บทเรียนออนไลน์ วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง สิ่งของเครื่องใช้ สร้างได้ไม่ยาก
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 11.8K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
 


การสร้างสิ่งของเครื่องใช้
ต้องอาศัยขั้นตอนของกระบวนการเทคโนโลยีเพื่อช่วยในการสร้าง



การสร้างสิ่งของเครื่องใช้ตามกระบวนการเทคโนโลยี

กระบวนการเทคโนโลยีมี 7 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ
ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล
ขั้นตอนที่ 3 การเลือกวิธีการแก้ปัญหา
ขั้นตอนที่ 4 การออกแบบและปฏิบัติ
ขั้นตอนที่ 5 การทดสอบ
ขั้นตอนที่ 6 การปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา
ขั้นตอนที่ 7 การประเมินผล

ตัวอย่างการสร้างสิ่งของเครื่องใช้ตามกระบวนการเทคโนโลยี
การสร้างชั้นวางของ
1. ต้องการทำชั้นวางของเพื่อวางหนังสือ
2. ชั้นวางของมีลักษณะหลากหลายรูปแบบและใช้วัสดุในการผลิตที่แตกต่างกัน 
1) ชั้นวางของรูปทรงสี่เหลี่ยมทำจากไม้ มีน้ำหนักเบา เหมาะสำหรับวางของใช้ที่มีน้ำหนักปานกลาง ข้อดีคือ ดูแลรักษาง่ายและมีความสวยงาม ข้อเสียคือ แมลงกัดกินเนื้อไม้ได้ง่าย ถ้าไม่ทาน้ำมันทาไม้
2) ชั้นวางของรูปทรงสี่เหลี่ยมทำจากกระดาษ มีน้ำหนักเบา เหมาะสำหรับวางของใช้ที่มีน้ำหนักเบา ข้อดีคือ สามารถดัดแปลงรูปร่างได้ง่ายและราคาถูก ข้อเสียคือ ไม่ทนต่อความชื้น ขาดง่าย
3) ชั้นวางของรูปทรงสี่เหลี่ยมทำจากสเตนเลส เหมาะสำหรับวางของใช้ที่มีน้ำหนักมาก ข้อดีคือ มีความแข็งแรงและทนทาน ข้อเสียคือ มีราคาแพง และเกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย
4) ชั้นวางของรูปทรงสี่เหลี่ยมทำจากพลาสติก เหมาะสำหรับวางของใช้ที่มีน้ำหนักปานกลาง ข้อดีคือ มีน้ำหนักเบา ประกอบชิ้นส่วนได้ง่าย และเคลื่อนย้ายสะดวก ข้อเสียคือ แตกหักง่าย 



3. ทำชั้นวางของโดยเลือกไม้ ซึ่งมีราคาถูก และทำได้ง่าย
4. การออกแบบชั้นวางของ มีขั้นตอนดังนี้
- ต้องการออกแบบชั้นวางของมีขนาด 3 ชั้น ทำจากไม้ มีความแข็งแรง รูปแบบทันสมัย และสวยงาม
- สร้างทางเลือกหรือออกแบบชิ้นงาน โดยออกแบบชิ้นงานไว้หลาย ๆ แบบ
- ตัดสินใจเลือกแบบที่ดีที่สุด พิจารณาข้อดีและข้อเสียของแต่ละแบบ
- พัฒนาปรับปรุงข้อบกพร่องของชิ้นงาน โดยนำแบบที่เลือกมาวางแผนการผลิต พร้อมทั้งพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขให้มีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น 



5. นำหนังสือมาวางบนชั้นวางของและสังเกตดูว่าเอียงหรือไม่
6. ถ้าเอียงหรือไม่เท่ากันอาจแก้ไขโดยประกอบใหม่อีกครั้ง หรือลดขนาดชั้น

การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งของเครื่องใช้
จำเป็นต้องมีการพัฒนาสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้มีประสิทธิภาพ
การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์
วิเคราะห์จุดมุ่งหมายของการออกแบบ นอกจากนี้ยังเป็นการวิเคราะห์วิธีการที่ทำให้ผลิตภัณฑ์นี้ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้



กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่

ปัญหาและสาเหตุที่พบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
1. ความรีบร้อนมากเกินไป
2. ขาดการศึกษาวิจัยตลาดอย่างละเอียด
3. การละเลยในช่วงแรกของกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
4. กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่มีคุณภาพต่ำ
5. ตลาดมีการแข่งขันสูง
6. ผลิตภัณฑ์ด้อยคุณภาพในสายตาของลูกค้า
7. ขาดแคลนทรัพยากร
8. ขาดระบบการบริหารที่มีประสิทธิผล

แนวทางการแก้ไข
1. หาข้อมูลเกี่ยวกับตลาดที่มีคุณภาพให้มากขึ้น
2. เพิ่มความระมัดระวังในการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์
3. การประเมินแนวความคิดเบื้องต้น การวิเคราะห์ทางการเงินและธุรกิจ
4. เพิ่มความรอบคอบในการวางแผนและดำเนินงานมากยิ่งขึ้น
5. ให้ข้อมูลที่เพียงพอแก่ผู้บริหารระดับสูง
6. ให้ความรู้ที่จำเป็นแก่ลูกค้า
7. วางแผนเพื่อเตรียมพร้อมรับการตอบโต้จากคู่แข่งขันทุกรูปแบบ
8. หมั่นตรวจสอบต้นทุน รายได้ และกำไรที่คาดหวังไว้อยู่เสมอ

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ประกอบด้วยกระบวนการทำงาน 3 ด้าน ดังนี้
1. กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
2. กระบวนการประเมินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
3. กระบวนการวางแผนการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่

ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ประสบผลสำเร็จผู้บริหารจะต้องสร้างสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรที่เหมาะสมเพื่อการกระตุ้นและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ โดยเปิดโอกาสให้พนักงานมีช่วงเวลาการทำงานที่ยืดหยุ่นได้ สนับสนุนให้พนักงานใช้ประโยชน์จากเวลาว่างในการทำงาน จัดตั้งทีมงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีสมาชิกมาจากหลากหลายหน้าที่
ก่อนจะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด ต้องผ่านกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างเป็นระบบ ดังนี้
1. ความจำเป็นหรือผลประโยชน์
2. รูปแบบ
3. เทคโนโลยี


เทคนิคในการสร้างแนวความคิดเพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
มีวิธีการดังนี้
1. การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากผลิตภัณฑ์เดิม
2. การวิเคราะห์คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์



3. เทคนิค SCAMPER กล่าวคือ มีการกำหนดหัวข้อที่จะถามและการเรียงลำดับคำถามที่แน่นอน
4. การเปลี่ยนมุมมอง
5. การเปลี่ยนแปลงสมมุติฐาน



ปัจจัยที่ทำให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ประสบผลสำเร็จ

1. ศึกษาวิจัยตลาดโดยละเอียด
2. การเปลี่ยนแปลงทางการตลาดที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
3. ผลิตภัณฑ์ใหม่จะต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิผล
4. การวางแผนการพัฒนาอย่างละเอียดรอบคอบก่อนดำเนินการ
5. ผู้บริหารสูงสุดให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
6. กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นกระบวนการที่มีคุณภาพดี
7. มีวิธีการประเมินผลความสำเร็จ และติดตามตรวจสอบผลการดำเนินโครงการ



แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th