บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง หลักฐานทางประวัติศาสตร์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 126.6K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

 

1. ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือร่องรอยการกระทำของมนุษย์ในอดีตที่หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน
ประเภทของหลักฐานแบ่งตามลักษณะ
     1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือ หลักฐานที่เป็นตัวหนังสือ
     2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร คือ หลักฐานที่ไม่ได้เป็นตัวหนังสือ

 

หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

 

ประเภทของหลักฐานแบ่งตามความสำคัญ
1. หลักฐานชั้นต้น คือ หลักฐานที่มีอยู่ในสมัยที่เกิดเหตุการณ์ หรือหลักฐานที่เขียนหรือสร้างโดยผู้ร่วมเหตุการณ์

 

จดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3

 

2. หลักฐานชั้นรอง คือ หลักฐานที่เกิดขึ้นมาหลังจากเหตุการณ์นั้น เช่น อนุสาวรีย์ของบุคคลสำคัญ

 

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อนุสาวรีย์ชาวบ้านบางระจัน

 

ตำนานพระแก้วมรกต เป็นหลักฐานชั้นรอง

 

2. ตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
1. โบราณสถาน คือ สิ่งก่อสร้างที่มีอายุมากกว่า 100 ปีขึ้นไปไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ จัดเป็นหลักฐานชั้นต้น เช่น โบสถ์ วิหาร

 

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

 

2. โบราณวัตถุ คือ สิ่งของที่เคลื่อนย้ายได้ มีอายุมากกว่า 100 ปีขึ้นไป จัดเป็นหลักฐานชั้นต้น เช่น พระพุทธรูปเครื่องปั้นดินเผา

 

เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง

 

3. ศิลปกรรม บางส่วนจัดเป็นหลักฐานชั้นต้น และบางส่วนเป็นหลักฐานชั้นรอง ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาในการสร้าง เช่น พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5

 

พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5

 

4. ผู้รู้ในท้องถิ่น คือ บุคคลที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นมีความรู้เรื่องราวในอดีตของชุมชนคำบอกเล่าดังกล่าวจัดเป็นหลักฐานชั้นต้น เช่น พระสงฆ์

 

พระสงฆ์ ผู้รู้ในท้องถิ่น

 

5. เอกสารราชการ คือ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการด้านการจัดการปกครอง จัดเป็นหลักฐานชั้นต้น
6. ตำนาน เป็นเรื่องราวที่เล่าต่อ ๆ กันมาเป็นเวลานาน ภายหลังได้รวบรวมและบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จัดเป็นหลักฐานชั้นรอง

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th