บทเรียนออนไลน์ วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง ชีวิตปลอดภัย
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 14.3K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 

 ชีวิตปลอดภัย

 

 

1. อุบัติภัยทางน้ำและทางบก
การเกิดอุบัติภัยมีสาเหตุดังนี้
     สาเหตุจากตัวบุคคล
          - ประมาท
          - ฝ่าฝืนกฎจราจร
          - รู้เท่าไม่ถึงการณ์

 

 

การห้อยโหยรถโดยสารที่ประตูขึ้นลง ทำให้เกิดอุบัติภัยได้

 

 

     สาเหตุจากยานพาหนะ อาจเกิดจากการชำรุด

 

 

การไม่ตรวจสอบความพร้อมของยานพาหนะก่อนนำมาใช้อาจเกิดอุบัติภัยได้

 

 

     สาเหตุจากสภาพแวดล้อม เช่น ฝนตก

 

 

ฝนตกหนัก ถนนลื่นทำให้เกิดอุบัติภัยในการขับขี่ยานพาหนะได้

 

 

การป้องกันอุบัติภัยทางน้ำและทางบก
     การเดินทางโดยเรือ
          - ไม่กระโดดลงเรือ
          - ไม่ยื่นอวัยวะออกนอกเรือ

 

 

ควรเข้าแถวให้เป็นระเบียบเมื่อขึ้นลงเรือ

 

 

     การเดินทางด้วยเท้า
          - เดินบนทางเท้า
          - ใช้สะพานลอยหรือทางม้าลาย
          - มองทางให้ดีก่อนข้าม

 

ควรเดินบนทางเท้าเพื่อความปลอดภัย

 

 

การข้ามถนนที่ปลอดภัยต้องขึ้นสะพานลอยหรือข้ามโดยใช้ทางม้าลาย

 

 

 

     การเดินทางโดยรถต่าง ๆ
          - รอรถจอดสนิทแล้วค่อยขึ้นลง
          - ไม่ยื่นอวัยวะออกข้างนอก
          - ไม่วิ่งตัดหน้ารถ

 

 

ไม่แย่งกันขึ้นรถ

 

 

การขึ้นและลงรถไฟหรือรถไฟฟ้าต้องให้รถไฟจอดสนิทก่อน

 

 

2. ยาสามัญประจำบ้าน

 

 

ยาสามัญประจำบ้าน

 

 

เป็นยาที่ใช้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในครอบครัว แบ่งออกเป็น
     - ยาสามัญประจำบ้านสำหรับกิน
          ยาบรรเทาอาการไข้ตัวร้อนและแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล
          ยาบรรเทาอาการไอ เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ
          ยาบรรเทาอาการปวดท้อง เช่น ยาธาตุน้ำแดง ยาลดกรดอะลูมินา-แมกนีเซีย
          ยาที่เป็นยาระบาย เช่น ยาระบายมะขามแขก
          ยาบรรเทาอาการแพ้ เช่น ยาแก้แพ้คลอร์เฟนิรามีน
          ยาบรรเทาอาการอุจจาระร่วง เช่น ผงน้ำตาลเกลือแร่
     - ยาสามัญประจำบ้านสำหรับใช้ภายนอก เช่น ยาแก้ผดผื่น ยาหยอดตา ยาแดง ขี้ผึ้งแก้ปวดบวม


3. สารเสพติด
คือสิ่งที่เสพเข้าสู่ร่างกายและทำให้ติด
     โทษของสารเสพติด
          - ร่างกายทรุดโทรม ความจำเสื่อม อารมณ์ไม่ปกติ
          - ส่งผลกระทบต่อส่วนรวม

 

 

สารเสพติดก่อให้เกิดปัญหาการชิงทรัพย์ 

 

 

คนที่ติดสารเสพติดจะมีร่างกายที่ทรุดโทรม

 

 

     การป้องกันสารเสพติด
          - ไม่ทดลองและปฏิเสธการชักชวน
          - ศึกษาโทษและอันตราย
          - เลือกคบเพื่อนที่ดี
          - ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

 

 

ปฏิเสธการใช้สารเสพติดทุกชนิด

 

 

ควรใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

 

 

การอ่านหนังสือช่วยสร้างความรู้และป้องกันสารเสพติด

 

 

4. สารอันตราย
คือสารที่เข้าสู่ร่างกายและทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ
     โทษของสารอันตราย
          - ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ

 

 

การใช้สารอันตรายโดยไม่ระมัดระวังอาจเกิดอันตราย

 

 

     การป้องกันสารอันตราย
          - อ่านคำเตือนบนฉลาก
          - ลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสาร
          - หลีกเลี่ยงควันพิษ ควันบุหรี่

 

 

เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารอันตรายควรอ่านวิธีใช้และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

 

 

สารอันตรายในควันบุหรี่

 

 

5. เครื่องหมายเตือนอันตราย
คือรูปหรือสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นอันตราย เช่น ป้ายไฟฟ้าแรงสูง ป้ายห้ามสูบบุหรี่

 

 

ห้ามผ่านเข้าเด็ดขาด

 

 

ไฟฟ้าแรงสูง

 

 

ห้ามสูบบุหรี่

 

 

6. การป้องกันอัคคีภัย
อัคคีภัยคือภัยที่เกิดจากไฟ
     สาเหตุมีดังนี้
          - เล่นไม้ขีด ประทัด ดอกไม้ไฟ
          - เสียบปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าทิ้งไว้

 

 

ไม่ควรจุดไม้ขีดไฟเล่นเพราะทำให้ไฟไหม้บ้านได้

 

 

การเสียบปลั๊กเตารีดทิ้งไว้ทำให้ไฟไหม้จนเกิดไฟไหม้บ้านได้

 

 

     การป้องกันเหตุอัคคีภัย
          - ไม่เล่นซุกซน
          - สังเกตการชำรุดของอุปกรณ์ไฟฟ้า
          - ฝึกการหนีไฟ

 

 

การเล่นประทัดอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้

 

 

ถ้ามีควันมากให้หมอบคลานกับพื้นห้อง

 

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th