บทประยุกต์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 80.1K views



บทประยุกต์ ตอนที่ 1
บทประยุกต์ ตอนที่ 2
บทประยุกต์ ตอนที่ 3
บทประยุกต์ ตอนที่ 4
บทประยุกต์ ตอนที่ 5
บทประยุกต์ ตอนที่ 6

คำอธิบายเพิ่มเติม
     ในวิชาคณิตศาสตร์ บัญญัติไตรยางศ์ คือวิธีการหาค่าที่สี่ในการแก้โจทย์ เมื่อมีค่าที่ทราบอยู่แล้วสามค่า โดยอาศัยหลักที่ว่า ผลลัพธ์ของค่าแรกและค่าที่สี่ (เรียกว่า ค่าสุดขีด) เท่ากับผลลัพธ์ของค่าที่สองและค่าที่สาม (เรียกว่า ค่ามัชฌิม)
     การแก้โจทย์ เช่น หากรถคันหนึ่งแล่นด้วยความเร็วคงที่ ในเวลา 3 ชั่วโมง ขับได้ระยะ 300 กิโลเมตร ในเวลา 6 ชั่วโมงจะขับได้ระยะทางเท่าใดนั้น
จะต้องตั้งสมการเป็น "3 เท่ากับ 300 เมื่อ 6 เท่ากับ 'X'" หรือ
           a\ \hat =\  b
           c\ \hat =\  x
     สมมุติ a, b และ c เป็นค่าที่กำหนดมา ในกรณีนี้ คือ 3, 300 และ 6 ตามลำดับ ส่วน x คือค่าที่ต้องคำนวณหา ข้อสำคัญคือค่าผลหารจะอยู่ในระบบหน่วยวัดเดียวกัน
     ตอนนี้เราจะต้องคำนวณทแยง นั่นคือคูณ c และ b เข้าด้วยกัน จากนั้นก็หารด้วย a ซึ่งผลลัพธ์ก็คือ x
           x  =  {c \cdot b \over a}
     จากตัวอย่างที่ยกมานี้ รถจะแล่นได้ระยะทาง 600 กิโลเมตร ในเวลา 6 ชั่วโมง ความเร็วของรถนั้นต้องพิจารณาด้วย นั่นคือ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อีกวิธีหนึ่ง อาจใช้เพื่อคำนวณสัดส่วน และใช้ นั่นคือ b \over a และจากนั้นคูณด้วย c เพื่อหาค่า x ซึ่งจะมีค่าทางคณิตศาสตร์เท่ากับ  x  =  {c \cdot b \over a}

ขอบคุณข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย



แก้ไข บทประยุกต์ ตอนที่ 5
ตัวอย่างที่ 9 พ่อค้าขายที่ 1 แปลงได้เงิน 700,000 บาท แบ่งให้ลูก 3 คน คนโตได้ 150,000 บาท คนเล็กได้เงินเป็น 3/5 ของเงินที่เหลือ คนกลางได้เงินเท่าใด
     วิธีทำ  คนโตได้เงิน 150,000 บาท
              คนเล็กได้เงิน 3/5 x (700,000-150,000) = 3/5 x 550,000 = 330,000 บาท
              คนกลางได้เงิน 700,000 - 150,000 - 330,000 = 220,000 บาท