บทเรียนออนไลน์ วิชาภาษาไทย เรื่อง ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสสภูมิ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 116.4K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 



 

 

ผู้แต่งและประวัติผู้แต่ง
   พระยาลิไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ ๑ เป็นราชโอรสของพระยาเลอไท เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งกรุงสุโขทัย



ลักษณะคำประพันธ์
   ร้อยแก้ว 



เรื่องย่อ
   เบื้องต้นจะกล่าวถึงกำเนิดของมนุษย์ โดยสื่อให้เห็นถึงความเหนื่อยยากของผู้เป็นมารดาที่ต้อง ฟูมฟักดูแลลูกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่
   ต่อมาจะกล่าวถึงมนุษย์ในดินแดนอุตตรกุรุทวีป ซึ่งเป็นดินแดนทางเหนือของเขาพระสุเมรุ มนุษย์ทุกคนในดินแดนแห่งนี้จะมีรูปร่างหน้าตาที่สวยงามเท่าเทียมกันทุกคน ตลอดจนภูมิประเทศก็สวยงามราบเรียบเท่ากันทั้งทวีป ส่งผลให้มนุษย์ในทวีปนี้ไม่แก่งแย่งชิงดีกัน ทั่วทั้งดินแดนจึงมีแต่ความสงบสุข



สาระน่ารู้


สวรรคภูมิ
   สวรรคภูมิเป็นดินแดนที่อยู่สูงจากพื้นดิน ๔๖,๐๐๐ โยชน์ แบ่งเป็น ๖ ชั้น เรียงตามลำดับต่ำสุดไปสูงสุด ได้แก่ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตตี ซึ่งสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้นนี้อยู่ในกามตัณหา เทวดาจึงสามารถมีลูกได้จากการจับมือถือแขนกัน


นรกภูมิ
   นรกภูมิเป็นดินแดนสำหรับผู้ทำบาปกรรม แบ่งเป็น ๘ ขุม เรียงตามลำดับจากสูงสุดไปหาต่ำสุด ได้แก่ สัญชีพนรก กาลสูตนรก สังฆาฏนรก โรรุพนรก มหาโรรุพนรก ตาปนรก มหาตาปนรก และมหาอวีจินรก ซึ่งนรกแต่ละขุมจะมีนรกบริวารอีก ๑๖ หลุม อาทิเช่น โลหกุมภีนรก (นรกขุมกระทะทองแดง) โลหสิมพลีนรก (นรกขุมต้นงิ้ว) และนรกโลกกันตร์ (นรกมืดและหนาวสำหรับลงโทษผู้ที่ทำร้ายพ่อแม่หรือพระสงฆ์) เป็นต้น



ข้อคิด คติคำสอน และความจรรโลงใจ
   มนุษย์เราควรทำความดีด้วยวิธีต่าง ๆ อาทิเช่น การกตัญญูต่อมารดาผู้ให้กำเนิด การยึดมั่นในศีลธรรม รู้จักพึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่โลภ ไม่มีกิเลสตัณหา ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ฯลฯ ซึ่งหากเราทำได้เช่นนี้ ตัวเราและสังคมก็ย่อมมีแต่ความสงบสุข 

 


คำสำคัญ ไตรภูมิพระร่วง พระยาลิไทย มนุสสภูมิ อุตตรกุรุทวีป สวรรคภูมิ นรกภูมิ 

 



แหล่งที่มา : สำนักพิมพ์ วัฒนาพานิช www.wpp.co.th