พระราชวังพญาไท
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 14.3K views



พระราชวังพญาไท 1/5
พระราชวังพญาไท 2/5
พระราชวังพญาไท 3/5
พระราชวังพญาไท 4/5
พระราชวังพญาไท 5/5

จากโรงนากลายมาเป็นโรงหมอ

โรงนา

ย้อน กลับไปประมาณ 100 ปี  ถนนราชวิถีเป็นเพียงถนนสายสั้นๆ เริ่มต้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยามาสุดที่ด้านหลังพระราชวังสวนดุสิต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อถนนสายนี้ว่า  ถนนซางฮี้  (ปัจจุบันมักเรียกว่า ซังฮี้)  อันเป็นคำมงคลของจีน มีความหมายว่า  “ยินดีอย่างยิ่ง” ต่อมา ได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่า  ถนนราชวิถี  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว   ปลายถนน ซางฮี้ ตอนตัดใหม่ๆ นั้นเป็นสวนผักและไร่นา มีคลองสามเสนไหลผ่าน พื้นที่ยังโล่ง กว้าง อากาศโปร่งสบาย  เป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างมาก ได้โปรดเกล้าฯ ให้ซื้อที่ดินประมาณ 100 ไร่ เศษ  จากชาวนาชาวสวนบริเวณนั้น เพื่อใช้ทดลองปลูกธัญพืช และเป็นที่ประทับพักผ่อนพระราชอิริยาบท  โรงเรือนหลังแรกที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง ณ ที่นี้ คือ โรง และได้พระราชทานนามว่า  โรงนาหลวงคลองพญาไท  พร้อมกับโปรดเกล้าให้ย้ายพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ที่เคยประกอบที่ทุ่งพระเมรุ (ท้องสนามหลวง) มาจัดที่ทุ่งพญาไท
 

พระที่นั่งพิมานจักรี



 

พระ ที่นั่งองค์ประธานของหมู่พระที่นั่ง เป็นอาคารอิฐ ฉาบปูน สูง 2 ชั้น ลักษณะสถาปัตยกรรม ผสมผสานระหว่างโรมาเนสก์กับโกธิค มีลักษณะพิเศษคือ มียอดโดมสูงสำหรับชักธงมหาราช  เจ้าพนักงานจะอัญเชิญธงมหาราช (ธงครุฑ) สู่ยอดเสาขณะที่ประทับอยู่ ที่พระราชวัง มีจิตรกรรมสีปูนแห้ง (fresco secco) บนเพดานและบริเวณด้านบนของผนังเขียนเป็นลายเชิงฝ้าเพดานรูปดอกไม้งดงาม บานประตูเป็นไม้สลักลายปิดทองลักษณะศิลปะวิคตอเรียน เหนือบานประตูจารึกอักษรพระปรมาภิไธย ร.ร. 6 สำหรับห้องชั้นล่าง เช่น ห้องเสวยร่วมกับฝ่ายใน ห้องรับแขก ห้องพักเครื่อง ฯลฯ มีจิตรกรรมสีปูนแห้งที่น่าชมเช่นกัน ส่วนที่ประทับอยู่บริเวณชั้นสอง ซึ่งมีห้องที่น่าสนใจดังนี้

 
ท้องพระโรงกลาง เป็นห้องเสด็จออกให้เฝ้าส่วนพระองค์ หรือเสวยแบบง่ายๆ ภายในตกแต่งแบบยุโรป มีเตาผิงซึ่งตอนบนประดิษฐาน พระบรมสาทิศลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นปรานของห้อง ในกรอบที่ประดับด้วยตราจักรี ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ภายในรูปวงรี และภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎล้อมรอบด้วยพระรัศมี


ห้องพระบรรทมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมห้องสรง ภายในตกแต่งลายเพดานงดงามด้วยจิตรกรรมเขียนด้วยเทคนิคสีปูนแห้ง เป็นภาพคัมภีร์ในศาสนาพุทธเขียนบนใบลาน และภาพพญามังกร หมายถึงสัญลักษณ์ของความเป็นพระราชา และปีพระราชสมภพ

 


ห้องประทับของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ภายในมีจิตรกรรมสีปูนแห้งบนฝ้าเพดาน เป็นลายดอกไม้ ส่วนที่บัวฝ้าเพดานเป็นลายหางนกยูง เนื่องจากนกยูงเป็นสัญลักษณ์ของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี

 

ห้องทรงพระอักษร เป็นห้องใต้โดมบนชั้นสอง ยังปรากฏตู้หนังสือแบบติดผนัง เป็นตู้สีขาวลายทองมีอักษรพระปรมาภิไธย ร.ร. 6 อยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎทุกตู้ อยู่ติดกับบันไดเวียน ซึ่งสามารถขึ้นไปยังห้องใต้หลังคาโดมที่ปัจจุบันใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรม รูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระที่นั่งไวยกูณฐเทพยสถาน


     พระ ที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระที่นั่งพิมานจักรี อาคารมีลักษณะแบบโรมาเนสก์ เดิมเป็นพระที่นั่งสูง 2 ชั้น ก่ออิฐ ฉาบปูน ได้มีการต่อเติมชั้น 3 ขึ้นภายหลัง เพื่อจัดเป็นห้องพระบรรทมสำหรับพระที่ นั่งไวกูณฐเทพยสถานนี้ เคยเป็นที่ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงกรุงเทพฯ ที่พญาไท เมื่อ พ.ศ. 2473 โดยในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2473 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปิดการส่งวิทยุกระจายเสียงเป็นปฐมฤกษ์ พิธีเปิดสถานีได้กระทำโดยอัญเชิญกระแสพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว ซึ่งพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการฝ่ายหน้าในพระราชพิธีนั้น จากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยในพระบรมมหาราชวัง มีไมโครโฟนตั้งรับกระแสพระราชดำรัสถ่ายทอดไปตามสายเข้าเครื่องส่งที่พญาไท แล้วกระจายเสียงสู่พสกนิกรที่มีเครื่องรับวิทยุในสมัยนั้นได้รับฟัง
     อนึ่ง การจัดตั้งสถานีวิทยุดังกล่าวดำเนินไปได้เพียง 2 ปี ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 และได้ย้ายไปยังที่ทำการตำบลศาลาแดงแทน
     ห้องพระบรรทมพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน ตั้งอยู่บนชั้นที่ 3 ภายในห้องมีจิตรกรรมเขียนด้วยเทคนิคสีปูนแห้ง (fresco secco) บนฝ้าเพดาน เป็นรูปเทพน้อย 4 องค์ พร้อมเครื่องดนตรีลอยอยู่ในท้องฟ้าเป็นวงกลม การจัดภาพและฝีมืองดงามมาก  นอกจากนี้ยังมีจิตรกรรมบนฝ้าเพดานและเชิงฝ้าเพดานที่ห้องทรงพระอักษร ห้องพระสมุด ห้องพระภูษา เช่นกัน

พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส

พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส เดิมมีนามว่า พระที่นั่งลักษมีพิลาส ตามพระนามของพระนางเธอลักษมีลาวัณ พระชายา อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระที่นั่งพิมานจักรี  เป็นพระที่นั่งสูง 2 ชั้น ก่ออิฐ ฉาบปูน มีโดมขนาดเล็ก ลักษณะอาคารเป็นแบบอิงลิช โกธิค มีทางเชื่อมต่อกับพระที่นั่งพิมานจักรีในระดับชั้น 2ใช้เป็นที่รับรองของเจ้านายฝ่ายใน ที่ฝาผนังตอนใกล้เพดานและเพดาน มีจิตรกรรมลักษณะแบบ อาร์ต นูโว เป็นลายดอกไม้ และที่ห้องสำคัญเป็นภาพชายหญิง และแกะซึ่งเป็นภาพเขียนสีแบบตะวันตก

พระที่นั่งเทวราชสภารมย์


พระที่นั่งเทวราชสภารมณ์ เป็นท้องพระโรงเดิมในสมัยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งเสด็จมาประทับ ณ วังพญาไท เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๓ โดยยังปรากฏอักษรพระนามาภิไธย สผ (พระนามเดิม สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี) พระที่นั่งองค์นี้ตั้งอยู่ทางด้านของพระที่นั่งไวยกูณฐเทพยสถานลักษณะท้องพระโรงได้รับ อิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมแบบไบเซ็นไทน์ มีโดมอยู่ตรงกลางรับด้วยหลังคาโค้งประทุน ๔ ด้านบนผนังมีจิตรกรรมรูปคนและลายพรรณพฤกษา เคยเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีทางศาสนาในงานพระราชกุศล เช่นงานเฉลิมพระชนมพรรษา วันธรรมดาใช้รับรองแขกส่วนพระองค์ที่มาเข้าเฝ้า บางครั้งเป็นโรงละคร หรือโรงภาพยนตร์แล้วแต่โอกาส

พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์

เป็น พระตำหนักที่อยู่ทางทิศตะวันออกของพระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน ในบริเวณที่เข้าใจว่าเดิมมีอาคารซึ่งเรียกกันว่า ตึกคลัง ส่วนพระที่นั่งองค์นี้น่าจะสร้างขึ้นในระยะหลัง จึงมีลักษณะต่างไปจากพระที่นั่งองค์อื่นๆ  คือเป็นอาคารสูง ๒ ชั้นที่เรียบง่าย หลังคาลาดชันน้อยกว่า ไม่มีการตกแต่งด้วยจิตรกรรมเขียนสีปูนแห้งตามเพดานและผนัง แต่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาว เน้นบริเวณประตูทางเข้าและบันไดขนาดใหญ่ตรงกลางราวบันไดเป็นเหล็กหล่อทำ ลวดลายคล้ายกับลายแบบอาร์ตนูโว นอกจากนั้นยังมีบันไดเวียนทำด้วยเหล็กหล่อทั้งโครงสร้าง ขั้นบันไดและลูกกรงเป็นแบบที่ได้รับอิทธิพลต่อเนื่องมาจากสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งมักจะทำด้วยไม้ แต่ขณะนั้นวัสดุก่อสร้างมีวิวัฒนาการมากขึ้นจึงหันมาใช้เหล็กหล่อ ห้องชั้นบนมีลักษณะการวาง ผังเหมือนกันทั้งซ้ายขวา ชั้นล่างเป็นห้องโถงกว้าง พระที่นั่งองค์นี้เดิมอาจไม่เกี่ยวกับหมู่พระที่นั่ง ๓ องค์แรก แต่ต่อมาได้เป็นที่ประทับของพระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวี และพระสุจริตสุดาพระสนมเอก ในภายหลังจึงได้ต่อสะพานเชื่อมในระดับชั้นที่ ๒ สะพานนี้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กช่วงยาวมากกว่าปกติ นับเป็นเครื่องแสดงให้เห็นความก้าวหน้าทางโครงสร้างอีกระดับหนึ่งด้วย

พระตำหนักเมขลารูจี

พระตำหนักเมขลารูจี อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระที่นั่งพิมานจักรี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักองค์น้อยขึ้นหนึ่งองค์ที่ริมคลองพญาไทตอนกลางพระราชทานนามว่า พระตำหนักอุดมวนาภรณ์ เป็นเรือนไม้สัก 2 ชั้น หลังคามุงกระเบื้องดินเผา ภายในมีภาพเขียนสีลายนก สวยงาม และมีสระสรง ใช้เป็นที่สรงน้ำหลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ (ตัดผม) แล้ว และได้เสด็จมาประทับอยู่ชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2463 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นที่ประทับแห่งแรกในพระราชวังแห่งนี้ โดยได้ใช้เป็นที่ทรงงานวางโครงการสร้างพระราชมณเฑียรสถานสำหรับประทับถาวร อีกด้วย ต่อมา เมื่อการก่อสร้างพระราชมณเฑียรสถานอื่นๆ ในพระราชวังแห่งนี้แล้วเสร็จ และมีพระราชประสงค์ให้พระที่นั่งด้านตะวันออกซึ่งเชื่อมต่อกับพระที่นั่งไว กูณฐเทพยสถานใช้นามว่า พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามพระตำหนักแห่งนี้ใหม่เป็นพระตำหนักเมขลารูจี

อาคารเทียบรถพระที่นั่ง

อาคารเทียบรถพระที่นั่งนี้ ได้สร้างต่อเติมภายหลังจากการสร้างพระราชวังพญาไทเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีลักษณะอาคารแบบนีโอคลาสสิคโดยอยู่ด้านหน้าพระที่นั่งพิมานจักรี สำหรับเป็นลานเทียบรถพระที่นั่งและห้องพักคอยผู้รอเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

สวนโรมัน

เข้าใจว่าเดิมเป็นหนึ่งใน สามของพระราชอุทยานในพระราชวังพญาไทสำหรับพักผ่อนพระราชอิริยาบถ การจัดแต่งภูมิสถาปัตย์เป็นลักษณะแบบเรขาคณิต ประกอบด้วยศาลาในสวนที่ใช้รูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบโรมัน ศาลาทรงกลมตรงกลาง มีหลังคาโดมรับด้วยเสาแบบคอรินเธียน (Corinthian Order) ขนาบด้วยศาลาทรงสี่เหลี่ยมโปร่งไม่มีหลังคากำหนดขอบเขตด้วยเสาแบบเดียวกัน กับโดม รองรับคานที่พาดด้านบน (Entablature) มีการประดับด้วยตุ๊กตาหินอ่อนแบบโรมัน บริเวณบันไดทางขึ้น ซึ่งต่อเนื่องกับด้านหน้าที่มีสระน้ำขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในแนวแกนเดียวกับโดม มีทางเดินกว้างโดยรอบสระน้ำเชื่อมต่อกับศาลา ซึ่งศาลานี้ใช้เป็นเวทีการแสดงกลางแจ้งในบางโอกาส

ท้าวหิรันยพนาสูร

     เชื่อกันว่าท้าวหิรันยพนา สูรเป็นอสูรผู้มีสัมมาทิษฐิและสัมมาปฏิบัติ เป็นชายรูปร่างล่ำสันใหญ่โต คอยติดตามป้องกันภยันตรายทั้งปวงให้กับพระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มิให้มากล้ำกรายพระองค์และข้าราชบริพารตั้งแต่เมื่อครั้งเสต็จประพาสมณฑล พายัพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙
     ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะดำรงพระอิสริยยศ       เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยาม มกุฎราชกุมารได้เสด็จประพาสมณฑลพายัพเมี่อจะออกเดินทางไปในป่า ผู้ที่ตามเสต็จพากันกลัวว่าจะเกิดภยันตรายต่าง ๆ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงพระกรุณาดำรัสชี้แจงเพื่อให้ คลายกังวลว่าเจ้าใหญู่นายโตเมื่อจะเสด็จที่ใดคงจะมีทั้งเทวดาและปีศาจ หรืออสูรอันเป็นสัมมาทิษฐิคอยติดตามป้องกันภยันตราย มิให้มากล้ำกรายพระองค์และบริพารผู้โดยเสด็จฯ  จากนั้นปรากฏว่าผู้ที่ ตามเสด็จ ผู้หนึ่งกล่าวว่าฝันเห็นชายรูปร่างล่ำสันใหญ่โตแจ้งว่าชี่อหิรันย์ เป็นอสูรชาวป่า จะมาตามเสด็จ เพื่อคอยดูแลระวังมิให้ภยัน-ตรายทั้งปวงมากล้ำกรายพระองค์และข้าราชบริพาร ครั้นทรงทราบความจึงมีพระราชดำรัสให้จัดธูปเทียน และอาหารไปเซ่นที่ในป่าริมพลับพลา และเวลาเสวยค่ำทุกวัน ได้โปรดเกล้าฯ ให้เเบ่งพระกระยาหารจากเครื่องเสวยไปตั้งเช่นเสมอ หลังจากที่เสด็จประพาสมณฑลพายัพแล้วข้าราชบริพารก็พร้อมกันเชิญหิรันยอสูร ให้ตามเสด็จ เมื่อเสด็จออกจากกรุงเทพฯด้วยเสมอ และโปรดให้เซ่นหิรันยอสูรอย่างเช่นเมี่อครั้งเสด็จมณฑลพายัพเป็นธรรมเนียม ตลอดมาครั้น เมื่อเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้ช่างหล่อรูปหิรันยอสูรด้วยทองสัมฤทธิ์ และทรงพระราชทานนามใหม่ว่าท้าวหิรันยพนาสูร (สะกดตามลายพระราชหัตถเลขา) มีชฎาเทริดอย่างไทยโบราณ เเละไม้เท้าเป็นเครื่องประดับยศ แรก นั้นรูปหล่อของท้าวหิรันยพนาสูรนี้สูงประมาณ ๒๐ ซ.ม. มีจำนวน ๔ องค์ องค์แรกเดิมประดิษฐานอยู่ข้างพระที่ในห้องพระบรรทม ปัจจุบันอยู่ที่วังรื่นฤดี ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรัตนราชสุดาสิริโสภาพัณณวดียังคงให้มีการถวายเครี่ องเซ่นเป็นประจำทุกวัน องค์ที่ ๒ โปรดให้อัญเชิญไว้หน้าหม้อรถยนต์พระที่นั่ง ปัจจบันอยู่ที่หมวดรถยนต์หลวง โดยอัญเชิญไว้บนหิ้งบูชา องค์ที่ ๓ โปรดให้อัญเชิญไว้ที่กรมมหาดเล็กหลวง ปัจจุบันอยู่ที่พระที่นั่งราชกรัญยสภา ในพระบรมมหาราชวัง และองค์สุดท้ายอยู่ที่บ้านพระยาอนิรุทธเทวา อดีตอธิบดีกรมมหาดเล็กหลวงในสมัยรัชกาลที่ ๖ ใน พ.ศ. ๒๔๖๕ เมื่อการสร้างพระราชวังพญาไทสำหรับประทับเป็นการถาวรเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้ โปรดเกล้าฯให้ช่างหล่อรูปท้าวหิรันยพนาสูรขนาดใหญ่ด้วยทองสัมฤทธิ์มีชฎา เทริดอย่างไทยโบราณ และไม้เท้าเป็นเครื่องประดับยศ มีพระราชพิธีบวงสรวงขอเชิญท้าวหิรันยพนาสูรเข้าสิงสถิตยนรูปสัมฤทธิ์เมื่อ เป็นศาลเทพารักษ์ประจำพระราชวังพญาไทสืบไป

พญามังกร

ส่วนรูปพญามังกร ก็พบว่าเป็นพระราชนิยมใช้เป็นลายประดับอยู่บ่อยครั้ง สันนิษฐานว่าเป็นเพราะเสด็จพระราชสมภพในปีมะโรง รวมทั้งมังกรจัดเป็นสัตว์มงคลในทางความเชื่อของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมังกรห้าเล็บ ใช้เป็นสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ ในพระราชวังพญาไท จะพบลายมังกรประดับเพดานของห้องพระบรรทม และเป็นปฏิมากรรมนูนต่ำที่บ่อน้ำพุ บริเวณมุขทางเข้าที่เชื่อมกับสวนโรมัน ณ พระที่นั่งพิมานจักรี รวมทั้งประดับเป็นส่วนประกอบของรูปปั้นที่สระน้ำอีกด้วย

พระมหานาคชินะวร วรานุสรณ์มงกุฎราช

พระพุทธรูปประจำพระราชวัง พญาไท สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลอุทิศแด่พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่ หัวตามความดำริของพลตรี ปัญญา อยู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเเพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าในสมัยนั้น โดยใช้เงินที่เหลือจากงานอุปสมบทหมู่นักเรียนแพทย์ศาสตร์ทหารครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นส่วนหนึ่งของทุนเริ่มดำเนินการ และได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญขชา ข้าราชการ ผู้เจ็บป่วยและประชาชนทั่วไป มีจิดศรัทธาร่วมบริจาคสมทบ สมเด็จพระญูาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปรินายก องค์พระอุปัชฌาย์และผู้ประทานแบบในการก่อสร้าง ได้เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีเททองหล่อองค์พระ ณ ลานหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชวังพญาไท และได้เสด็จมาเป็นองค์ประธานในพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ พระราชวังพญาไท เมื่อวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓ สมเด็จพระศรีนครินทราบรม ราชชนนี มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระมหานาคชินะวร วรานุสรณ์มงกุฎราช” พระพุทธรูปองค์นี้จำลองแบบ มาจากพระมหานาคชินะ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงสร้างไว้เมื่อครั้งทรงผนวช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก จัดเป็นพระประจำวันเสาร์ ลักษณะเด่นชัด คือ นั่งขัดสมาธิราบ (โยคะสนะ) พระชงฆ์ขวาทับซ้าย เป็นท่านั่งที่สำรวมอิริยาบท หงายพระหัตถ์วางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางทับบนพระหัตถ์ซ้าย มีพญานาคแผ่พังพาน ๗ เศียร ตามพุทธประวัติว่าด้วยเหตุการณ์หลังตรัสรู้ใหม่ๆ พระภูมีพระภาคเจ้าประทับเสวยวิมุติสุข ณ โคนต้นจิก ๗ วัน ได้เกิดเมฆใหญู่ผิดฤดูกาล มีฝนตกพรำ เจือด้วยลมหนาวตลอด ๗ วัน พญานาคชื่อมุจลินท์ มาวงด้วยขนดรอบพระผู้มีพระภาค ๗ รอบ เพื่อป้องกันความหนาวร้อน เหลือบยุง



https://www.phyathaipalace.org