ภาษาไทย ม. 2 เรื่อง ภูมิปัญญาทางภาษา
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 36.7K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 


ลักษณะของภูมิปัญญาทางภาษา
   ภูมิปัญญาทางภาษา คือ ความสามารถของบรรพบุรุษ ในการสร้างสรรค์ผลงานด้านภาษา
 

วรรณกรรมท้องถิ่น
   ความหมายของวรรณกรรมท้องถิ่น
   วรรณกรรมท้องถิ่น หมายถึง งานเขียนที่สะท้อนวัฒนธรรม ประเพณี และความเป็นอยู่ของท้องถิ่น
 

   ลักษณะของวรรณกรรมท้องถิ่น
   วรรณกรรมท้องถิ่น เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับขนบธรรมเนียม ประเพณีของท้องถิ่น ถูกเล่าสืบต่อกันมาเพื่อสนองความต้องการของคนในท้องถิ่น โดยใช้ภาษาและฉันทลักษณ์เฉพาะถิ่น ไม่ปรากฏผู้แต่งที่ชัดเจน
 

   ประเภทของวรรณกรรมท้องถิ่น
   วรรณกรรมท้องถิ่นแบ่งเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ วรรณกรรมมุขปาฐะ ถ่ายทอดโดยการเล่าต่อกันมา เช่น นิทานพื้นบ้าน เพลงพื้นบ้าน สำนวน ปริศนาคำทาย คำกล่าวในพิธีกรรม และวรรณกรรมลายลักษณถ่ายทอดผ่านตัวอักษร เช่น ลิลิตพระลอ จำปาสี่ต้น (ภาคเหนือ) ไกรทอง ปลาบู่ทอง (ภาคกลาง)
 

เพลงพื้นบ้าน
   เพลงพื้นบ้านเกิดจากการเรียบเรียงคำง่ายๆ ให้ไพเราะทั้งด้านความหมาย ลีลา และทำนองที่ไม่ตายตัวขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ร้อง คุณค่าของเพลงพื้นบ้าน คือ ให้ความบันเทิง สร้างความสามัคคี และสะท้อนสภาพสังคมในอดีต
 


สรุป
   ภูมิปัญญาทางภาษา แสดงถึงความสามารถในการสร้างสรรค์วรรณกรรมของบรรพบุรุษ ซึ่งสะท้อนถึงวัฒนธรรม ประเพณี และความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่นนั้นๆ โดยมุ่งถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และแนวทางในการดำรงชีวิตสู่ลูกหลานสืบไป

คำสำคัญ : ภูมิปัญญาทางภาษา วรรณกรรมท้องถิ่น เพลงพื้นบ้าน
 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th