บทเรียนออนไลน์ วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง คอมพิวเตอร์ช่วยงานเรา
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 8.7K views



ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้



  

 

1. การค้นหา รวบรวม และจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์
    การค้นหาและรวบรวมข้อมูล
        ขั้นตอนที่ 1 กำหนดวัตถุประสงค์และความต้องการของสิ่งที่น่าสนใจ
        ขั้นตอนที่ 2 กำหนดหัวข้อ
        ขั้นตอนที่ 3 เลือกแหล่งข้อมูล
        ขั้นตอนที่ 4 วางแผนปฏิบัติงาน
        ขั้นตอนที่ 5 จัดเตรียมอุปกรณ์
        ขั้นตอนที่ 6 ค้นหาและรวบรวมข้อมูล
        ขั้นตอนที่ 7 พิจารณา เปรียบเทียบ และตัดสินใจ
        ขั้นตอนที่ 8 สรุปและอ้างอิงแหล่งข้อมูล
        ขั้นตอนที่ 9 เก็บรักษาข้อมูลเพื่อให้พร้อมใช้งานต่อไป

 

  

 

     การจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์
    การจัดการพื้นที่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และการกำหนดไดรฟ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์
        1. การจัดการพื้นที่ในคอมพิวเตอร์ เป็นการจัดการพื้นที่เก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสก์ โดยแยกพื้นที่เป็นส่วน ๆ ที่เรียกว่า ไดรฟ์ แล้วตามด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษ
        2. การกำหนดไดรฟ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เป็นการกำหนดไดรฟ์ที่เพิ่มเติมจากฮาร์ดดิสก์ ดังนี้
          – ไดรฟ์เอ หมายถึง พื้นที่สำหรับติดตั้งเครื่องอ่านแผ่นดิสเกตต์
          – ไดรฟ์บี หมายถึง พื้นที่สำหรับติดตั้งเครื่องอ่านแผ่นดิสเกตต์แบบเก่า
          – ไดรฟ์ซี หมายถึง พื้นที่สำหรับบันทึกหรือดูข้อมูลในฮาร์ดดิสก์
          – ไดรฟ์ซีดีรอม หมายถึง พื้นที่สำหรับติดตั้งเครื่องอ่านแผ่นซีดี    
          – ไดรฟ์อื่น ๆ หมายถึง พื้นที่สำหรับติดตั้งอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่สามารถถอดเพื่อพกพาได้    
2. โปรแกรมประมวลคำ
    ความสามารถของโปรแกรมประมวลคำ
        – พิมพ์ได้หลายภาษาในเครื่องเดียว
        – สามารถลบและแก้ตัวอักษรที่พิมพ์ผิด
        – พิมพ์แทรกเพิ่มเติมและแก้ไขเนื้อหาในเอกสารได้
        – มีการตรวจสอบคำผิดและแก้ไขให้ถูกต้องได้โดยอัตโนมัติ
        – ประหยัดเวลาในการพิมพ์
        – มีรูปแบบตัวหนังสือที่หลากหลาย
        – สามารถบันทึกไฟล์ไปใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
    หลักการเลือกใช้โปรแกรมประมวลคำ
        – สามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมอื่น ๆ ได้
        – มีความน่าเชื่อถือ
        – ข้อบังคับ ลิขสิทธิ์ และค่าใช้จ่าย
        – ความสามารถตรงกับความต้องการของผู้ใช้
        – ความนิยม
        – ความสามารถของโปรแกรมอื่นๆที่ขายร่วมกับโปรแกรมประมวลคำ

         

 

3. การสร้างงานด้วยคอมพิวเตอร์
    การเรียกใช้โปรแกรมไมโครซอฟเวิร์ด
        วิธีที่ 1 เรียกใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟเวิร์ดจากไอคอน
          

 

        วิธีที่ 2 เรียกใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟเวิร์ดจากปุ่มสตาร์ท  หน้าต่างโปรแกรมไมโครซอฟเวิร์ด ประกอบด้วย
        – แถบเมนู คือ เมนูใช้สั่งการต่างๆ
        – ทาสก์เพน คือ เครื่องมืออำนวยความสะดวก
        – พื้นที่การใช้งาน
        – แถบเครื่องมือ คือ แถบที่ใช้รวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม
        – แถบสถานะ คือ ส่วนแสดงสถานะของงานที่ใช้อยู่
      

 

    การใช้งานโปรแกรมไมโครซอฟเวิร์ด
    การพิมพ์ตัวหนังสือหรือข้อความ ตัวหนังสือที่พิมพ์จะปรากฏอยู่หน้าเคอร์เซอร์ที่กระพริบอยู่

 

   

 

    การเปลี่ยนลักษณะตัวหนังสือหรือข้อความ ทำได้โดยคลิกให้เคอร์เซอร์อยู่หน้าตัวหนังสือที่จะเปลี่ยนแล้วกด Shift ค้างไว้จนถึงตัวหนังสือตัวสุดท้ายที่จะเปลี่ยน แล้วไปเลือกที่แถบเครื่องมือเพื่อเปลี่ยนลักษณะ

 

   

 

    รูปร่างอัตโนมัติ คลิกที่ปุ่มรูปร่างอัตโนมัติบนแถบเครื่องมือวาดภาพแล้วคลิกเลือกพื้นที่ที่จะสร้าง
    การสั่งพิมพ์เอกสาร ทำได้ 3 วิธี
        – คลิกที่แถบเมนู
        – ใช้คำสั่งลัด
        – กด Ctrl + P ที่แป้นพิมพ์
      

    

  

4. จริยธรรมในการสร้างงานด้วยคอมพิวเตอร์
    จริยธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์ ต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ ได้แก่
        – ความเป็นส่วนตัว
        – ความถูกต้อง
        – ความเป็นเจ้าของ
        – การเข้าถึงข้อมูล
    กฎหมายเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์
        กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แบ่งเป็น 2 หมวด รวม 30 มาตรา โดยในหมวด 1 ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จะกล่าวถึงความผิดและบทลงโทษเกี่ยวกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่เป็นบุคคลทั่วไป ส่วนหมวดที่ 2 พนักงานเจ้าหน้าที่ จะกล่าวถึงอำนาจและหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใช้ในการสืบสวนและสอบสวนเกี่ยวกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติที่ได้กำหนดไว้ 



แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th