือทานพร้อมอาหารเพราะยาประเภทนี้จะระคายเคืองกระเพาะอาหารทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ได้แก่ ยาแอมไพริน ยาแก้ปวดไขข้อ ยาสเตรียรอยด์ เป็นต้น 

ยาที่รับประทานตอนท้องว่าง หมายถึงให้ทานยาก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง หรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้ดี ได้แก่ ยาเคลือบกระเพาะอาหาร แคลเซียม ( รับประทานเพื่อบำรุงกระดูก ) เป็นต้น

ยาที่ต้องเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน หมายถึง ยาที่แตกตัวยากต้องเคี้ยวก่อนกลืนเพื่อให้ตัวยาออกฤทธิ์ได้เร็วขึ้น ได้แก่ ยาเคลือบกระเพาะอาหารชนิดเม็ด เป็นต้น

ยาที่ห้ามบดห้ามเคี้ยว ได้แก่ยาประเภท

ยาเม็ดเคลือบให้ออกฤทธิ์ที่ลำไส้ ( Enteric coated tablet ) ยาที่ทำรูปแบบนี้จะเป็นตัวยาที่มีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะอาหารโดยจะเคลือบเม็ดยาเพื่อให้ยาแตกตัวในลำไส้ ถ้าหากบดหรือเคี้ยวยาชนิดนี้จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่กระเพาะอาหาร ได้แก่ ยาแอสไพริน , ยาแก้ปวดไขข้อ เป็นต้น

ยาเม็ดชนิดออกฤทธิ์เนินนาน ( sustainld release table , exterded capsule ) ยาจะประกอบด้วย เม็ดยา ( Gramule ) เล็กๆ ที่เคลือบตัวยาเป็นชั้นๆ ไว้ เมื่อกินยาเข้าไป ตัวยาจะค่อยๆ ปล่อยออกมาเป็นระยะ อาจเป็น 12 หรือ 24 ชั่วโมง ตามแต่ผู้ผลิต ถ้าหากบดหรือเคี้ยวเม็ดยาชนิดนี้ ตัวยาทั้งหมดจะออกฤทธิ์พร้อมกันหมดครั้งเดียว อาจทำให้เกิดอันตรายจากการได้รับยาเกินขนาด

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก คุณเอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ หนังสือเรียนวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นป.4 สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ อจท.
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี : https://www.childrenhospital.go.th/main/ph/detail2.htm