คำราชาศัพท์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 66.6K views



คำราชาศัพท์ ตอนที่ 1
คำราชาศัพท์ ตอนที่ 2
คำราชาศัพท์ ตอนที่ 3
คำราชาศัพท์ ตอนที่ 4
คำราชาศัพท์ ตอนที่ 5
คำราชาศัพท์ ตอนที่ 6
คำราชาศัพท์ ตอนที่ 7
คำราชาศัพท์ ตอนที่ 8
คำราชาศัพท์ ตอนที่ 9
คำราชาศัพท์ ตอนที่ 10
คำราชาศัพท์ ตอนที่ 11
คำราชาศัพท์ ตอนที่ 12
คำราชาศัพท์ ตอนที่ 13
คำราชาศัพท์ ตอนที่ 14
คำราชาศัพท์ ตอนที่ 15
คำราชาศัพท์ ตอนที่ 16
คำราชาศัพท์ ตอนที่ 17
คำราชาศัพท์ ตอนที่ 18

คำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์ ความหมายของคำราชาศัพท์ตามรูปศัพท์ หมายถึงหลวง หรือ ศัพท์ราชการ ใช้แก่บุคคลที่ควรเคารพนับถือตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ลงมาถึงพระบรมวงศานุวงศ์ พระภิกษุ ตลอดจนข้าราชการและบุคคลสามัญทั่วไปด้วย ดังนั้น "ราชาศัพท์ก็คือระเบียบการใช้ถ้อยคำให้ถูกต้องตามฐานะของบุคคล" เป็นถ้อยคำที่เราใช้ยกย่องเชิดชูบุคคลผู้เจริญด้วยชาติวุฒิ คุณวุฒิและวัยวุฒิ หรือเป็นการแสดงความเคารพนับถือ เช่น ต่อพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ต่อเทพเจ้าและต่อพระเป็นเจ้าแม้ในศาสนาอื่นๆเพื่อความเป็นระเบียบทางภาษาของเรานั้นเอง
๑ ที่มาของราชาศัพท์
   ๑.๑ คำไทย (คำราชาศัพท์ที่เกิดจากคำไทย)
   ๑.๒ คำประสม (คำราชาศัพท์ที่เกิดจากคำประสม)
   ๑.๓ คำยืมจากภาษาอื่น (คำราชาศัพท์ที่ยืมมาจากภาษาอื่น)

๑.๑ คำราชาศัพท์ที่เกิดจากคำไทย
มีวิธีการดังนี้
๑ ให้นำคำ "พระ" หรือ "พระราช" นำหน้านาม เป็นคำนามราชาศัพท์ เช่น
ประเภทเครื่องใช้ทั่วไป เช่น พระราชวัง(บ้าน)พระแสง(ศาสตราวุธ)พระอู่(เปล)พระที่นั่ง(เรือน)พระเก้าอี้ พระแท่น(เตียง)พระที่(ที่นอน)พระยี่ภู่(ที่นอน,ที่นั่ง,ฟูก,นวม) เป็นต้น
ประเภทอวัยวะต่างๆ เช่น พระเจ้า(ศีรษะเฉพาะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)พระรากขวัญ(ไหปลาร้า)พระถัน, พระเต้า(นม) เป็นต้น
ประเภทเครือญาติ เช่น พระพี่นาง พระน้องนาง พระเจ้าน้องยาเธอ พระเจ้าพี่ยาเธอ พระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าลุง พระเจ้าอา เป็นต้น
ประเภทบุคคลที่เกี่ยวข้องแต่ไม่ใช่เชื้อพระวงศื เช่น พระพี่เลี้ยง พระนม เป็นต้น
๒ ใช้ "ทรง" นำหน้าคำกริยาสามัญที่เป็นคำไทย ใช้เป็นคำกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงรับ ทรงทำ ทรงขอบใจ ทรงเชื่อ ทรงเก็บ ทรงตัดสิน ทรงฟัง ทรงยินดี ทรงชุบเลี้ยง ทรงสั่งสอน ทรงออกกำลังกาย ทรงเล่นกีฬา ทรงขับ(รถยนต์) ทรงถือ ทรงจับ ทรงวาด เป็นต้น
๓ ใช้ "ทร" นำหน้าคำนามที่เป็นคำไทย ใช้เป็นคำกริยา เช่น ทรงม้า(ขี่ม้า) ทรงช้า(ขี่ช้าง) ทรงเรือใบ(เล่นเรือใบ) เป็นต้น
๔ ใช้คำ "ต้น" หรือ "หลวง" ประกอบข้างท้ายคำไทย หรือราชาศัพท์ เช่น ช้างต้น ม้าต้น เรือนต้น รถหลวง เรือนหลวง เรือหลวง เป็นต้น

๑.๒ คำราชาศัพท์ที่เกิดจากคำประสม การนำคำที่มีใช้กันอยู่แล้วในภาษาประสมกันทำให้เกิดเป็นคำใหม่เพิ่มขึ้น นับเป็นวิธีหนึ่งของการสร้างคำขึ้นใหม่ การสร้างคำราชาศัพท์วิธีหนึ่งก็ใช้การนำคำที่มีอยู่แล้วมาประสมกันเช่นเดียวกัน คำที่นำมาประสมกันนั้น อาจเป็นคำไทยประสมกับคำไทย หรือ คำไทยประสมกับคำต่างประเทศที่ใช้เป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว เช่น

๑ คำไทยประสมกับคำไทย เช่น รับสั่ง ช้างต้น ม้าต้น เรือนต้น เรือนหลวง เรือหลวง เป็นต้น
๒ คำไทยประสมกับคำต่างประเทศที่ใช้เป็นคำราชาศัพท์ คำที่เกิดขึ้นใหม่จะใช้เป็นคำนามและคำกริยา เช่น

๑ ใช้เป็นคำนาม เช่น ห้องเครื่อง(ครัว) เครื่องคาว(ของกิน,กับข้าว) เครื่องหวาน(ของหวาน) เครื่องว่าง(ของว่าง) เครื่องสูง เครื่องต้น(เครื่องทรงสำหรับกษัตริย์,สิ่งของที่พระเจ้าแผ่นดินทรงใช้และเสวย) ริมพระโอษฐ์ เส้นพระเกษา ข้อพระกร ฝ่าพระบาท ห้องพระสำอาง รัดพระองค์(เข็มขัด) ดวงพระชะตา พานพระศรี(พานหมาก)
๒ ลายพระราชหัตถ์ (จดหมายที่เขียนด้วยมือ)
ใช้เป็นคำกริยา เช่น เทียบเครื่อง(ชิมอาหาร) ตั้งเครื่อง(ตั้งของรับประทาน) ลาดพระที่(ปูที่นอน) เฝ้าทูลละอองธุรีพระบาท(ไปหาไปพบ) หายพระทัย(หายใจ) ขอบพระทัย สนพระทัย ทอดพระเนตร เข้าในที่พระบรรทม สิ้นพระชนม์ เอาพระทัยใส่ ลงพระปรมาภิไธย(ลงชื่อ) แย้มพระโอษฐ์(ยิ้ม) เป็นต้น

๑.๓ คำราชาศัพท์ที่ยืมมาจากภาษา อื่น ภาษาต่างประเทศที่เรารับมาใช้เป็นคำราชาศัพท์ ได้แก่ ภาษาบาลีสันสกฤตและภาษาเขมร โดยวิธี - เติมคำ "พระ" หรือ "พระราช" เข้าข้างหน้าคำภาษาต่างประเทศเพื่อให้เป็น คำนาม - เติมคำ "ทรง" หรือ "ทรงพระ" เข้าข้างหน้าภาษาต่างประเทศเพื่อให้เป็นคำกริยาส่วนภาษาต่างประเทศอื่นๆ ก็มีบ้าง เช่น ยืมภาษามลายู ภาษาชวา แต่มีน้อยคำ