พาย (ค่าคงตัว)
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 17.1K views



พาย หรือ ไพ (pi: π) เป็นค่าคงตัวทางคณิตศาสตร์ ที่เกิดจากความยาวเส้นรอบวงหารด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม ค่า π มักใช้ในคณิตศาสตร์, ฟิสิกส์ และวิศวกรรม π เป็นอักษรกรีกที่ตรงกับตัว "p" ในอักษรละติน มีชื่อว่า "pi" (อ่านว่า พาย ในภาษาอังกฤษ แต่อ่านว่า พี ในภาษากรีก) บางครั้งเรียกว่า ค่าคงตัวของอาร์คิมิดีส หรือจำนวนของลูดอฟ

ในเรขาคณิตแบบยุคลิด π มีนิยามว่าเป็นอัตราส่วนของเส้นรอบวงหารด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม หรือเป็นอัตราส่วนของพื้นที่วงกลม หารด้วย รัศมียกกำลังกำลังสอง ในคณิตศาสตร์ชั้นสูงจะนิยาม π โดยใช้ฟังก์ชันตรีโกณมิติ เช่น π คือจำนวนบวก x ที่น้อยสุดที่ทำให้ sin(x) = 0

ค่า π โดยประมาณ 50 ตำแหน่งคือ

3.14159 26535 89793 23846 26433 83279 50288 41971 69399 37510

แม้ว่าค่านี้มีความละเอียดพอที่จะใช้ในงานวิศวกรรมหรือวิทยาศาสตร์แล้ว ปัจจุบันมีการคำนวณค่า π ได้หลายตำแหน่ง ซึ่งหาได้ทั่วไปจากอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยทั่วไปสามารถคำนวณค่า π ได้พันล้านหลัก ขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์คำนวณค่า π ได้เกินล้านล้านหลัก และไม่พบว่ามีรูปแบบที่ซ้ำกันของค่า π ปรากฏอยู่

สูตรที่เกี่ยวข้องกับ π

เรขาคณิต

π มักปรากฏในสูตรที่เกี่ยวกับวงกลมและทรงกลม

รูปร่างทางเรขาคณิตสูตร
เส้นรอบวงของวงกลมที่มีรัศมี r และเส้นผ่านศูนย์กลาง d C = pi d = 2 pi r ,!
พื้นที่ของวงกลมที่มีรัศมี r A = pi r^2 ,!
พื้นที่ของวงรีที่มีแกนเอก a และแกนโท b A = pi a b ,!
ปริมาตรของทรงกลมที่มีรัศมี r และเส้นผ่านศูนย์กลาง d V = frac{4}{3} pi r^3 = frac{1}{6} pi d^3 ,!
พื้นที่ผิวของทรงกลมที่มีรัศมี r A = 4 pi r^2 ,!
ปริมาตรของทรงกระบอกที่สูง h และรัศมี r V = pi r^2 h ,!
พื้นที่ผิวของทรงกระบอกที่สูง h และรัศมี r A = 2 ( pi r^2 ) + ( 2 pi r ) h = 2 pi r (r + h) ,!
ปริมาตรของกรวยที่สูง h และรัศมี r V = frac{1}{3} pi r^2 h ,!
พื้นที่ผิวของกรวยที่สูง h และรัศมี r A = pi r sqrt{r^2 + h^2} + pi r^2 =  pi r (r + sqrt{r^2 + h^2}) ,!


ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/พาย_(ค่าคงตัว)

Tag : พาย