บทเรียนออนไลน์ วิชาภาษาไทย เรื่อง การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 12.9K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 

การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

 

 

ระดับของภาษา
     ภาษาแต่ละระดับจะให้ความสำคัญกับการเรียบเรียง กลวิธีในการนำเสนอ และถ้อยคำที่ใช้ในระดับที่ลดหลั่นกันไป ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับกาลเทศะ โอกาส สถานที่ บุคคล สื่อที่ใช้และเรื่องที่สนทนา
 

ระดับภาษา

โอกาส/สถานที่

ลักษณะภาษาที่ใช้

พิธีการ

งานพิธีต่าง ๆ กล่าวเปิดงาน กล่าวสุนทรพจน์

กล่าวปราศรัย กล่าวเปิดการประชุม

สละสลวย ถูกต้องตามแบบแผน

มีพิธีรีตองในการนำเสนอ

ทางการ

การบรรยาย การอภิปราย

 เขียนข้อความเสนอต่อสาธารณชน

สุภาพ กระชับ ชัดเจน อาจมีศัพท์

วิชาการปนอยู่ด้วย

กึ่งทางการ

การประชุมกลุ่ม การอภิปรายกลุ่ม

การบรรยายในชั้นเรียน ข่าว สื่อมวลชน

ภาษาที่โต้ตอบเพื่อแลกเปลี่ยนความ

คิดเห็น ลดความเป็นทางการลง

สนทนา

การพูดคุยเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน

การเขียนจดหมายหาเพื่อน

ภาษาสนทนาของคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่มี

ความคุ้นเคยกัน

กันเอง

การพูดกับคนในครอบครัว เพื่อนสนิท ญาติพี่น้อง

ภาษาพูดที่มีความเป็นกันเอง อาจมี

คำคะนองหรือภาษาถิ่นปนอยู่ด้วย



คำราชาศัพท์
     ความหมายและความสำคัญของคำราชาศัพท์
     คำราชาศัพท์ ใช้สำหรับสื่อสารในโอกาสต่าง ๆ โดยแบ่งบุคคล เป็น ๕ ระดับ คือ พระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง พระสงฆ์ และสุภาพชน การเลือกใช้คำให้เหมาะสมกับบุคคลแสดงออกถึงความยกย่องและความเคารพ ซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมอันดีงามของไทยที่ถูกสะท้อนผ่านคำราชาศัพท์
 

ที่มาของคำราชาศัพท์

จากคำไทยเดิม

จากคำที่มาจากภาษาอื่น

พระ + เครือญาติ ร่างกาย เครื่องใช้ 

เช่น พระเจ้าลูกเธอ พระเต้า พระที่นั่ง

ทรง + คำสามัญ = กริยาราชาศัพท์

เช่น ทรงถาม ทรงยืน ทรงช้าง ทรงขลุ่ย

* ทรง ไม่สามารถนำหน้าได้ทุกคำ

เช่น ไหว้ ต้องใช้ ทรงคม อ้วน ต้องใช้ ทรวงพ่วงพี

 

พระ + ร่างกาย เครื่องใช้ 

เช่น พระหัตถ์ พระเนตร พระจุฑามณี

พระ พระราช สมเด็จพระราช สมเด็จพระบรม-ราช + เครือญาติ (ตามลำดับความสูงศักดิ์)

เช่น พระชนนี พระราชชนนี สมเด็จพระราชชนนี สมเด็จพระบรมราชชนนี

พระ พระราช พระบรมราช + คำนาม = คำเรียกกริยา

เช่น พระดำรัส พระราชดำริ พระบรมราชโองการ

ทรง + คำกริยา = กริยาราชาศัพท์

เช่น ทรงดำเนิน ทรงพระดำเนิน



หลักเกณฑ์ทั่วไปในการกราบบังคมทูลพระเจ้าแผ่นดิน
 

เรื่องที่กราบบังคมทูล

คำกราบบังคมทูล

แนะนำตนเอง

ขอเดชะฝ่าละออกธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า...

(ออกชื่อ)...ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส กราบบังคมทูล

พระกรุณาทราบ ฝ่าละอองธุลีพระบาท พระราชอาญาไม่พ้นเกล้า

พ้นกระหม่อม ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

เรื่องธรรมดาทั่วไป

ข้าพระพุทธเจ้า.............พระพุทธเจ้าข้า

ความสบาย/รอดอันตราย

ขอเดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม

ความผิดพลาด

พระราชอาญาไม่พ้นเกล้าพ้นกระหม่อม

ขอความกรุณา

พระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม

ความอนุเคราะห์ที่ได้รับ

พระเดชพระคุณเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อม

ของหยาบ

ไม่ควรจะกราบบังคมทูลพระกรุณา

ให้พระองค์ทรงเลือก

การจะควรมิควรประการใดสุดแล้วแต่จำทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

ความเห็นของตน

เห็นด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม

สิ่งที่ทราบมา

ทราบเกล้ากราบกระหม่อมว่า

การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งถวาย

สนองพระมหากรุณาธิคุณ



คำราชาศัพท์ที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์
๑) นามราชาศัพท์
     บรม/ปรม (พระบรมมหาราช พระบรมราช พระบรม) + นามสามัญ ใช้กับสิ่งสำคัญมากของพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น เช่น พระปรมาภิไธย พระบรมราโชวาท
     พระราช + นามสามัญ และ พระ + นามสามัญ ใช้กับพระเจ้าแผ่นดิน/เจ้านายในตำแหน่งที่ลดหลั่นกันลงมา ถ้าคำนามนั้นเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ต้องใช้ พระ นำหน้า เช่น  เสื้อทรง เรือพระที่นั่ง รถที่นั่ง แต่หากไม่มีคำนามราชาศัพท์อยู่ก่อน ต้องสร้างราชาศัพท์จากคำนามเดิม โดยใช้ พระราช/พระ + คำนามบาลีสันสฤต หรือ คำนามภาษาอื่น ๆ + ราชาศัพท์คำใดคำหนึ่ง เช่น พระโทรทัศน์ แก้วน้ำเสวย

     นามสามัญ + หลวง/ต้น หลวง ใช้กับคน สัตว์ ของทั่วไป ต้น ใช้กับสัตว์และของชั้นดี
     ลักษณะนาม พระองค์ ใช้กับพระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ องค์ ใช้กับพระราชวงศ์ นามร่างกาย ของเสวย เครื่องใช้กษัตริย์

๒) กริยาราชาศัพท์
     ทรง + กริยาทั่วไป นามทั่วไป นามราชาศัพท์ เช่น ทรงสั่งสอน ทรงดนตรี ทรงพระประชวร แต่ถ้า มี เป็น นำหน้าราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ต้องใช้ ทรง เช่น เป็นพระราชโอรส มีพระราชดำรัส
     เสด็จ + กริยาทั่วไป นามราชาศัพท์ เช่น เสด็จไป เสด็จออก เสด็จพระราชสมภพ
     กริยาราชาศัพท์บางคำบัญญัติขึ้นโดยเฉพาะ เช่น กริ้ว ประชวร บรรทม นอกจากนี้บางคำยังประสมใช้ตามประเภทบุคคล เช่น สวรรคต สิ้นพระชนม์ มรณภาพ ถึงแก่อสัญกรรม ถึงแก่อนิจกรรม ล้วนหมายถึง ตาย ใช้กับบุคคลระดับชั้นต่าง ๆ


๓) สรรพนามราชาศัพท์
สรรพนามสำหรับบุคคลทั่วไป

ผู้ฟังหรือผู้กล่าวถึง

สรรพนามบุรุษที่ ๑

สรรพนามบุรุษที่ ๒

สรรพนามบุรุษที่ ๓

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระบรมราชินีนาถ

ข้าพระพุทธเจ้า

ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท

พระองค์

 

สมเด็จพระบรมราชินี

สมเด็จพระราชชนนี

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

สมเด็จพระบรมราชกุมารี

ข้าพระพุทธเจ้า

ใต้ฝ่าละอองพระบาท

พระองค์

 

สมเด็จเจ้าฟ้า

พระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า

ข้าพระพุทธเจ้า

ใต้ฝ่าพระบาท

พระองค์

 

พระเจ้าวรวงศ์เธอ(มิได้ทรงกรม)

พระอนุวงศ์ชั้นพระวรวงศ์เธอ (ทรงกรม)

(ชาย) เกล้ากระหม่อม

(หญิง) เกล้ากระหม่อมฉัน

ฝ่าพระบาท

ท่าน

พระอนุวงศ์ชั้นพระวรวงศ์เธอ (มิได้ทรงกรม)

พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า

(ชาย) กระหม่อม

(หญิง) หม่อมฉัน

ฝ่าพระบาท

ท่าน

 
 

สรรพนามสำหรับพระสงฆ์

ผู้ฟังหรือผู้กล่าวถึง

สรรพนามบุรุษที่ ๑

สรรพนามบุรุษที่ ๒

สรรพนามบุรุษที่ ๓

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

อาตมภาพ

สมเด็จบรมบพิตร

พระองค์

พระราชวงศ์ชั้นสูง

อาตมภาพ

พระราชสมภารเจ้า

พระองค์

พระราชวงศ์ชั้นรอง

อาตมภาพ

มหาบพิตร

ท่าน



๔) วิเศษณ์ราชาศัพท์ วิเศษณ์ขานรับ

ผู้พูด

ราชาศัพท์

ผู้ฟัง

ชาย

 

หญิง

พระพุทธเจ้าข้า พระพุทธเจ้าข้าขอรับ

พระพุธเจ้าข้าขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม

เพคะใส่เกล้าใส่กระหม่อม

พระเจ้าแผ่นดิน

ชาย

หญิง

พระพุทธเจ้าข้า พระพุทธเจ้าข้าขอรับ

เพคะกระหม่อม

พระราชวงศ์ชั้นสูง

ชาย

หญิง

กระหม่อม ขอรับกระหม่อม

เพคะ

พระราชวงศ์ชั้นอนุวงศ์

พระสงฆ์

ถวายพระพร ขอถวายพระพร เจริญพร

พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ สุภาพชน

 
 

ข้อสังเกตอื่น ๆ เกี่ยวกับการใช้คำราชาศัพท์

     ใช้ให้ถูกตามสำนวนไทย เช่น ถวายการต้อนรับ ควรใช้ รับเสด็จ ใช้ให้เหมาะสมระหว่างคำที่ใช้กับกษัตริย์ (ราชอาคันตุกะ ทรงขอบพระทัย) และสามัญชน (อาคันตุกะ ทรงขอบใจ) คำ ถวาย+นามธรรม ทูลเกล้าฯ ถวาย+ของเล็ก น้อมเกล้าฯ ถวาย+ของใหญ่


คำราชาศัพท์ที่ใช้สำหรับพระสงฆ์
๑) คำนาม ใช้เช่นเดียวกับคนทั่วไป มีคำเฉพาะ เช่น ผ้าไตร ผ้าอังสะ ตาลปัตร
๒) คำสรรพนาม

สรรพนามบุรุษที่ ๑

ผู้พูด

ผู้ฟัง

อาตมา

พระสงฆ์

บุคคลธรรมดาทั่วไปหรือผู้ที่มีตำแหน่งสูง

อาตมภาพ

พระสงฆ์

พระราชวงศ์ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป

เกล้ากระผม

พระสงฆ์

พระสงฆ์ที่ดำรงสมณศักดิ์สูงกว่า

ผม กระผม

พระสงฆ์

พระสงฆ์ด้วยกัน

ผม กระผม/ดิฉัน

บุคคลทั่วไป

พระสงฆ์ที่นับถือ

สรรพนามบุรุษที่ ๒

ผู้พูด

ผู้ฟัง

สมเด็จบรมบพิตร

พระสงฆ์

พระเจ้าแผ่นดิน

บพิตร

พระสงฆ์

พระราชวงศ์ชั้นรอง

คุณ โยม

พระสงฆ์

บุคคลทั่วไป บิดา มารดา ญาติผู้ใหญ่หรือผู้อาวุโส

พระคุณเจ้า

บุคคลทั่วไป

พระสงฆ์ที่ทรงสมณศักดิ์

พระคุณท่าน

บุคคลทั่วไป

พระราชาคณะชั้นรองลงมา

ท่าน คุณ

บุคคลทั่วไป

พระสงฆ์ทั่วไป

คำขานรับ

ผู้พูด

ผู้ฟัง

ขอถวายพระพร

พระสงฆ์

พระราชวงศ์

เจริญพร

พระสงฆ์

บุคคลทั่วไป

ครับ ขอรับ

พระสงฆ์

พระสงฆ์

ขอรับ/ค่ะ

บุคคลทั่วไป

พระสงฆ์



๓) คำกริยา เช่น ขอถวายพระพร เจริญพร นิมนต์
คำราชาศัพท์ที่ใช้สำหรับบุคคลทั่วไป
    คำราชาศัพท์ที่ใช้กับบุคคลทั่วไป คือ คำสุภาพ เพื่อแสดงถึงความให้เกียรติ จึงต้องใช้ให้เหมาะสมตามกาลเทศะ ด้วยคำที่รื่นหู ไม่ห้วน ไม่ชวนให้คิดถึงสิ่งไม่ดี และไม่เป็นคำผวนที่มีความหมายหยาบคาย


สรุป
พื้นฐานของการใช้ภาษาให้ถูกต้องตามระดับภาษา ต้องรู้และเข้าใจการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร เช่นระดับของภาษา ที่มาของคำราชาศัพท์ การใช้คำราชาศัพท์สำหรับพระราชา พระสงฆ์ และบุคคลทั่วไป

 

คำสำคัญ   ระดับภาษา   คำราชาศัพท์

 

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th