บทเรียนออนไลน์ วิชาภาษาไทย เรื่อง การสื่อสารด้วยภาษาไทย
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 21.8K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้






การออกเสียงคำ


   การออกเสียงพยัญชนะ
   เสียงพยัญชนะที่มีปัญหาในการออกเสียงแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
   ๑) พยัญชนะเดี่ยว เมื่อใช้เป็นพยัญชนะต้น จะมีบางเสียงที่มีปัญหาในการออกเสียง เช่นเสียง /ช/ เสียง /ซ/ เสียง /ร/ เสียง /ล/
   ๒) พยัญชนะควบกล้ำ เป็นพยัญชนะ ๒ ตัวที่ออกเสียงควบกัน โดยนำ ร ล ว มาเป็นอักษรควบ มักเกิดปัญหาเมื่อนำมาใช้เป็นพยัญชนะต้น เพราะออกเสียงเสียงพยัญชนะต้นเพียงเสียงเดียว ไม่ออกเสียงพยัญชนะควบกล้ำ
 

 

   การออกเสียงสระ
   ๑) การออกเสียงสระเสียงยาวเป็นสระเสียงสั้นเมื่อเป็นคำที่ไม่เน้น
   ๒) การออกเสียงสระเสียงยาว ถึงแม้เป็นสระเสียงสั้น เมื่อเป็นคำที่ทำหน้าที่สำคัญในประโยค

 


   การออกเสียงวรรณยุกต์
   เสียงวรรณยุกต์ของไทยทั้ง ๕ เสียง สามารถจัดเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
   ๑) วรรณยุกต์ระดับ จะมีระดับเสียงคงที่ตลอดพยางค์
   ๒) วรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ ขณะเปล่งเสียงจากต้นพยางค์สู่ท้ายพยางค์ระดับเสียงจะมีการเปลี่ยนแปลง

 


   การลงเสียงหนักเบา


   ๑) คำสองพยางค์ นอกจากคำซ้อนที่มักจะลงเสียงหนักทั้งสองพยางค์แล้ว คำชนิดอื่นมักจะลงเสียงหนักที่พยางค์หลัง ไม่ว่าจะมีส่วนประกอบของพยางค์เป็นอย่างไรก็ตาม

 

   ๒) คำสามพยางค์ สามารถลงเสียงหนักเบาได้ ๔ รูปแบบ คือ
       – ลงเสียงหนักเฉพาะพยางค์ที่ ๓
       – ลงเสียงหนักเฉพาะพยางค์ที่ ๒ และ ๓
       – ลงเสียงหนักเฉพาะพยางค์ที่ ๑ และ ๓
       – ลงเสียงหนักเฉพาะพยางค์ที่ ๓ หรือ ลงเสียงหนักเฉพาะพยางค์ที่ ๑ และ ๓ ก็ได้


   ๓) คำสี่พยางค์ สามารถลงเสียงหนักเบาได้ ๖ รูปแบบ คือ
       – ลงเสียงหนักเฉพาะพยางค์ที่ ๔
       – ลงเสียงหนักเฉพาะพยางค์ที่ ๒ และ ๔
       – ลงเสียงหนักเฉพาะพยางค์ที่ ๑ และ ๔
       – ลงเสียงหนักเฉพาะพยางค์ที่ ๓ และ ๔
       – ลงเสียงหนักเฉพาะพยางค์ที่ ๑ ๒ และ ๔
       – ลงเสียงหนักเฉพาะพยางค์ที่ ๑ ๓ และ ๔
   ยกเว้นคำบางคำ เช่น อคติ จะลงเสียงหนักพยางค์ที่ ๑ และ คณบดี จะลงเสียงหนักพยางค์ที่ ๒


   ๔) คำหลายพยางค์ มักลงเสียงหนักที่พยางค์สุดท้าย


   ๕) คำที่ทำหน้าที่หลักของประโยค มักจะลงเสียงหนัก ได้แก่ คำนาม คำกริยา หรือคำเน้น ส่วนคำสรรพนาม และคำเชื่อม มักจะไม่ลงเสียงหนัก


   ๖) ลงเสียงหนักตรงคำที่ต้องการแสดงเจตนาเป็นพิเศษ การลงเสียงหนักเบาไม่มีนัยสำคัญต่อความหมายในระดับคำ แต่จะมีนัยสำคัญต่อความหมายของประโยคหรือข้อความทั้งหมด

 


   การออกเสียงคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต


   ๑) การออกเสียงสระแต่ละพยางค์
         (๑) คำเรียงพยางค์ในภาษาเดิม ออกเสียงพยัญชนะตัวสุดท้ายเป็นตัวสะกด
         (๒) คำเรียงพยางค์ที่มีตัว ร ตามพยัญชนะต้น หรือตัว ร เป็นพยัญชนะสุดท้าย หากตัว ร ไม่มีรูปสระกำกับ พยัญชนะด้านหน้าจะออกเสียงสระออ
         (๓) คำที่พยัญชนะต้นเป็น บ สามารถออกเสียงสระออ โดยไม่มีตัว ร อยู่ด้านหลังก็ได้


   ๒) การออกเสียงสระอะท้ายตัวสะกด
         (๑) คำที่มีตัวสะกดเป็นพยัญชนะวรรค มักจะไม่ออกเสียงสระอะ เมื่อมีตัวตามตัวสะกดเป็นพยัญชนะวรรคหรือ ศ ษ ส
         (๒) คำที่สะกดด้วยพยัญชนะท้ายวรรค หรือพยัญชนะนาสิก ได้แก่ ง ญ ณ น มและมี ย ร ล ว เป็นตัวตาม จะไม่ออกเสียงสระอะ
         (๓) คำที่สะกดด้วยพยัญชนะวรรค และมี ย ร ล ว เป็นตัวตาม มักจะออกเสียงสระอะ ไม่เต็มมาตรา
         (๔) คำที่มี ย ร ล ว ศ ษ ส เป็นตัวสะกดและมีพยัญชนะตัวอื่นเป็นตัวตาม มักจะออกเสียงสระอะ ไม่เต็มมาตรา
         (๕) คำที่มีตัวสะกดและตัวตามตัวสะกดเป็นพยัญชนะเศษวรรค และเป็นอักษรซ้ำไม่ออกเสียงสระอะ


   ๓) การออกเสียงพยางค์ท้ายคำ
         (๑) คำเดิมเป็นคำเรียงพยางค์ตั้งแต่สองพยางค์ขึ้นไป พยางค์ท้ายประสมด้วยสระอิหรือสระอุ เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย เสียงพยัญชนะต้นของพยางค์ท้ายจะกลายมาเป็นเสียงตัวสะกดของพยางค์หน้า และไม่ออกเสียงสระที่กำกับอยู่
         (๒) คำเดิมไม่ใช่คำพยางค์เรียง ที่พยางค์ต้นมี ฏ ฑ ต เป็นตัวสะกด ส่วนพยางค์หลังประสมด้วยสระอิ เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย เสียงพยัญชนะต้นของพยางค์ท้ายจะกลายมาเป็นเสียงตัวสะกดของพยางค์หน้า และออกเสียงสระอิที่กำกับอยู่


   ๔) การออกเสียงคำสมาส โดยเป็นคำภาษาบาลีและสันสกฤตตั้งแต่สองคำขึ้นไปที่นำมารวมกัน แล้วเกิดเป็นคำใหม่ที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับคำเดิม มีหลักการออกเสียงดังนี้
         (๑) คำสมาสส่วนมากออกเสียงสระที่พยางค์ท้ายของคำหน้าเพื่อให้ต่อเนื่องกับคำหลัง หากว่าไม่มีรูปสระให้ออกเสียงสระอะ
         (๒) คำสมาสบางคำไม่ออกเสียงสระที่พยางค์ท้ายของคำหน้า
         (๓) คำสมาสบางคำออกเสียงพยางค์ท้ายของคำหน้าแบบเรียงพยางค์หรือเป็นตัวสะกดก็ได้
         (๔) คำสมาสบางคำออกเสียงพยางค์ท้ายของคำหน้าแบบเรียงพยางค์ บางคำออกเสียงแบบเป็นตัวสะกด เช่นโลกวิทู ออกเสียง โล-กะ-วิ-ทู โลกธรรม ออกเสียง โลก-กะ-ทำ
         (๕) คำสมาสบางคำออกเสียงสระที่พยางค์ท้ายของคำหน้าหรือไม่ออกก็ได้
         (๖) คำบางคำไม่ใช่คำสมาส แต่ออกเสียงสระที่พยางค์ท้ายของคำหน้าอย่างคำสมาส


   ๕) การออกเสียงคำอย่างอักษรนำ
         (๑) คำบาลีสันสกฤตเดิมเป็นคำเรียงพยางค์ เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย บางครั้งออกเสียงอย่างอักษรนำ บางครั้งไม่ออกเสียงอย่างอักษรนำ
         (๒) คำบาลีสันสกฤตเดิมเป็นคำเรียงพยางค์ เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยก็ออกเสียงอย่างอักษรนำ
         (๓) คำบาลีสันสกฤตซึ่งไม่มีรูปคำหรืออักษรนำ แต่เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยก็ออกเสียงอย่างอักษรนำ
         (๔) คำบาลีสันสกฤตบางคำนำมาใช้ในภาษาไทยออกเสียงเรียงพยางค์แต่มักออกเสียงผิดเป็นอักษรนำ

 


   การออกเสียงคำแผลง
   เมื่อแผลงคำแล้วจะเกิดเป็นพยางค์ใหม่ หากคำเดิมเป็นอักษรควบหรืออักษรนำพยางค์หลังของคำใหม่ที่ได้จะออกเสียงวรรณยุกต์ตามคำเดิม
   ถ้าคำเดิมไม่ใช่อักษรควบหรืออักษรนำ เมื่อแผลงแล้วพยางค์หลังของคำใหม่จะไม่ออกเสียงวรรณยุกต์ตามคำเดิม



การสะกดคำ
   การใช้พยัญชนะ
   ๑) การแบ่งพยัญชนะ แบ่งตามรูปพยัญชนะได้ ๓ พวก คือ
       (๑) พยัญชนะกลาง ใช้ได้กับคำที่มาจากทุกภาษา มี ๒๑ รูป คือ
            ก ข ค ง จ ฉ ช ต ถ ท น ป ผ พ ม ย ร ล ว ส ห
       (๒) พยัญชนะเดิม ใช้ได้กับคำไทยแท้บางคำ และคำภาษาบาลีสันสกฤต มี ๑๓ รูป คือ
            ฆ ฌ ญ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ธ ภ ศ ษ ฬ
       (๓) พยัญชนะเติม ส่วนมากใช้กับคำไทยแท้ สามารถใช้กับคำภาษาบาลีสันสกฤตบางคำ และใช้ได้กับคำภาษาอื่น ๆ มี ๑๐ รูป คือ
            ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ ฮ
   ๒) ประโยชน์จากการแบ่งพยัญชนะ สามารถนำมาใช้ในการสะกดคำได้


   คำที่ประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์
   คำที่ประวิสรรชนีย์ คือ คำที่มีรูปสระอะวางอยู่หลังพยัญชนะ แต่บางคำไม่มีรูปสระอะ แต่ออกเสียงเหมือนมีสระอะ เรียกว่า คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์



   การใช้  


   ๑) การใช้  
       (๑) คำไทยแท้
       (๒) คำที่แผลงมาจากภาษาอื่น
       (๓) คำภาษาเขมรที่ทำคำกริยาให้เป็นคำนาม หรือทำคำกริยาให้มีความหมายในเชิง “ทำให้” เรียกว่าการลงอาคม
       (๔) คำภาษาอื่น ๆ

 

   ๒) การใช้  
       (๑) คำภาษาบาลีสันสกฤตที่มีพยัญชนะตามตัวสะกดเป็นพยัญชนะวรรค ปะ (ได้แก่ บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม)
       (๒) คำภาษาบาลีสันสกฤตที่เกิดจากการสนธิคำนฤคหิตกับพยัญชนะวรรค ปะ โดยมี ม เป็นนาสิกยะ
       (๓) คำภาษาอังกฤษบางคำ

 

   ๓) การใช้ -กรรม
       ใช้เฉพาะกับคำภาษาสันสกฤตที่ประสมอยู่กับ “รฺม” 

 

   ๔) การใช้ ไ-
       (๑) คำไทยแท้ทุกคำ
       (๒) คำภาษาเขมร
       (๓) คำภาษาสันสกฤต
       (๔) คำภาษาบาลีสันสกฤตที่แผลงมาจากรูปสระอิ สระอี สระเอ
       (๕) คำที่มาจากภาษาอื่น ๆ ทั้งหมด

 


   ๕) การใช้ ใ-
       ใช้กับคำไทยแท้ ๒๐ คำเท่านั้น ได้แก่ ใกล้ ใคร ใคร่ ใจ ใช่ ใช้ ใด ใต้ ใน ใบ ใบ้ ใฝ่ ใย สะใภ้ ใส ใส่ ให้ ใหญ่ ใหม่ หลงใหล

 

   ๖) การใช้ 
       
ใช้กับคำบาลีสันสกฤตที่ท้ายคำเดิมมี ย อ่านออกเสียงแบบเรียงพยางค์ เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย ย จึงกลายมาเป็นตัวสะกด

 

การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต 
   ใช้กำกับพยัญชนะที่ไม่ต้องการให้ออกเสียง มีหลักการใช้ดังนี้
   ๑) ใช้กับคำภาษาบาลีสันสกฤต และคำภาษาอังกฤษ
   ๒) ตัวการันต์อาจเป็นพยัญชนะตัวเดียว หรืออาจมีพยัญชนะมากกว่าหนึ่งตัว
   ๓) ตัวการันต์บางตัวสามารถวางไว้กลางคำได้
   ๔) ตัวการันต์อาจมีรูปสระกำกับอยู่
   ๕) คำที่พยัญชนะสะกดมี ร เป็นพยัญชนะตาม จะไม่ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาต
   ๖) คำที่พยัญชนะสะกดเป็นคำควบ ร สามารถใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตได้

 


คำพ้องเสียง
   คำพ้องเสียง คือ คำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่มีความหมายไม่เหมือนกัน บางคำสะกดเหมือนกัน บางคำสะกดไม่เหมือนกัน

 


คำยืมและคำทับศัพท์
   เรานิยมยืมคำมาจากภาษาอื่น เพื่อทำให้ภาษาไทยมีคำใช้มากขึ้น โดยเราอาจนำคำที่ยืมมาเปลี่ยนรูป เปลี่ยนเสียง เปลี่ยนความหมาย หรือแปลเอาเฉพาะความหมาย แล้วจึงนำมาใช้ร่วมกับคำไทยที่มีอยู่แล้ว ทั้งนี้คำที่เรายืมมาแล้วไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลย จะเรียกว่า คำทับศัพท์



คำสำคัญ  การออกเสียงคำ การสะกดคำ คำพ้องเสียง คำยืม คำทับศัพท์

 



แหล่งที่มา : สำนักพิมพ์ วัฒนาพานิช www.wpp.co.th