ภาษาไทย ป. 6 เรื่อง คำราชาศัพท์และระดับของภาษา
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 122.1K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 

คำราชาศัพท์และระดับของภาษา

 

 

คำราชาศัพท์

 

คำราชาศัพท์

 

คำราชาศัพท์

 

 

คำราชาศัพท์ คือ ถ้อยคำที่ใช้พูดกับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พระภิกษุสงฆ์ รวมถึงคำสุภาพที่ใช้กับสุภาพชนทั่วไป ซึ่งเราควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับระดับชั้นของบุคคล ดังนี้

 

 

คำราชาศัพท์

 

 

คำราชาศัพท์

 

 

๑. คำราชาศัพท์ที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์
     ๑.๑ คำนามราชาศัพท์ ใช้เรียกเครือญาติ อวัยวะและสิ่งที่เกี่ยวกับร่างกาย เครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย และของใช้
     ๑.๒ คำสรรพนามราชาศัพท์ ใช้สำหรับบุคคลต่างระดับชั้นกัน
     ๑.๓ คำกริยาราชาศัพท์ มีวิธีใช้ดังนี้
          ๑. เติม ทรง หน้าคำนามทั่วไปและคำกริยาสามัญ ทำให้เป็นคำกริยาราชาศัพท์
          ๒. เติม ทรง หน้าคำนามราชาศัพท์ ทำให้เป็นคำกริยาราชาศัพท์

 

 

คำนามสามารถเป็นคำกริยาราชาศัพท์

 

 

เกร็ดควรรู้

คำกริยาที่เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น เสด็จ เสวย จะไม่ใช้ ทรง นำหน้า แต่ถ้าเป็นคำกริยาสามัญ  เช่น จับ วาด สามารถเติม ทรง นำหน้าเพื่อให้เป็นกริยาราชาศัพท์ได้

 

๒. คำที่ใช้สำหรับพระสงฆ์
แบ่งเป็น - คำสรรพนามบุรุษที่ ๑, ๒ และ ๓ ตามระดับชั้นของพระสงฆ์
           - คำทั่วไปที่เป็นคำเฉพาะสำหรับพระสงฆ์ เช่น จำวัด นิมนต์ อาพาธ

 

 

คำที่ใช้สำหรับพระสงฆ์

 

คำที่ใช้สำหรับพระสงฆ์

 

 

๓. คำที่ใช้กับบุคคลทั่วไป
คำที่ใช้กับบุคคลทั่วไป คือ คำสุภาพ มีลักษณะดังนี้
๑. ไม่เป็นคำหยาบ
๒. ไม่ใช้คำอุทานที่แข็งกระด้างหรือเป็นคำห้วน ๆ
๓. ไม่เป็นคำผวนที่มีความหมายในทางที่ไม่ดี
๔. ไม่เป็นคำสแลง
๕. ควรเป็นคำที่แสดงถึงความเคารพหรือให้เกียรติผู้อื่น 

 

คำที่ใช้กับบุคคลทั่วไป

 

 

ระดับของภาษา

 

 

ระดับของภาษา

 

 

ระดับของภาษา

 

 

แบ่งระดับของภาษาออกเป็น ๓ ระดับ ได้แก่
๑. ภาษาทางการ คือ ภาษาที่มีระเบียบแบบแผน มีศัพท์เทคนิคหรือศัพท์วิชาการปะปน มักใช้เขียนตำรา ติดต่อราชการ
๒. ภาษากึ่งทางการ คือ ภาษาที่ไม่เป็นทางการมากนัก มีศัพท์วิชาการเท่าที่จำเป็น มักใช้ในการอภิปราย การเขียนข่าว เรื่องสั้น
๓. ภาษาไม่เป็นทางการหรือภาษาปาก คือ ภาษาที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน มักใช้สนทนาระหว่างคนคุ้นเคย

 

ภาษาพูดและภาษาเขียน 

ภาษาพูดและภาษาเขียน

 

 

ภาษาพูด มักไม่มีระเบียบแบบแผน ไม่เคร่งครัดในการใช้ถ้อยคำ แต่จะมุ่งให้เกิดความเข้าใจอย่างรวดเร็วและเป็นกันเอง
ภาษาเขียน เป็นภาษาที่เขียนด้วยระบบสัญลักษณ์ ต้องใช้ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทางภาษา 

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th