พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 4.1K views



พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535

พระราชบัญญัติการสาธารณสุข เป็นกฏหมายที่คุ้มครองด้านสุขลักษณะและการอนามัยสิ่งแวดล้อมหรือ การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมซึ่งครอบคลุมทั้งกิจกรรม การกระทำทุกอย่าง และกิจการประเภทต่างๆที่มีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัยของประชาชนตั้งแต่ระดับชาวบ้าน ครัวเรือน ชุมชน ตลอดจนกิจการขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ อันได้แก่หาบเร่ แผงลอย สถานที่จำหน่ายอาหาร ตลาดกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประเภทต่างๆ รวม 125ประเภท รวมทั้งการเลี้ยงหรือ ปล่อยสัตว์โดยให้อำนาจแก่ราชการส่วน ท้องถิ่น ในการออกข้อกำหนดท้องถิ่น ใช้บังคับในเขต ท้องถิ่นนั้นๆ และให้ อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการควบคุมดูแล โดยการออกคำสั่งให้ ปรับปรุง แก้ไขการอนุญาต หรือไม่อนุญาต การสั่งพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาติ รวมทั้ง การเปรียบเทียบคดีและยังกำหนดให้มี "เจ้าพนักงานสาธารณสุข" เป็นเจ้าพนักงานสาย วิชาการที่มีอำนาจในการตรวจตรา ให้คำ แนะนำ ปรับปรุงแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการวินิจฉัย สั่งการ หรือออกคำสั่ง รวมทั้งผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจาากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติ การให้เป็นไปตามที่กฏหมายกำหนด พระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2535 มีบทบัญญัติ หรือข้อกำหนดที่ใช้ในการควบคุมมลพิษทางอากาศ ได้แก่ บทบัญญัติ ในหมวด 1 เรื่อง บททั่วไป มาตรา 6-8 หมวด 5 เรื่อง เหตุรำคาญ มาตรา 25-28 และหมวด 7 เรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ มาตรา 31-33 หมวด 8 เรื่อง ตลาด สถานที่จำหน่ายอาหาร และสถานที่สะสมอาหาร ของพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 เป็นส่วนที่สามารถนำมาใช้ในการควบคุมมลพิษทางอากาศได้ ในที่นี้จะกล่าวอ้างถึง เฉพาะหมวด 1,5,7 ดังนี้คือ

 

หมวด 1 : บททั่วไป

 

มาตรา 6

ให้อำนาจรัฐมนตรีในการ

  • กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและ มาตรการในการควบคุมหรือกำกับดูแลสำหรับกิจการหรือดำเนิน การในเรื่องต่างๆ

  • กำหนดมาตรฐานสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสม กับการดำรงชีพของประชาชนและวิธีดำเนินการ เพื่อตรวจสอบ ควบคุมหรือกำกับดูแลหรือแก้ไข

ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 6 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท (มาตรา 68)

 

มาตรา 7

ให้ราชการส่วนท้องถิ่นดำเนินการควบคุมดูแลกิจการหรือการดำเนินการที่อยู่ในเขตอำนาจของ ท้องถิ่นนั้น ให้เป็นไปตามข้อกำหนดตามมาตรา 6 โดยอาจออกหรือแก้ไขปรับปรุงข้อกำหนดของท้อง ถิ่น ที่ใช้บังคับอยู่ก่อน

 

มาตรา 8

ให้อำนาจอธิบดีกรมอนามัยในการออกคำสั่งให้เจ้าของหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการก่อให้ เกิดหรืออาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสม กับการดำรงชีพของ ประชาชน ระงับการกระทำหรือให้ทำการใดๆ เพื่อแก้ไขหรือป้องกันความเสียหายหรือให้เจ้าพนักงาน สาธารณสุข ท้องถิ่นปฏิบัติการใด ๆ เพื่อแก้ไข หรือป้องกันความเสียหายดังกล่าวโดยให้ ผู้ก่อให้เกิด ความเสียหายเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการนั้นผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของอธิดีกรมอนามัย หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าของเจ้าพนักงาน สาธารณสุข ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 69)

 

หมวด 5 : เหตุรำคาญ (มาตรา 25 ถึง 28)

 

มาตรา 25

กำหนดให้กรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ ต้องประสบกับเหตุนั้นให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ ซึ่งรวมถึง

  • อาคารอันเป็นที่อยู่ของคนและสัตว์ โรงงานหรือสถานที่ประกอบกิจการใดไม่มีการระบายอากาศ การระบายน้ำ การกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือการควบคุมสารเป็นพิษหรือมีแต่ไม่มีการควบคุมให้ปราศ จากกลิ่นเหม็น หรือละอองสารเป็นพิษอย่างพอเพียง จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็น อันตรายต่อสุขภาพ

  • การกระทำใดๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใดจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

 

มาตรา 26 ถึง 28

กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจห้ามผู้หนึ่งผู้ใด มิให้ก่อเหตุรำคาญในที่ หรือทาง สาธารณะหรือสถานที่เอกชน โดยออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลหรือเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ ซึ่งเป็นต้นเหตุ หรือเกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดเหตุรำคาญ ระงับกำจัด ควบคุม และป้องกันเหตุรำคาญ หรือมิให้ใช้ ยินยอมให้บุคคลใด ใช้สถานที่นั้น และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสามารถกระทำโดยวิธีใด เพื่อระงับเหตุ รำคาญและอาจจัดการตามความจำเป็น หรือให้ระบุไว้ในคำสั่งกำหนดวิธีการป้องกัน มิให้เหตุความรำคาญนั้นเกิดขึ้นอีกในอนาคตในการดำเนินการดังกล่าวให้บุคคลหรือเจ้าของ หรือผู้ ครอบ ครองซึ่งเป็น ต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดเหตุรำคาญ เป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการจัด การนั้นผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(มาตรา 74)

 

หมวด 7 : กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (มาตรา 31 ถึง 33)

 

มาตรา 31

ให้อำนาจแก่รัฐมนตรีในการกำหนดให้กิจการใด เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

 

มาตรา 32

ให้อำนาจแก่ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจ

  • กำหนดประเภทของกิจการตามมาตรา 31 บางกิจการหรือทุกกิจการเป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุม ภายในท้องถิ่นเท่านั้น

  • กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไปและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพให้ผู้ดำเนินกิจการที่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพปฏิบัติ เพื่อดูแลสภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ดำเนินกิจการ

ผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนดของท้องถิ่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 8 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 73)

 

มาตรา 33

กำหนดให้ผู้ที่ดำเนินกิจการที่ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดให้เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะเพิ่มเติม ให้ผู้ดำเนินกิจการดังกล่าวปฏิบัติ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนได้ผู้ใดดำเนินกิจการที่ส่วนท้องถิ่นกำหนดให้เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยไม่มีใบอนุญาติ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 71)ผู้รับใบอนุญาติผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาติต้องระวาง โทษ ปรับไม่เกิน 2,000 บาท (มาตรา 76)

 


ที่มา : รวบรวมจาก กองอนามัยสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร