ภาษาไทย ม. 2 เรื่อง การพัฒนาทักษะการเขียน
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 206.7K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
 


ความหมายและความสำคัญของการเขียน
   การเขียน
   การใช้ตัวอักษรเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด เพื่อบอกเล่า อธิบาย จูงใจ แสดงความคิดเห็น ล้อเลียน เสนอข่าวสารหรือติดต่อกิจธุระต่างๆ
 

   หลักการเขียน
   ควรเขียนให้ถูกต้อง กระชับ ชัดเจน ด้วยถ้อยคำไพเราะ ชวนให้ติดตาม แสดงความคิดเห็นอย่างสมเหตุสมผล มุ่งให้เกิดความรู้
 

   กระบวนการคิดกับกระบวนการเขียน
   งานเขียนทุกประเภทต้องใช้ความคิดโดยคิดให้ตรงจุด จัดลำดับเรื่องราวให้เป็นระเบียบ และมีความคิดหลักเพียงความคิดเดียว
 

การใช้ภาษาในการเขียน
   การใช้คำในการเขียน
   ต้องเลือกใช้คำให้เหมาะสมตามกาลเทศะ เข้าใจง่าย ตรงความหมาย ถูกต้องตามจุดประสงค์การเขียนและหลีกเลี่ยงการใช้คำแสลง
 

   การใช้สำนวนในการเขียน
   สำนวน คือ ถ้อยคำเปรียบเทียบ สื่อความหมายชัดเจนกว่าการกล่าวโดยตรง เช่น งงเป็นไก่ตาแตก น้ำกลิ้งบนในบอน สีซอให้ควายฟัง ขิงก็ราข่าก็แรง
 

   การใช้โวหารในการเขียน
   โวหาร คือ ถ้อยคำที่สละสลวย ถ่ายทอดความรู้สึกและจินตนาการ แบ่งเป็น
        ๑. พรรณนาโวหาร คือ การเล่าโดยละเอียดเพื่อให้เห็นภาพ
        ๒. บรรยายโวหาร คือ การอธิบายอย่างถี่ถ้วนเพื่อให้เข้าใจ
        ๓. อุปมาโวหาร คือ การเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นชัดเจน
        ๔. เทศนาโวหาร คือ การชี้แจง สั่งสอน เพื่อให้เห็นคุณและโทษ
        ๕. สาธกโวหาร คือ การยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจเนื้อหา
 

การเขียนในโอกาสต่างๆ
   การเขียนจดหมายกิจธุระ
   จดหมายกิจธุระ เป็นจดหมายติดต่อธุรกิจ มีรูปแบบการเขียนค่อนข้างเป็นทางการ สามารถใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายและเชื่อมสัมพันธ์ทางธุรกิจ อีกทั้งสะดวก ประหยัดเวลา/ค่าใช้จ่าย และมีข้อมูลสินค้า โดยหัวใจสำคัญของการเขียนจดหมายกิจธุระ คือ การให้ข้อมูลชัดเจน ตรงกับวัตถุประสงค์ ให้เกียรติผู้รับ

   ประเภทของจดหมายกิจธุระ ได้แก่ ประเภทให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจธุระ เช่น จดหมายเชิญ จดหมายขอบคุณ และประเภทโน้มน้าวใจ เช่น จดหมายเสนอขาย

   โครงสร้างของจดหมายกิจธุระ ได้แก่ ส่วนต้น (เหตุผลในการเขียนจดหมาย) ส่วนกลาง (รายละเอียด/เอกสารแนบ) ส่วนท้าย (สรุปวัตถุประสงค์)

   ข้อควรปฏิบัติในการพิมพ์จดหมายกิจธุระ ควรใช้กระดาษสีขาวขนาดมาตรฐานเพียงหน้าเดียว เว้นขอบกระดาษ ๑.๕ นิ้ว รักษาความสะอาด ตรวจรูปแบบ การสะกดคำ และทำสำเนาทุกฉบับ
 

        รูปแบบของจดหมายกิจธุระ

 


   การเขียนย่อความ
   ย่อความ
คือ การเลือกเฉพาะเนื้อความที่สำคัญ ต้องมีชื่อเรื่อง คำนำ ตามประเภทของข้อความ เช่น
 

     ข่าวเรื่อง............................................จาก ..............................................ความว่า

     จดหมาย.........................ของ.........................ถึง...................ลงวันที่.....................ความว่า

     ประกาศของ..........................เรื่อง.....................แก่......................เมื่อ....................ความว่า
 

   นอกจากนี้หลักการย่อความยังต้องเปลี่ยนสรรพนามบุรุษที่ ๑ และ ๒ ให้เป็น ๓ และควรเรียบเรียงสาระสำคัญในแต่ละย่อหน้า ตามสำนวนของผู้ย่อเอง
 

        ตัวอย่างการย่อบทความทั่วไป 


        ย่อความอย่างสั้นที่สุด


        ย่อความอย่างธรรมดา


การเขียนรายงานและโครงงาน
   การเขียนรายงานการประชุม
   รายงานการประชุม
คือบันทึกความคิดเห็นหรือผลการประชุมที่สมาชิกต้องศึกษาและปฏิบัติตาม โดยจะระบุชื่อการประชุม เวลา วันที่ สถานที่ ผู้เข้าร่วม/ไม่เข้าร่วมประชุม เนื้อความ และชื่อผู้จดรายงาน

   หลักการจดรายงานการประชุม ควรใช้ภาษาระดับทางการ อาจจดทุกคำพูด จดเฉพาะประเด็นสำคัญ หรือจดเฉพาะเหตุผลก็ได้ แต่ต้องจดมติที่ประชุมร่วมด้วยเสมอ

   รายงานการประชุมตามระเบียบวาระ เป็นการประชุมตามกำหนดปกติ เช่น รายเดือน รายไตรมาส



   การเขียนรายงานโครงงาน
   โครงงาน
คือ งานวิจัยที่ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างความรู้ใหม่ เริ่มจากการตั้งคำถาม และคาดการณ์ คำตอบล่วงหน้า แล้วจึงทดลอง และสรุปผลการทดลองที่สอดคล้องกับสมมติฐาน

   การเขียนรายงานโครงงานประกอบด้วย ชื่อโครงงาน ชื่อผู้จัดทำและครูที่ปรึกษา ชื่อโรงเรียน วันที่ บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ ที่มาและความสำคัญ วัตถุประสงค์ สมมติฐาน เอกสาร วิธีดำเนินการ ผลการศึกษา สรุปผล ประโยชน์ที่ได้รับ ข้อเสนอแนะ และเอกสารอ้างอิง
 

การเขียนบรรยายและพรรณนา
   การเขียนบรรยาย
   การอธิบายเหตุการณ์ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ควรบรรยายตามลำดับเหตุการณ์ด้วยถ้อยคำที่กะทัดรัด อาจแทรกบทพรรณนา ข้อคิดเห็น ความรู้เพิ่มเติมด้วย
 

        ตัวอย่างการเขียนบรรยายสถานที่


   การเขียนพรรณนา
   
การเขียนที่มุ่งให้เกิดจินตนาการด้วยถ้อยคำสื่ออารมณ์ทำให้เกิดภาพพจน์
 

        ตัวอย่างการเขียนพรรณนา


การเขียนเรียงความ
   ย่อหน้า
   
ย่อหน้าประกอบด้วยหลายประโยคแต่มีใจความสำคัญเพียงอย่างเดียว ลักษณะของย่อหน้าที่ดี ควรใช้ภาษาในการเขียนที่เหมาะสม มีเอกภาพและสัมพันธภาพ

   ข้อความหลายย่อหน้า
   
ใจความสำคัญของแต่ละย่อหน้าต้องสอดคล้องกับใจความหลัก (เอกภาพ) และสัมพันธ์กันตามลำดับเวลา หรือความสำคัญ (สัมพันธภาพ)

   การวางโครงเรื่องของเรียงความ
   
การวางโครงเรื่องโดยพิจารณาถึงใจความที่จะนำมาขยาย อาจใช้วลี หรือประโยคก็ได้ แต่ต้องใช้รูปแบบเดียวกันทั้งเรื่อง
 

การเขียนแสดงความคิดเห็นและการเขียนโต้แย้ง
   การเขียนแสดงความคิดเห็น
   การแสดงความคิดเห็นต้องมีหลักฐาน ข้อเท็จจริง หรือความรู้ประกอบ
 

        ตัวอย่างการเขียนแสดงความคิดเห็น


   การเขียนโต้แย้ง
 
 การเขียนแสดงความไม่เห็นด้วยโดยปราศจากอคติ
 

        ตัวอย่างการเขียนโต้แย้ง


การเขียนวิจารณ์
   
ผู้วิจารณ์ควรแสดงความคิดเห็นอย่างเหมาะสม มีความรู้ในเรื่องที่วิจารณ์ และให้เกียรติผู้ถูกวิจารณ์โดยใช้ภาษาที่สุภาพ วิจารณ์ด้วยความเป็นกลาง เขียนข้อเท็จจริงชี้ให้เห็นประโยชน์/โทษ และข้อมูลเปรียบเทียบเพื่อประเมินและเสนอแนะให้ผู้ถูกวิจารณ์นำไปปรับปรุงต่อไป
 

การแต่งบทร้อยกรอง
 
 – หน้า ๕ คำ วรรคหลัง ๒ คำ (เฉพาะวรรคหลังบาทที่ ๔ มี ๔ คำ) อาจมีคำสร้อยท้ายบาทที่ ๑ และ ๓

   – บังคับคำเอก ๗ คำ คำโท ๔ คำ ใช้คำตายแทนคำเอกได้

   แผนบังคับโคลงสี่สุภาพ
     โคลงสี่สุภาพ บทหนึ่งมี ๔ บาท บาทละ ๒ วรรค

 

 

การคัดลายมือ
   
การคัดลายมือมี ๒ ลักษณะ คือ คัดตัวบรรจง และคัดตัวหวัดแกมบรรจง ซึ่งในการเขียนตัวอักษรต้องเริ่มจากหัวหรือ ส่วนหลักก่อนแล้วลากไปจนจบปลาย ควรเขียนให้ชัดเจนและลงตำแหน่งให้ถูกต้อง

 

มารยาทในการเขียน
   
ควรเขียนในเรื่องที่ผู้เขียนมีความรู้และเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยปราศจากอคติส่วนตัว บอกแหล่งอ้างอิงของข้อมูลเสมอ และไม่คัดลอกข้อความหากไม่ได้รับอนุญาต
 

สรุป
   การสร้างงานเขียนให้มีคุณค่า ต้องเข้าใจกระบวนการคิด กระบวนการเขียน ตลอดจนการใช้ภาษา การจัดลำดับความคิด การเรียบเรียง การเขียนในโอกาสต่างๆ การพัฒนางานเขียน และมารยาทในการเขียน

คำสำคัญ :  หลักการเขียน โวหารในการเขียน จดหมายกิจธุระ ย่อความ รายงานและโครงงาน บรรยายและพรรณนา แสดงความคิดเห็นและโต้แย้ง วิจารณ์ โคลงสี่สุภาพ

 
 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th