อาณาจักรโบราณในไทยก่อนสุโขทัย
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 129.7K views



อาณาจักรโบราณในไทยก่อนสุโขทัย ตอนที่ 1
อาณาจักรโบราณในไทยก่อนสุโขทัย ตอนที่ 2
อาณาจักรโบราณในไทยก่อนสุโขทัย ตอนที่ 3
อาณาจักรโบราณในไทยก่อนสุโขทัย ตอนที่ 4
อาณาจักรโบราณในไทยก่อนสุโขทัย ตอนที่ 5
อาณาจักรโบราณในไทยก่อนสุโขทัย ตอนที่ 6
อาณาจักรโบราณในไทยก่อนสุโขทัย ตอนที่ 7
อาณาจักรโบราณในไทยก่อนสุโขทัย ตอนที่ 8
อาณาจักรโบราณในไทยก่อนสุโขทัย ตอนที่ 9
อาณาจักรโบราณในไทยก่อนสุโขทัย ตอนที่ 10
อาณาจักรโบราณในไทยก่อนสุโขทัย ตอนที่ 11
อาณาจักรโบราณในไทยก่อนสุโขทัย ตอนที่ 12
อาณาจักรโบราณในไทยก่อนสุโขทัย ตอนที่ 13
อาณาจักรโบราณในไทยก่อนสุโขทัย ตอนที่ 14
อาณาจักรโบราณในไทยก่อนสุโขทัย ตอนที่ 15
อาณาจักรโบราณในไทยก่อนสุโขทัย ตอนที่ 16
อาณาจักรโบราณในไทยก่อนสุโขทัย ตอนที่ 17
อาณาจักรโบราณในไทยก่อนสุโขทัย ตอนที่ 18
อาณาจักรโบราณในไทยก่อนสุโขทัย ตอนที่ 19 (จบ)

อาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทย ก่อนสมัยสุโขทัย

                ประเทศไทยในปัจจุบัน ได้มีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์ตั้งถิ่นฐาน อาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สืบต่อเนื่องมาตามลำดับ นับเป็นระยะเวลาหลายพันปีมาแล้วโดยเริ่มจากชุมชนหมู่บ้าน ที่กระจายอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำและบนที่ราบสูงมารวมตัวกันเป็นเมือง มีการติดต่อค้าขายกับชุมชนอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอก กลายเป็นเมืองท่าค้าขาย มีผู้คนย้ายมาตั้งถิ่นฐานมากขึ้น และได้มีพัฒนาเป็นอาณาจักร ตลอดจนได้ขยายอำนาจครอบคลุมอำนาจอื่น ต่างชิงความเป็นใหญ่ และตั้งเป็นอาณาจักรของตนเอง ได้แก่ อาณาจักรตามพรลิงค์ อาณาจักรโคตรบูร อาณาจักรขอม อาณาจักรทวารวดี อาณาจักรละโว้ อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรเงินยางเชียงแสน อาณาจักรล้านนา อาณาจักรหริภุญชัย อาณาจักรอโยธยา และอาณาจักรสุพรรณภูมิ

อาณาจักรโบราณในดินแดนภาคกลางของไทย

อาณาจักรทวารวดี 
อาณาจักรทวารดีเป็นอาณาจักรที่สำคัญอาณาจักรหนึ่ง ซึ่งเคยมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ในดินแดนประเทศไทยในปัจจุบัน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11-16 มีความเจริญครอบคลุมไปยังดินแดนภาคเหนือ และภาคกลางของประเทศไทยในปัจจุบัน ตลอดจนถึงหัวเมืองมอญริมฝั่งทะเลอันดามัน โดยนักประวัติศาสตร์มีความเห็นเกี่ยวกับศูนย์กลางของอาณาจักรทวารวดีที่มีความแตกต่างกันแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เชื่อว่าอาณาจักรทวารวดีมีศูนย์กลางที่เมืองนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 
กลุ่มที่ 2 เชื่อว่าอาณาจักรทวารวดีมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 
กลุ่มที่ 3 เชื่อว่าอาณาจักรทวารวดีมีศูนย์กลางอยู่ที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี 
จากข้อสันนิษฐานของนักประวัติศาสตร์ที่มีความแตกต่างกันออกไป เนื่องจากบริเวณ     ทั้ง  3 แห่ง พบร่องรอยเมืองโบราณ โบราณสถาน ศิลปวัตถุ สมัยทวารวดีเป็นจำนวนมาก เช่น พระพุทธรูป ลูกปัด เหรียญเงิน กงล้อรูปธรรมจักรกับกวางหมอบ ธรรมจักรศิลา ลายปูนปั้นนูนสตรีเล่นดนตรี 
กลุ่มเมืองสำคัญเหล่านี้ล้วนเป็นดินแดนเขตชายฝั่งทะเลที่มีการติดต่อค้าขายทางทะเลกับอินเดีย จีน อาหรับ และเป็นแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้านการเพาะปลูก จึงดึงดูดให้ผู้คนจากดินแดนภายนอก ตอนบนเคลื่อนย้ายลงมาตั้งหลักแหล่ง เป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดเมืองใหญ่ๆ ขึ้นหลายเมือง นอกจากนั้นชุมชนแถบนี้ยังได้รับอิทธิพลจากอินเดีย ทางด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และแบบแผนการปกครอง โดยนำมาปรับให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเอง อิทธิพล    ที่อินเดียส่งต่อมายังอาณาจักรทวารวดี ได้แก่ 
1. พระพุทธศาสนา ซึ่งมีบทบาทเชื่อมโยงความแตกต่างทางเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ของกลุ่มชน ในดินแดนนี้ ให้ยึดถือในความเชื่อเดียวกัน
2. กำหนดแบบแผนของกษัตริย์ที่ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์และส่งเสริมพระพุทธศาสนา
3. มีการแบ่งชนชั้นทางสังคม ได้แก่ ชนชั้นปกครอง และชนชั้นใต้ปกครอง โดยพระสงฆ์เป็นผู้ปลูกฝังความเชื่อให้แก่ประชาชนใช้ภาษาบาลีประกาศคำสอนจากพระไตรปิฎก และใช้ภาษาสันสกฤต ในคำประกอบพิธีกรรม

การนับถือศาสนา 
                ประชาชนของอาณาจักรทวารวดีส่วนใหญ่ให้การนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท

ศิลปะสมัยทวารดี 
                ศิลปะสมัยทวารวดีพบอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย ได้แก่ นครปฐม สุพรรณบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี ราชบุรี ขึ้นไปจนถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เช่น ที่เมืองฟ้าแดดสงยาง จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ค้นพบใบเสมา ศิลาสลักเป็นพระพุทธรูป พุทธประวัติ และชาดกต่าง ๆ

ใบเสมาที่เมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง จ

ใบเสมาสลักเรื่องพุทธประวัติที่เมืองโบราณฟ้าแดดสงยาง จ.กาฬสินธุ์ 
ที่มาภาพ  คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ .หน้า 32.

กระปุกเหรียญสมัยทวารวดีและตัวอย่างของเหรียญ ซึ่งพบที่คอกช้างดิน เมืองเก่าอู่ทองแสดงถึงความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเสาหินแปดเหลี่ยมซึ่งแสดงถึงลักษณะเด่นของศิลปกรรมสมัยทวารวดี

Text Box: กระปุกเหรียญสมัยทวารวดีและตัวอย่าง               ของเหรียญ ซึ่งพบที่คอกช้างดิน เมืองเก่าอู่ทองแสดงถึงความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ  ที่มาภาพ  คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนประวัติศาสตร์        กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (หน้า 54)    Text Box: เสาหินแปดเหลี่ยมซึ่งแสดงถึงลักษณะเด่นของศิลปกรรมสมัยทวารวดี  ที่มาภาพ  คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนประวัติศาสตร์        กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (หน้า 53)

ผลงานด้านศิลปะสมัยทวารวดี เกิดจากการสร้างสรรค์ทางศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา โดยรับแบบพุทธศิลป์ของอินเดียมาผสมผสานกับคติความเชื่อในท้องถิ่นแล้วได้พัฒนามาเป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง เป็นศิลปะสมัยทวารดีที่โดดเด่น และยังคงเหลือให้เห็น
มีหลายด้าน ดังนี้

ด้านสถาปัตยกรรม 
ผลงานด้านสถาปัตยกรรมสมัยทวารวดีมักใช้การก่ออิฐถือปูน มีลายปูนปั้นประกอบ               ไม่นิยมก่ออิฐด้วยศิลาแลง รูปสัณฐานของเจดีย์ ฐานทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม องค์สถูปทำเป็นรูประฆังคว่ำและมียอดเตี้ย เช่น พระปฐมเจดีย์องค์เดิม หรือเจดีย์วัดจุลปะโทน  จังหวัดนครปฐมและ              บางแบบทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมวางซ้อนกันขึ้นไปเป็นชั้น  แต่ละชั้นเจาะเป็นซุ้มสำหรับไว้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป  เช่น  เจดีย์วัดกู่กุด จังหวัดลำพูน

 

 

https://www.baichaploo.com/dairy/prapathom.jpg

พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม 
ที่มาภาพ   https://www.baichaploo.com/dairy/prapathom.jpg

https://3.bp.blogspot.com/_t8dZJ1ykJqk/SgirJoOSRnI/AAAAAAAABw4/wAlbLlGABx4/s400/13.bmp

เจดีย์วัดกุดกู่ 
ที่มาภาพ   https://3.bp.blogspot.com/_t8dZJ1ykJqk/SgirJoOSRnI/AAAAAAAABw4/wAlbLlGABx4/s400/13.bmp

ด้านประติมากรรม 
ผลงานด้านประติมากรรมสมัยทวารวดีที่สำคัญ ได้แก่ การสร้างพระพุทธรูปทำด้วยศิลา
ลักษณะพระพักตร์มีขมวดพระเกศาใหญ่บางครั้งมีรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูมอยู่เหนือพระเกตุมาลา  พระพักตร์แบน  พระขนงสลักเป็นเส้นนูนโค้งติดต่อเป็นรูปปีกกา  พระเนตรโปน  พระนาสิกแบน  พระโอษฐ์หนา จีวรบางติดกับพระองค์  พระบาทใหญ่ มักนิยมทำเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาประทับนั่งห้อยพระบาท  เช่น  พระพุทธรูปสมัยทวารวดีที่วัดหน้าพระเมรุ  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  และที่ถ้ำฤๅษีเขางู  จังหวัดราชบุรี   นอกจากนั้นยังมีศิลาสลักรูปกงล้อ                   พระธรรมจักรกับกวางหมอบ รูปเหล่านี้หมายถึง   พระพุทธองค์ปางประทานปฐมเทศนา                    ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี และพบประติมากรรมดินเผาและรูปปั้นหลายชิ้นที่มีความงดงาม เช่น ภาพปูนปั้นสตรีเล่นดนตรี

58t3https://nutcoco.exteen.comimages/image5.jpg

 

236AC804

พระพุทธรูปศิลาขาว ประทับนั่งห้อยพระบาทศิลปะทราวดี พุทธศตวรรษที่ 11-16
บางแสดงเทศนา แสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้าสามพระยา

ที่มาภาพ  ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์ กรมวิชาการ. หน้า 138.

อาณาจักรละโว้ 
เมืองละโว้ เมื่อแรกก่อตั้งนั้น ปรากฏข้อความในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระพุทธศักราช 1002 ปี จุลศักราช 10 ปีระกาสัมฤทธิศก จึงพระยากาฬวรรณดิศราชบุตรของพระยากากะพัตรได้เสวยราชสมบัติ เมืองตักกะศิลามหานคร จึงให้พราหมณ์ทั้งหลายยกพลไปสร้างเมืองละโว้ 
จากข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในพงศาวดารเหนือ พอจะสรุปได้ว่าเมืองละโว้มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 1002 แล้ว และจากการขุดค้นทางโบราณคดี ปรากฏว่าตั้งแต่อำเภอชัยบาดาล ถึงอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ล้วนแต่มีหลักฐานเกี่ยวกับมนุษย์ในอดีตที่ยาวนานมาแล้ว จากชุมชนขนาดย่อมขยายเป็นเมืองเล็กๆ จนกระทั่งรวมตัวกันเป็นอาณาจักรหรือเขตปกครองที่เป็นส่วนย่อยของประเทศ ราวพุทธศตวรรษที่ 10 – 12 ละโว้กลายเป็นอาณาจักรหรือเมืองขนาดใหญ่แล้ว และในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 – 14 อาณาจักรละโว้มีความรุ่งเรืองอย่างมาก โดยเฉพาะด้านพระพุทธศาสนา 
อาณาจักรละโว้ มีความเจริญมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีอิทธิพลครอบคลุมดินแดนภาคกลางตอนบน ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์เรื่อยมาจนถึงภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยบางส่วน ศูนย์กลางของอาณาจักรละโว้ในตอนต้นสันนิษฐานว่าอยู่ที่เมืองลพบุรี และประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 ได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองอโยธยา ภายหลังต่อมาเมื่อใน พ.ศ.1893 ได้มีการสถาปนาอาณาจักรอยุธยาขึ้นนั้นให้ละโว้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา

https://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/others/wilaiporn/61.2.jpg               

พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี 
แสดงให้เห็นอิทธิพลของศาสนาฮินดูและพระพุทธศาสนา
ที่มาภาพ   https://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/others/wilaiporn/61.2.jpg

                        หลังจากพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา อาณาจักรขอมได้ขยายอิทธิพลเข้ามายัง
บริเวณนี้  ทำให้ความสำคัญของอาณาจักรละโว้ลดลง อิทธิพลศิลปวัฒนธรรมของขอมได้แพร่เข้ามาในดินแดนประเทศไทย โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา  และเลยมาทางตะวันตกได้แก่ ปราสาทเมืองสิงห์                         จังหวัดกาญจนบุรี  และในช่วงเวลาดังกล่าวละโว้เป็นศูนย์กลางที่สำคัญทางภาคกลาง จึงได้รับอิทธิพลศิลปะขอม โดยนำมาผสมผสานรูปแบบให้เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง ได้แก่                                     พระปรางค์สามยอด  และเทวสถานปรางค์แขก จังหวัดลพบุรี

https://2.bp.blogspot.com/_22ZmxOFy6cc/Se161kCEHxI/AAAAAAAAAIY/JC6M1ZkBB9w/s320/552000001584504.jpg

เทวสถานปรางค์แขก จังหวัดลพบุรี
ที่มาภาพ  https://2.bp.blogspot.com/_22ZmxOFy6cc/Se161kCEHxI/AAAAAAAAAIY /JC6M1ZkBB9w/s320/ 
552000001584504.jpg

อาณาจักรอโยธยา
                หลักฐานพงศาวดารเหนือกล่าว อาณาจักรอโยธยาได้พัฒนาขึ้นมาจากศูนย์กลาง    การปกครองเดิม ได้แก่  เมืองละโว้ เมืองอโยธยา ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำเบี้ยทางฝั่งตะวันออกของตัวเมืองพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน การย้ายศูนย์กลางการปกครองจากเมืองละโว้มายังเมือง           อโยธยา นั้นเป็นช่วงเวลาที่มีการขยายตัวทางด้านการค้าทางทะเลโดยเฉพาะจีน  เพราะอาณาจักร
อโยธยาอยู่ใกล้ทะเลกว่าละโว้และอยู่ในบริเวณชุมทางของแม่น้ำ 3 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสักและแม่น้ำลพบุรี จึงเป็นชุมทางสินค้าที่สำคัญทั้งจากดินแดนภายในและดินแดนภายนอก 
อาณาจักรอโยธยามีความเจริญรุ่งเรืองจากการค้าขาย เนื่องจากเป็นแหล่งชุมชนที่มีทางออกสู่ทะเลได้สะดวกประกอบกับมีชนหลายกลุ่ม หลายเผ่าพันธุ์ จากถิ่นต่างๆ และมีกษัตริย์จากหลายราชวงศ์ผลัดเปลี่ยนกันปกครอง วัฒนธรรมหลายอย่างได้รับการสืบทอดมาจากเมืองละโว้  ประชาชนของอาณาจักรอโยธยา ส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาท และมหายาน 
(อาจริยวาท)
อาณาจักรอโยธยามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางการเมือง และทางเครือญาติกับเมืองละโว้ และเมืองสุพรรณภูมิ ในตอนปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ดินแดนแถบนี้มีจึงกำลังไพร่พลมากขึ้น สามารถรวมตัวกันก่อตั้งเป็นอาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ.1873

 อาณาจักรสุพรรณภูมิ 
                อาณาจักรสุพรรณภูมิ คือ ดินแดนฟากตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีเมืองนครชัยศรี                     เป็นศูนย์กลางในสมัยทวารวดี ต่อมาเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายศูนย์กลางการปกครองจากเมืองนครชัยศรีมาตั้งอยู่ที่เมืองสุพรรณภูมิหรือสุพรรณบุรี เนื่องจาก             เมืองสุพรรณภูมิมีสภาพที่เหมาะสมกว่า

https://1.bp.blogspot.com/_4-0yhgtyycg/StfNqG8rINI/AAAAAAAABeo/6GwjDxmkACc/s400/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%8C5.jpg 

ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี 
ศิลปะการก่อสร้างสมัยลพบุรี อิทธิพลพระพุทธศาสนา 
นิกายมหายานในอาณาจักรสุพรรณภูมิ 
ที่มาภาพ   https://1.bp.blogspot.com/_4-0yhgtyycg/StfNqG8rINI/AAAAAAAABeo/6GwjDxmkACc/
s400/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%
AA%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B9%8C5.jpg

พัฒนาการของการย้ายศูนย์กลางจากเมืองนครชัยศรีมาอยู่ที่เมืองสุพรรณภูมิ เพราะลำน้ำที่เป็นเส้นทางคมนาคมของเมืองนครชัยศรีตื้นเขิน ทำให้เรือสินค้าเข้าถึงได้ยาก  ส่วนเมืองสุพรรณภูมิตั้งอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นแม่น้ำใหญ่สามารถติดต่อกับอ่าวไทยได้สะดวก เอกสารจีนเรียกดินแดนของอาณาจักรสุพรรณภูมิว่า “เจนลีฟู” สุพรรณภูมิเป็นชุมชนที่เจริญเติบโตจากการค้าขายกับชาวจีน โดยพ่อค้าชาวจีนมาตั้งหลักแหล่งที่ไทย ในพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรสุพรรณภูมิ
มีความรุ่งเรืองด้านเศรษฐกิจอย่างมาก บรรดาเมืองสำคัญของอาณาจักรสุพรรณภูมิ เช่น ราชบุรี เพชรบุรี มีแม่น้ำไหลผ่านเมืองสามารถใช้เป็นเส้นทางติดต่อกับดินแดนภายในและติดต่อทางทะเลได้สะดวก โดยเฉพาะเมืองเพชรบุรี เป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สามารถคุมเส้นทางติดต่อกับอาณาจักรตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช)
อาณาจักรสุพรรณภูมิเติบโตระยะเวลาใกล้เคียงกับอาณาจักรอโยธยามีกษัตริย์ปกครองเช่นเดียวกับอาณาจักรอโยธยา ประชาชนในอาณาจักรสุพรรณภูมิให้การนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทเป็นหลัก แต่จากการที่สุพรรณภูมิมีการติดต่ออย่างใกล้ชิดกับเมืองละโว้ (ลพบุรี) ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับกษัตริย์ขอมสันนิษฐานได้ว่า อาณาจักรสุพรรณภูมิมีที่ตั้งอยู่                คนละฟากแม่น้ำกับเมืองละโว้ อาจรับอิทธิพลทางศิลปกรรมและพระพุทธศาสนานิกายมหายานไว้ด้วย โดยสังเกตได้ว่าอิทธิพลของนิกายมหายานได้ปรากฏในหลายท้องถิ่นของอาณาจักรสุพรรณภูมิ เช่น การสร้างปราสาทเมืองสิงห์ที่จังหวัดกาญจนบุรีและการสร้างพระปรางค์ศิลปะสมัยลพบุรี  ที่วัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี

s0001 

วัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี 

ที่มา: https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/malaiwan_c/historym1/unit02_03.html