กุ้งเดินขบวน มหัศจรรย์ธรรมชาติที่สามเหลี่ยมมรกต
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 14.4K views



กุ้งเดินขบวน มหัศจรรย์ธรรมชาติที่สามเหลี่ยมมรกต 1
กุ้งเดินขบวน มหัศจรรย์ธรรมชาติที่สามเหลี่ยมมรกต 2
กุ้งเดินขบวน มหัศจรรย์ธรรมชาติที่สามเหลี่ยมมรกต 3 (จบ)


กุ้งฝอย

กุ้งฝอยเป็นกุ้งน้ำจืดขนาดเล็กอยู่ในวงศ์ Palaemonidae มีลักษณะรูปร่างมีลำตัวใส เปลือกหุ้มตัวบาง ขนาดความยาวกุ้งฝอยอยู่ระหว่าง 15–54 มิลลิเมตร ขาคู่ที่สองของเพศผู้เรียบ ด้านในนิ้วหนีบมีหยักเล็ก 2 หยักอยู่ชิดทางต้นโคนนิ้ว กรีสั้นกว่าแผ่นหนวดของหนวดคู่ที่สอง (scaphocerite) เล็กน้อย มีรอยหยักข้างบน + 5–9 หยัก และมีรอยหยักข้างล่าง 2–4 หยัก หลังวงขอบตามีหยัก 3 หยัก

กุ้งฝอยพบได้ทั่วไปตามแม่น้ำและคลองต่างๆ ในประเทศไทย มักซ่อนตัวอยู่ตามใต้ก้อนหินระหว่างพันธุ์ไม้น้ำต่างๆ ตามปกติจะพบกุ้งฝอยอยู่ในน้ำลึก ไม่เกิน 1 เมตร ในบริเวณที่มีพวกอินทรียสารทับถมกันมากๆ ปริมาณกุ้งฝอยที่พบในรอบปีหนึ่งจะมีมากตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือน กุมภาพันธ์และจะมี มากที่สุดตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม



ปรากฏการณ์ "กุ้งเดินขบวน (Parading Shrimp)" 
ปรากฏการณ์กุ้งเดินขบวนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทยเกิดที่บริเวณน้ำตกแก่งลำดวน  อำเภอน้ำยืน  จังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงที่มีฝนตกชุกและมีน้ำหลากบริเวณแก่งลำดวนมากช่วงของเดือนกันยายนของทุกปี กุ้งฝอยจะได้กลิ่นไอของน้ำป่า และรู้ว่าถึงฤดูวางไข่ จึงพากันเดินขึ้นไปวางไข่บนพื้นที่ปลอดภัย อันได้แก่ บริเวณต้นน้ำยอดโดมของเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งมีระยะการเดินทางถึง 25 กม.ก่อนจะถึงต้นน้ำ จากนั้นก็จะทำการวางไข่ เพื่อให้ลูกกุ้งที่ขยายพันธุ์ได้ไหลลงมาตามลำน้ำโดมใหญ่ กุ้งจำนวนมากจะจับกลุ่มกันเป็นทิวแถวเดินขบวนยาวไต่บนลานหินเพื่อหนีกระแสน้ำที่พัดแรงและไหลเชี่ยว

 ซึ่งจริงๆ แล้วมันก็คือปรากฏการณ์ที่เหล่ากุ้งฝอยว่ายทวนกระแสน้ำ ไปยังแหล่งกำเนิดซึ่งเป็นต้นน้ำที่มีความสะอาดบริสุทธิ์ เพื่อทำการผสมพันธุ์และวางไข่ สืบเผ่าพันธุ์ของ พวกมัน แต่บ้างก็ว่ากุ้งเหล่านี้เดินทางเพื่อไปสักการะพระนารายณ์ เนื่องจากบริเวณแหล่งต้นน้ำที่ว่านี้ก็เป็นบริเวณที่ค้นพบหินแกะสลักรูปพระ นารายณ์บรรทมสินธุ์นั่นเอง ซึ่งคาดว่าสร้างขึ้นในสมัยที่อาณาจักรขอมเจริญรุ่งเรืองในบริเวณนี้มาก่อน