ภาษาไทย ม. 1 เรื่อง ภาษาเพื่อการสื่อสาร
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 28K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

ผังมโนทัศน์การเรียนรู้ การสื่อสารของมนุษย์

 

การสื่อสารของมนุษย์

          วัจนภาษา = ภาษาถ้อยคำ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน

          อวัจนภาษา = ภาษาที่ไม่ใช่ถ้อยคำ เช่น ท่าทาง สัญลักษณ์ต่างๆ

 

องค์ประกอบของการสื่อสาร

 

องค์ประกอบของการสื่อสาร

 

การใช้ภาษาในการสื่อสาร

ระดับของภาษา

ระดับภาษา

โอกาส/สถานที่

ลักษณะภาษาที่ใช้

ทางการ

การกล่าวถวายพระพร การกล่าวในที่ประชุม จดหมายธุรกิจ หนังสือราชการ แถลงการณ์

สละสลวย ถูกต้องตามแบบแผน

เช่น ศีรษะ ถึงแก่กรรม พูดเท็จ

กึ่งทางการ

การบรรยายในห้องเรียน การเขียนข่าวหรือบทความ การแนะนำบุคคล การปราศรัย

ภาษาเขียน ภาษาสนทนาทั่วไปไม่สนิทสนมกันมาก เช่น หัว เสียชีวิต พูดปด

ไม่เป็นทางการ

ละคร นิทาน นวนิยาย ภาษาหนังสือพิมพ์ สารคดี จดหมายส่วนตัว บันทึกส่วนตัว

ภาษาปาก/ภาษาพูดในชีวิตประจำวันกับคนคุ้นเคย เช่น  หัว ตาย โกหก

 

ภาษาพูด ภาษาเขียน

          ในการเลือกใช้ภาษาควรคำนึงถึงความเหมาะสม ภาษาพูด ไม่เป็นทางการ ส่วนภาษาเขียน เป็นทางการ มีการเรียบเรียงขึ้นเป็นพิเศษซึ่งต่างจากภาษาพูด บางสำนวนหรือคำลงท้ายต่าง ๆ ในภาษาพูด เช่น กัน นี่ น่ะ สิ ละ อาจถูกตัดทิ้งเมื่อเรียบเรียงเป็นภาษาเขียน อีกทั้งภาษาเขียนต้องเขียนให้ถูกต้องตามพจนานุกรมในขณะที่ภาษาพูดอาจออกเสียงไม่ตรงกับรูปที่เขียน เช่น ฉัน (ออกเสียงเป็น ชั้น) หนึ่ง (ออกเสียงเป็น นึง)

 

สรุป

          การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ต้องรู้จักเลือกใช้คำหรือระดับของภาษา และสามารถผูกประโยคได้อย่างถูกต้องเหมาะสมทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน

 

คำสำคัญ   ระดับภาษา, ภาษาพูด, ภาษาเขียน

 

 

แหล่งที่มา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th