บทเรียนออนไลน์ วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง ปลูกพืชถูกวิธีมีคุณค่าต่อชีวิต
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 14.7K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้



การปลูกพืชเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
การเกษตรแบบยั่งยืน
1. เกษตรทฤษฎีใหม่
มีหลักการคือ
1. เกษตรกรต้องเป็นเจ้าของที่ดินประมาณ 15 ไร่
2. มุ่งให้เกษตรกรมีความเพียงพอในการเลี้ยงตนเอง
3. สามารถผลิตข้าวได้เพียงพอตลอดทั้งปี
4. ใช้หลักเกณฑ์เฉลี่ยว่าต้องมีน้ำใช้ในฤดูแล้งประมาณ 1,000 ลบ.ม.ต่อไร่

ประโยชน์
1. ประชาชนพออยู่พอกิน
2. ช่วงฤดูแล้งไม่ต้องพึ่งพาชลประทาน
3. ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปี สามารถสร้างรายได้ให้ได้
4. กรณีที่เกิดอุทกภัยสามารถที่จะฟื้นตัวและช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง

2. เกษตรอินทรีย์
หลักการ -
หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในการผลิตและควบคุมกำจัดศัตรูพืช เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์
ประโยชน์ -
ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่ไม่มีสารพิษตกค้าง และมีราคาสูง

3. เกษตรธรรมชาติ
มีหลักการคือ
1. ปลูกพืชโดยไม่ไถพรวนดิน เนื่องจากธรรมชาติมีการชอนไชของสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆอยู่แล้ว
2. ไม่กำจัดวัชพืชเพราะมีประโยชน์ในแง่ของการคลุมดิน ลดการสูญเสียและการชะล้างของหน้าดิน
3. ใช้วิธีการดูแลรักษาพืชและปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้พืชเจริญเติบโต
4. ใช้วิธีการทางชีวภาพในการกำจัดศัตรูพืช เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน
ประโยชน์ - การฟื้นฟูความสมดุลของระบบนิเวศต่าง ๆ และลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอก เช่น ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยหมัก

4. วนเกษตร
ประโยชน์
1. ใช้ประโยชน์จากที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่ทรุดโทรมให้ดีขึ้น
2. ลดปัญหาการอพยพแรงงานจากชนบทเข้าสู่เมืองใหญ่ และคนในชนบทมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

5. เกษตรผสมผสาน
มีหลักการคือ
1. มีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้น โดยจะต้องทำในพื้นที่และเวลาเดียวกัน
2. เกิดการเกื้อกูลประโยชน์ระหว่างกิจกรรมการเกษตรต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากการใช้ธาตุอาหาร อากาศและพลังงานร่วมกัน
ประโยชน์
1. เกษตรกรได้ทำกิจกรรมหลากหลายและมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
2. มีอาหารบริโภคภายในครอบครัว และลดรายจ่ายภายในครอบครัว
3. ใช้ทรัพยากรในไร่อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
4. สภาพแวดล้อมและจิตใจของเกษตรกรดีขึ้น

การปลูกพืชเพื่อบริโภคและจำหน่าย
การปลูกผักสวนครัว
1. ปลูกผักสวนครัวที่มีคุณค่าทางอาหาร หรือใช้บริโภคเป็นประจำ
2. ปลูกที่ปลูกง่าย ไม่ยุ่งยาก ทนทานต่อโรคและแมลง
3. ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการปลูกผักสวนครัวหลาย ๆ ชนิดในแปลงเดียวกัน
การปลูกไม้ผล
- การเตรียมพื้นที่
- การดูแลรักษา
- การตัดแต่งกิ่ง
- การกำจัดวัชพืช
- การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
- การเก็บเกี่ยว

เทคโนโลยีเกี่ยวกับการปลูกพืช
การปลูกพืชโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ (Biological Technology)
คือ การนำสิ่งมีชีวิต ได้แก่ พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์มาทำให้เกิดการพัฒนา ซึ่งใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรพอนิกส์ (Hydroponics)
หรือเรียกว่า การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน เป็นเทคโนโลยีที่ใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับสภาพพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกพืช
การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรพอนิกส์ แบ่งเป็น –
การปลูกพืชในวัสดุปลูก (Substrate Culture) และ การปลูกพืชในสารละลาย (Water Culture)

 

 


ข้อดีและข้อเสียของการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรพอนิกส์
ข้อดี
1. ปลูกในพื้นที่ที่ดินมีสภาพไม่เหมาะสมกับการปลูกได้
2. ใช้น้ำและปุ๋ยน้อยกว่าการปลูกพืชโดยใช้ดิน
3. สามารถปลูกพืชได้ในปริมาณและความหนาแน่นสูง ปลูกได้ทันทีหลังเก็บเกี่ยว ทั้งยังปลูกได้ทุกฤดูกาลและทุกสภาพอากาศ
4. สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมในการปลูกพืชได้
5. ลดปัญหาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ข้อเสีย
1. ค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูงกว่าการปลูกพืชโดยใช้ดิน
2. เกษตรกรและผู้ปลูกต้องมีประสบการณ์ ความรู้ในการดูแลเอาใจใส่มากกว่าการปลูกพืชในดิน
3. การขัดข้องของกระแสไฟฟ้า การชำรุดของวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือ
4. หากจัดระบบไม่ดีจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคค่อนข้างสูง
5. ไม่สามารถใช้ปุ๋ยอินทรีย์ได้ ทำให้พืชขาดจุลินทรีย์บางชนิดที่อาศัยอยู่รอบ ๆ รากพืช


แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th/