โลหะผสม
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 62.7K views



จริง ๆ แล้วสารละลายสามารถอยู่ในรูปของแข็งได้ เราเรียกสารละลายเหล่านั้นว่า โลหะผสม เช่น ทองเหลือง, สเตนเลส, ทองสำริด, เหล็กกล้า, นิโครม หรือทอง 14 กะรัต ที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวัน เป็นต้น

ภาพ : shutterstock.com

โลหะผสม เป็นสารละลายที่มีสถานะเป็นของแข็ง โลหะผสมที่ควรรู้จัก มีดังนี้

โลหะผสม

ส่วนผสม

สมบัติ

ประโยชน์

ทองเหลือง

ทองแดง+สังกะสี

สะท้อนแสงสวยงาม
ทนทานต่อการสึกกร่อน

ลูกบิดประตู บานพับ​
เครื่องประดับ

ทองสำริด, บรอนซ์

ทองแดง+ดีบุก

ขัดแล้วเป็นเงาสวยงาม
ทนทานต่อการสึกกร่อน

อนุสาวรีย์
ใบพัดเรือ

สแตนเลส

เหล็ก+โครเมียม+นิกเกิล

เป็นเงาสวยงาม
แข็งและหนัก
ทนทานต่อการสึกกร่อน

มีด ช้อนส้อม จาน ชาม
อ่างน้ำในครัว

เหล็กกล้า

เหล็ก+โครเมียม+แมงกานีส+นิกเกิล+อื่น ๆ

แข็งแรงทนทาน

ก่อสร้าง

ตะกั่วบัดกรี

ดีบุก+ตะกั่ว

จุดหลอมเหลวต่ำ
นำไฟฟ้าได้ดี

ตะกั่วบัดกรี

นาก

ทองแดง+ทองคำ+เงิน

-

เครื่องประดับ

นิโครม

นิกเกิล+โครเมียม

จุดหลอมเหลวสูง​
ทนทานต่อการสึกกร่อน

ขดลวดในเครื่องใช้ไฟฟ้า

ทอง 14 กะรัต

ทองคำ+ทองแดง+เงิน

แข็งแรงทนทาน

เครื่องประดับ

 

ทองเป็นโลหะมีค่าที่เป็นสารละลาย เพราะทองร้อยเปอร์เซ็นต์มีความอ่อนจนไม่สามารถนำไปทำเครื่องประดับได้ จะต้องผสมโลหะอื่นลงไป ปริมาณทองคำจึงลดลง ถือว่าทองร้อยเปอร์เซ็นต์มีค่าเท่ากับ 24K

        - ทอง 24 กะรัต หรือทอง 24K คือ ทองคำบริสุทธิ์ มีเนื้อทองคำ 100% ไม่มีสารอื่นเจือปน
        - ทอง 14 กะรัต มีเนื้อทองคำเพียง 14 ส่วน ในส่วนผสมทั้งหมด 24 ส่วน หรือคิดเป็นทองคำ 58.33% มีทองแดงและเงินเจือปนอยู่ เพื่อทำให้ทองมีความแข็งแรงมากขึ้น