สารคดีเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 9 ชุด ตามรอย...สายน้ำพระราชหฤทัย
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 159.9K views



พระมหากรุณาธิคุณด้านการศึกษา ตอนที่ 1
พระมหากรุณาธิคุณด้านการศึกษา ตอนที่ 2
พระมหากรุณาธิคุณด้านการศึกษา ตอนที่ 3
พระมหากรุณาธิคุณด้านการศึกษา ตอนที่ 4
พระเมตตาด้านการแพทย์และสาธารณสุข ตอนที่ 1
พระเมตตาด้านการแพทย์และสาธารณสุข ตอนที่ 2
พระเมตตาด้านการแพทย์และสาธารณสุข ตอนที่ 3
พระเมตตาด้านการแพทย์และสาธารณสุข ตอนที่ 4
อัครศาสนูปถัมภก ตอนที่ 1
อัครศาสนูปถัมภก ตอนที่ 2
อัครศาสนูปถัมภก ตอนที่ 3
พระก่อเกื้อรักษามรดกไทย ตอนที่ 1
พระก่อเกื้อรักษามรดกไทย ตอนที่ 2
พระก่อเกื้อรักษามรดกไทย ตอนที่ 3
พระก่อเกื้อรักษามรดกไทย ตอนที่ 4
พระมหากษัตริย์นักกีฬา
พระอัจฉริยภาพด้านภาษา
กษัตริย์-เกษตร ตอนที่ 1
กษัตริย์-เกษตร ตอนที่ 2
กษัตริย์-เกษตร ตอนที่ 3
กษัตริย์-เกษตร ตอนที่ 4
กษัตริย์-เกษตร ตอนที่ 5
ฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตอนที่ 1 ปลูกป่าในใจคน
ฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตอนที่ 2 ฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม
ฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตอนที่ 3 ปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง
ฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตอนที่ 4 มุนษย์ สัตร์ และป่า
ฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตอนที่ 5 ป่าชายเลน
ฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ตอนที่ 6 หญ้าแฝก
พืชพรรณของแผ่นดิน
พระราชกรณียกิจสร้างความมั่นคงทางอาหาร
ปราชญ์ในศาสตร์แห่งธรรมชาติ
พัฒนาสายนที ตอนที่ 1สายธารภาคเหนือ
พัฒนาสายนที ตอนที่ 2 สู้ภัยน้ำภาคอีสาน
พัฒนาสายนที ตอนที่ 3 4 น้ำ 3 รสของภาคใต้
พัฒนาสายนที ตอนที่ 4 บรรเทาอุทกภัย
พัฒนาสายนที ตอนที่ 5 บำบัดน้ำเสีย
พัฒนาทรัพยากรดิน ตอนที่ 1
พัฒนาทรัพยากรดิน ตอนที่ 2
หลักใจของปวงชน ตอนที่ 1
หลักใจของปวงชน ตอนที่ 2
หลักใจของปวงชน ตอนที่ 3
น้ำพระราชหฤทัยแผ่ไพศาล ตอนที่ 1
น้ำพระราชหฤทัยแผ่ไพศาล ตอนที่ 2
น้ำพระราชหฤทัยแผ่ไพศาล ตอนที่ 3
พระราชกรณียกิจด้านคมนาคม ถนนในชนบท
พระราชกรณียกิจด้านคมนาคม ถนนในกรุงเทพ
พระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน ตอนที่ 1
พระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน ตอนที่ 2
แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
พระราชกรณียกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตอนที่ 1 อุตุนิยมวิทยา
พระราชกรณียกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตอนที่ 2 การสื่อสาร
พระราชกรณียกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตอนที่ 3 คอมพิวเตอร์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

 

พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ เล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ และหม่อมสังวาล ตะละภัฎ (ภายหลังทรงได้รับ การเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และ สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน อ้าย ปี เถาะ จุลศักราช ๑๒๘๙ ตรงกับวันจันทร์ ที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐ ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซสส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และทรงมีพระเชษฐภคินีอีก ๑ พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้า พี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ทรงเข้าศึกษาใน ชั้นประถมศึกษาที่ โรงเรียนเมียร์มองค์ จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียน เอกอลนูเวลเดอลาซืออิสโรมองต์ เมืองโลซานน์ ทรงได้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์จากยิมนาสกลาซีคกังโตนาล แล้วจึงทรงเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ โดยทรงเลือก ศึกษาในแขนงวิชาวิศวกรรมศาสตร์

หลังจากที่พระวรวงค์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระเชษฐาเสด็จขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๘ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช ก็ทรงได้ รับสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าชายภูมิพลอดุลยเดช เมื่อเดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๔ โดยประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ครั้นเมื่อถึงวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ ได้เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระนาม ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

อย่างไรก็ตามขณะเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงมีพระชนมายุ ๑๙ พรรษา รัฐสภาจึงทำการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการขึ้นประกอบไปด้วย พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนชัยนาถนเรนทร และพระยามานวราชเสวี เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ และเพราะยังทรงมีพระราชภารกิจด้านการศึกษา จึงต้องทรงเสด็จพระราชดำเนินกลับไปประเทศสวิสเซอร์แลนด์ อีกครั้งหนึ่ง ในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ เพื่อทรงศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม แต่ในครั้งนี้ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมาย และวิชารัฐศาสตร์แทนวิชาวิศวกรรรมศาสตร์ที่ทรงศึกษาอยู่เดิม

ถัดมาในวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ก็ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีราชาภิเษกขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณในพระบรมมหาราชวังเฉลิมพระบรมนามาภิไธยตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรนฤบดินทร สยามมินทราธิราชบรมนาถบพิตร พร้อมทั้งพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุข แห่งมหาชนชาวสยาม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นสืบราชสันตติวงศ์ต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๙ แห่งบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ จากวันนั้นจนถึงวันนี้ เป็นเวลา ๖๐ ปีที่พระองค์ทรงดำรงฐานะเป็นพระประมุขของชาติ เป็นระยะเวลาการครองราชย์ที่ยาวนานกว่ามหาราชาองค์ใดในโลกและบูรพกษัตริย์ องค์ใดในแดนสยาม และเป็นเวลา ๖๐ ปีนี้เอง ที่พระองค์ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระสติปัญญาความสามารถ และพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอยู่เป็นนิจนานัปการ ด้วยหวังให้มหาชนชาวสยามถึงพร้อมด้วยประโยชน์สุข ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ตั้งแต่สมัยเมื่อเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ

ดังพระปฐมบรมราชโองการที่ได้พระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยเมื่อครั้งพระราชพิธี บรมราชาภิเษก วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดพระองค์หนึ่งของโลก พระราชกรณียกิจของพระองค์มีมากมาย ทั้งในด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านการศึกษา ด้านศาสนา ด้านความมั่นคงภายในประเทศ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านศิลปะวัฒนธรรม และด้านการกีฬา แต่พระราชกรณียกิจหลักของพระองค์คือ การยกระดับสภาพความเป็นอยู่ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินไปยังท้องที่ต่างๆ พร้อมทอดพระเนตรสภาพปัญหาในท้องที่เหล่านั้นด้วยพระองค์เอง พระองค์จะใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละปี เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักตามภูมิภาคต่างๆ และจะทรงหาโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียงอยู่เสมอ จนอาจกล่าวได้ว่า ไม่มีพื้นที่แห่งใดในประเทศไทย ที่พระองค์ไม่เคยเสด็จพระราชดำเนินไปถึง

ตลอด ๖๐ ปีที่ผ่านมา เป็นช่วงเวลา ๖๐ ปีที่พระองค์ทรงงานอย่างไม่เคยว่างเว้น และทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่ถึงพร้อมทั้งความบริสุทธิ์บริบูรณ์ ตลอด ๖๐ ปีที่ผ่านมา จึงเป็นช่วงเวลา ๖๐ ปีที่พสกนิกรชาวไทยอยู่ได้อย่างร่มเย็นเป็นสุขภายใต้ร่มพระบารมี พระราชกรณียกิจทั้งหลายที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดไม่ได้ที่พระองค์ทรงมีต่อประเทศชาติ และประชาชนชาวไทย

พระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย”

สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ให้ความเห็นชอบให้วันที่ 19 ตุลาคมของทุกปีเป็น “วันเทคโนโลยีของไทย” เพื่อเทอดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” โดยเริ่มดำเนินการในปี 2544 เป็นปีแรก และได้มอบ หมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักในการจัดกิจกรรมเทอดพระเกียรติ เพื่อให้พสกนิกรชาวไทยทั้งหลายได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระองค์ท่านได้ทรงใช้เทคโนโลยี ทรงคิดค้นเทคโนโลยี และทรงมีพระราชดำริต่างๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยพัฒนา ประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตราษฎร จนถึงเพื่อช่วยบรรเทาสาธารณภัยต่างๆ

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓ คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบถวายการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ ๑๙ ตุลาคมของทุกปีเป็น “วันเทคโนโลยีของไทย” ซึ่ง เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงอำนวยการสาธิตฝนเทียมสูตรใหม่ครั้งแรกของโลก

ในการพัฒนาเพื่อให้ ราษฎรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำความรู้ทางสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในทุกสาขาวิชามาใช้ในการพัฒนา ทุกแขนง ทรงมุ่งให้เกิดการพัฒนาคนให้อยู่ได้ด้วยการพึงตนเองเป็นสำคัญ ทุก ๆ โครงการที่มีพระราชดำริและประทานให้แก่ประชาชน ล้วนมีวิธีดำเนินการได้ง่าย ไม่ยุ่งยากซ้ำซ้อน มีความสอดคล้องกับระบบนิเวศโดยรวมของธรรมชาติ และสภาพสังคมของชุมชนนั้น ๆ ไม่ทรงปิดกั้นเทคโนโลยีใหม่จากต่างประเทศ แต่ทรงเน้นว่าจะต้องเลือกใช้เทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์มาปรับปรุงใช้ได้ดีพอ เหมาะกับสภาพและฐานะของประเทศ โดยเน้นที่ประสิทธิภาพ ประหยัดและการทุ่มแรงงาน พระองค์ทรงเป็นดุจประทีปชี้นำทางสว่างสู่ปวงประชา วิทยาการด้านเทคโนโลยีที่ทรงนำมาใช้ในการพัฒนานั้นมีหลายด้าน อาทิ

ด้านการเกษตร ทรงเน้นเรื่องการค้นเค้าทดลอง วิจัยพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ชนิดต่าง ๆ ตลอดจนการศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช การศึกษาสภาพของดิน และพัฒนาให้สามารถทำการเกษตรได้ ทั้งนี้เพื่อเผยแพร่แนะนำให้เกษตรกร นำไปปฏิบัติได้ด้วยราคาถูกและใช้เทคโนโลยีที่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริ เสริมสร้าง สิ่งที่ชาวบ้านชนบทขาดแคลนและต้องการ คือความรู้ในด้านเกษตรกรรมและการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เหมาะสม ดังนั้นใน พ.ศ. ๒๕๒๕ จึงได้พระราชทานพระราชดำริ ให้ตั้งศูนย์การศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจาก พระราชดำริขึ้นตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศเพื่อให้ความรู้ราษฎรให้สามารถนำไปปฏิบัติต่อได้

นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงศึกษาค้นคว้าและทรงคิดค้นเทคนิควิธี หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ หลายวิธีการ เช่น โครงการ “ฝนหลวง” แนวพระราชดำริการบริหารจัดการที่ดินเพื่อการเกษตร “ทฤษฏีใหม่” แนวพระราชดำริการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัด “แกล้งดิน” แนวพระราชดำริ การป้องกันการเสื่อมโทรมและการพังทลายของดินโดย “หญ้าแฝก” แนวพระราชดำริ การปลูกป่าแบบไม่ต้องปลูกแนวพระราชดำริ “ป่าเปียก” เพื่อความชุ่มชื้นของดินและเป็นแนวป้องกันไฟป่า และแนวพระราชดำริพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้ “ฝายชะลอความชุ่มชื้น”

ด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ ได้พระราชทานพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ นำไปพิจารณาและดำเนินการก่อนสร้างแหล่งน้ำ ๕ ประเภท คือ (๑) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภค (๒) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการรักษาต้นน้ำลำธาร (๓) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ (๔) โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม (๕) โครงการบรรเทาอุทกภัย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงค้นคว้า ทดลอง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการน้ำ ทรงนำเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยุสื่อสสาร ดาวเทียม และคอมพิวเตอร์มาใช้ในการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนสามารถช่วยเหลือเกษตรกรใน ภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงอีกทั้งยังเพิ่มปริมาณน้ำฝนให้แก่อ่างและเขื่อนเก็บกักน้ำเพื่อการชลประทาน และการผลิกกระแสไฟฟ้า

ด้านการป้องกัน น้ำท่วม พระราชทานพระราชดำริให้มีการก่อสร้าง คันน้ำ หรือผนังเลียบลำน้ำ นอกจากนั้นยังได้พระราชทานการก่อสร้างทางผันน้ำ ขุดลอกตกแต่งลำน้ำ นอกจากนั้นได้พระราชทานแนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล คือ โครงการ “แก้มลิง” โดยการขุดลอกคลองต่าง ๆ เพื่อชักน้ำให้มารวมกันแล้วนำมาเก็บไว้ในบ่อพักน้ำอันเปรียบได้กับแก้มลิง แล้วจึงระบายน้ำลงทะเล เมื่อปริมาณน้ำทะเลจะลดลง

ด้านสิ่งแวดล้อม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริ ในการบำบัดน้ำเสียโดยอาศัยวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีหลายวิธีการ เช่น โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย สระเติมอากาศ ชีวภาพบำบัด การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ

ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการทรงงานต่าง ๆ โดยพระราชทานพระราชดำริ ให้กรมแผนที่ทหาร จัดทำแผนที่ชนิดต่าง ๆ ถวาย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องของพื้นที่นั้น ๆ มาประกอบพระราชดำริ ในการเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎร ทรงใช้เครื่องมือสื่อสารพกติดพระองค์เสมอ เพื่อความรวดเร็วในการติดต่อประสานงาน ในอันที่จะบำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาขนได้ทันท่วงที

ใน พ.ศ. ๒๔๙๕ พระองค์ได้ทรงจัดตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ขึ้นในพระราชวังสวนดุสิต ต่อมาจึงย้ายไปตั้งในบริเวณพระตำหนังจิตลดารโหฐาน พระราชประสงค์ที่ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส.คือให้พสกนิกรมีโอกาสติดต่อกับพระองค์ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้สถานีวิทยุยังทำหน้าที่ เป็นสื่อกลางในการช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรมจากภัยพิบัติต่าง ๆ

ด้านคอมพิวเตอร์ ทรงคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง ทรงติดตั้งเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์ เพื่อสนับสนุนพระราชกรณียกิจต่าง ๆ และทรงประดิษฐ์ ส.ค.ส. เผยแพร่ทางสื่อมวลชน ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยหลายแบบและทรงใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียบเรียงเสียง ประสานและพิมพ์โน้ตเพลงสำหรับเครื่องดนตรีแต่ละชนิด เป็นต้น นอกจากนี้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน ๑,๔๗๒,๙๐๐ บาท ให้มหาวิทยาลัยมหิดลจัดทำโครงการพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ เพื่อการศึกษาพระไตรปิฎกและอรรถกถา

ด้านพลังงานทดแทน ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการพึ่งพาพลังงานนำเข้า จึงมีพระราชดำริให้เตรียมรับกับปัญหาด้านพลังงานมากว่า ๔๐ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ ทรงมีพระราชดำริให้นำพืชผลการเกษตรมาผลิตเป็นพลังงานทดแทน เพื่อให้คนไทยพึ่งตัวเองได้ รวมทั้งรองรับปัญหาราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำที่อาจจะเกิดขึ้น โครงการพัฒนาพลังงานทดแทนมีอาทิ

          ๑. การพัฒนาแก๊สโซฮอล์ ใน พ.ศ. ๒๕๒๘ ทรงมีพระราชดำรัสให้ศึกษาการผลิตเอทานอลจากอ้อยเพื่อแก้ปัญหาภาวะขาดแคลนน้ำมันและราคาอ้อยตกต่ำ ได้มีการปรับปรุงคุณภาพและกำลังการผลิตเอทานอลอย่างต่อเนื่อง โดยได้ปรับปรุงความบริสุทธิ์ของเอทานอลจาก ๙๕% ให้มีความบริสุทธิ์ ๙๙.๕% และได้ทดลองผสมเอทานอลด้วยสัดส่วน ๑๐ % ในน้ำมันเบนซิน ซึ่งใช้ได้ผลและเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ บริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยจำกัด (หมาชน) ได้น้อมเกล้าฯ ถวายสถานีบริการแก๊สโซฮอล์เพื่อให้บริการแก่รถยนต์ที่ใช้ในโครงการส่วน พระองค์สวนจิตรลดา

            ๒. ผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืช เพื่อใช้ทดแทนน้ำมันดีเซล โดยทรงมีพระราชดำริให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็กที่สหกรณ์นิคมอ่างลึก จังหวัดกระบี่ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ขนาดเล็ก ที่ศูนย์การพัฒนาศึกษาพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๔๓ ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้กองงานส่วนพระองค์ดำเนินการวิจัยและพัฒนาพร้อม ทดลองน้ำมันปาล์มกับเครื่องยนต์ดีเซลของกองงานส่วนพระองค์ที่วังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งพระปรีชาสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นโครงการพัฒนาน้ำมันปาล์มเพื่อใช้กับ เครื่องยนต์ดีเซลนี้ ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลเหรียญทองใน โครงการน้ำมันไบโอดีเซลสูตรสกัดจากน้ำมันปาล์ม ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้นำไปจัดแสดงในงาน “Brussels Eureka ๒๐๐๑” ซึ่งเป็นนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์นานาชาติประจำปี ๒๕๔๔ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม อักทั้งโครงการดังกล่าวยังได้รับสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยจากกระทรวงพาณิชย์

การที่ทรงนำเทคโนโลยีความรู้ต่าง ๆ มาใช้ในการแก้ไขปัญหาเพื่อประโยชน์สุขของราษฎร ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถพึ่งตนเองได้อันเป็นที่ประจักษ์แก่ชาวไทยและนานาประเทศทั่วโลก เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ นาย Richard G. Grimshaw หัวหน้าสาขาวิชาเกษตร ฝ่ายวิชาการภูมิภาคเอเชียของธนาคารโลก ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลหญ้าแฝกชุบสำริด เพื่อเฉลิมพระเกียรติในความสัมฤทธิ์ผล ทางด้านวิชาการและการพัฒนา ในการส่งเสริมเทคโนโลยีการปลูกหญ้าแฝก ในระดับระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ ดินและน้ำทำให้พสกนิกรไทยซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ จึงพร้อมใจกันเทิดพระเกียรติพระองค์ท่านให้ทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย”

พระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย”

คณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ เห็นชอบให้ดำเนินโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็น “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี และเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระอัจฉริยภาพ และพระปรีชาสามารถ ด้านนวัตกรรมจากโครงการแกล้งดิน ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาสภาพดินเปรี้ยว ให้สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ และกำหนดในวันที่ ๕ ตุลาคม ของทุกปีเป็น “วันนวัตกรรมแห่งชาติ” เนื่องจากในวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทอดพระเนตรการดำเนินงาน โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และได้มีพระราชดำรัสเกี่ยวกับโครงการแกล้งดินอย่างเป็นทางการ

จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ แกล้งดิน ในเขตจังหวัดนราธิวาส ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นวิธีการแก้ไขพื้นที่ที่มีสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำการเพาะปลูกไม่ได้ เนื่องจากมีกรดกำมะถันอันเป็นสาเหตุของดินเปรี้ยวอยู่เป็นจำนวนมาก การแก้ไขดินเปรี้ยวตามแนวพระราชดำริโดยใช้กรรมวิธีแกล้งดิน คือ การทำดินให้เปรี้ยวด้วยการทำดินให้แห้งและเปียกสลับกันเพื่อเร่งปฏิกิริยา ทางเคมีของดินให้มีความเป็นกรดจัดมากขึ้นจนถึงขั้นที่สุด จากนั้นจึงมีการทดลองปรับปรุงดินเปรี้ยวโดยวิธีต่าง ๆ กัน เช่น โดยการควบคุมระบบน้ำใต้ดินเพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน การใช้วัสดุปูนผสมประมาณ ๑-๔ ตันต่อไร่ การใช้น้ำชะล้างจนถึงการเลือกใช้พืชที่จะเพาะปลูกในบริเวณนั้น การแกล้งดินตามแนวพระราชดำริ สามารถทำให้พื้นดินที่เปล่าประโยชน์และไม่สามารถทำอะไรได้กลับฟื้นคืนสภาพ ที่สามารถทำการเพาะปลูกได้อีกครั้งหนึ่ง

“โครงการแกล้งดิน” เป็นโครงการที่มีนวัตกรรมโดยใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาดินเปรี้ยวในประเทศเขตร้อน ยังไม่มีที่ใดในโลกที่ใช้วิธีการดำเนินงานในลักษณะดังกล่าว และมีการนำมาทำเป็นตำราเผยแพร่ จึงแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวที่ทรงเป็น “นวัตกร” อย่างแท้จริง ซึ่งแนวพระราชดำริดังกล่าวเน้นให้เห็นถึงการประสมประสานรวัตกรรมด้าน เทคโนโลยีควบคู่กับนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ จนได้วิธีที่เหมาะสมในการแก้ไขดินเปรี้ยวได้

ด้วยพระปรีชาสามารถทาง ด้านนวัตกรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และความตั้งพระราชหฤทัยที่จะยกระดับความเป็นอยู่ ของพสกนิกรชาวไทยนั้น เป็นที่ประจักษ์และเป็นที่สรรเสริญพระเกียรติคุณทั่วทิศานุทิศ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวที่ได้บำเพ็ญพระราชกรณียกิจ มากหลายซึ่งเป็นคุณประโยชน์ใหญ่หลวงต่อ ชาวไทยและชาวโลก และเนื่องในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ใน พ.ศ. ๒๕๔๙ นี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเทิดพระเกีรยติพระองค์เป็น “พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย” เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณให้สถิตสถาพร อีกทั้งเพื่อเป็นเกียรติ และสิริอันสูงยิ่งแก่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และวงการนวัตกรรมไทยสืบต่อไป

 พระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการวิจัย”

เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานน์นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมสภาวิจัยแห่งประเทศไทย โดยนายอานนท์ บุณยะรัตเวช เลขาธิการ คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้แถลงว่า ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์เห็นสมควรให้ทูลเกล้าถวายพระราชสมัญญา “พระบิดาแห่งการวิจัย” แด่ประบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากเห็นถึงความสามารถด้านการวิจัย ของพระองค์เป็นที่ประจักษ์ ทั้งในและต่างประเทศ มีผลงานวิจัยจำนวนมากที่ได้พระราชทานแนวพระราชดำริ และโครงการอันเนื่องมากจากพระราชดำริต่าง ๆ ในการแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชน เช่น ทฤษฏีใหม่ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โครงการฝนหลวง หญ้าแฝกฯ ตลอดจนงานด้านการประดิษฐ์คิดค้น เช่น กังหันชัยพัฒนา ซึ่งได้รับรางวัลที่ ๑ ผลงานประดิษฐ์คิดค้น จากสภาวิจัยแห่งชาติประจำปี ๒๕๓๖ ทั้งนี้การทูลเกล้าถวายพระราชสมัญญาดังกล่าว จะต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกครั้งเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษาด้วย

พระราชสมัญญา “พระมหากษัตริย์นักพัฒนา”

สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้ทูลเกล้าถวายรางวัล “ความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ (The Human Development Lifetime Achievement Award)" เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งเป็นรางวัลชิ้นแรก ที่จัดทำขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสแห่งการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ ครบหกสิบปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากการที่ได้ทรงอุทิศกำลังพระวรกายและทรงพระวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของปวงชนชาวไทยอยู่เป็นนิจศีล จนเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก จึงต่างกล่าวขานพระนามพระองค์ว่าทรงเป็น “พระมหากษัตริย์ นักพัฒนา” ทั้งนี้เพราะเป็นพระราชหฤทัยเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาต่อพสกนิกรผู้ยากไร้และ ผู้ด้อยโอกาส โดยไม่ทรงแบ่งแยกสถานะ ศาสนา ชาติพันธุ์ หรือหมู่เหล่า ทรงสดับรับฟังปัญหาความทุกข์ยากของราษฏร พระราชทานแนวทางการดำรงชีวิตเพื่อให้ประชาชนของพระองค์สามารถพึ่งพาตนเองได้ อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน มีโครงการในพระราชดำริต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชนบทที่จำนวนมากมายและมิอาจนับได้ ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ความรู้และนวัตกรรมที่เอื้อต่อความก้าวหน้าในการพัฒนา ยังประโยชน์ให้แก่พสกนิกรทั่วหล้า อาทิ

-โครงการที่มุ่งเน้นการเกษตรขนาดเล็กด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม ตามแนวทางทฤษฎีใหม่

-โครงการที่มีการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน

-โครงการป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อนจากน้ำท่วมด้วยการสร้างเขื่อน ฝ่ายน้ำล้น อ่างเก็บน้ำ

-โครงการฝนหลวงเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง

               ปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ด้วยพระปรีชาสามารถในการเป็นนักคิด และคุณูปการต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนส่งผลให้นานาประเทศตื่นตัวในการปรับรูปการ พัฒนาอย่างยิ่งภายใต้แนวคิดใหม่ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อประชาราษฏร์ได้พระราชทานปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อชี้ถึงแนวทางการพัฒนาที่เน้นความสมดุล ความพอประมาณ ความมีเหตุผล สำนึกในคุณธรรม และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พอที่จะต้านทานและสมดุลความพอประมาณ ความมีเหตุผล สำนึกในคุณธรรม และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พอที่จะต้านทานและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ จากกระแสโลกาภิวัฒน์ ด้วยปรัชญานี้องค์การสหประชาชนจึงมุ่งเน้นเพียรพยายามและส่งเสริมการพัฒนาคน ให้ความสำคัญต่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชนเป็นเป้าหมายศุนย์กลางในการพัฒนา

ซึ่ง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นั้นนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ผู้ทูลเกล้าฯ ถวายรงวัล The Human Development Lifetime Achievement Award ได้มีปาฐกถาถึง และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด เป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ โดยที่องค์การสหประชาชาติได้สนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิก ๑๖๖ ประเทศยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน
 

ที่มา : https://www.cstp.or.th/cstp2/index.php/2011-05-30-04-01-42/-9-/2011-05-30-04-09-13

 

ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี