ตัวเลขนั้นสำคัญไฉน ตอน คุ้นเคยกับรหัส
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 13.6K views



ตัวเลขนั้นสำคัญไฉน ตอน คุ้นเคยกับรหัส

“ต้อม มาคุยเรื่องแผนไปกรุงเทพฯ ต่อ ตามที่พี่สัญญาไว้จ้ะ ดูบรรทัดที่ 1 และ 4 นับจากข้างบนซิ เห็นไหม จะเดินทางไปกรุงเทพฯ ด้วยรถขบวน 212 และเดินทางกลับด้วยรถขบวน 211”



“เห็นค่ะ พี่ตูมตาม แต่สงสัยว่าตัวเลขหลังขบวนหมายความว่าอะไรคะ”

“ที่จริง 212 และ 211 ไม่ใช่ตัวเลขที่ใช้บอกจำนวน แต่เป็นสัญลักษณ์ที่ได้จากการนำเลขโดดมาเขียนเรียงต่อกันเพื่อให้เป็นรหัสแสดงสิ่งที่เรากำหนดขึ้น”

คำศัพท์ : รหัส คือ เหตุลับ ความลับ ข้อความลับที่เข้ารหัส ระบบสัญลักษณ์ ที่ใช้ในเครื่องมือเครื่องใช้  เช่น  ตู้เซฟ

“พี่ตูมตามลองขยายความอีกนิดซิคะ”

“ได้ค่ะ ส่วนมากตัวเลขแต่ละตัวจะมีความหมาย เช่น ขบวน 212 นั้น  2 ตัวหน้าหมายถึงรถธรรมดารที่แวะจอดทุกสถานี หรือแทบทุกสถานี ถ้าเป็นรถเร็วหรือรถด่วนที่จอดน้อยกว่า จะขึ้นต้นด้วย 1”

“ขากลับขึ้นขบวนสองร้อยสิบเอ็ด เราก็กลับรถธรรมดาด้วยใช่ไหมคะ”

“ใช่จ้ะ แต่เขาไม่อ่านอย่างที่ต้อมอ่านหรอก ถ้าเป็นรหัส จะอ่านตัวเลขเรียงลำดับแยกเป็นตัวๆ เช่น ขบวนจากนครสวรรค์ไปกรุงเทพฯ อ่านว่า ขบวน สองหนึ่งสองก”

“เหรอคะ อย่างนั้นขบวนรถจากกรุงเทพฯถึงนครสวรรค์ ก็อ่านขบวนสองหนึ่งหนึ่ง ใช่ไหมคะ”

“ถูกต้องจ้ะ”
 


“เอ สงสัยว่า มีรหัสอื่น ๆ อีกไหมคะ”

“มีซิจ้ะ มีมากด้วย ต้อมเคยสังเกตซองจดหมายที่ส่งมาที่บ้านเราไหม ว่ามีตัวเลขอะไรบ้าง”

“ไม่ได้สังเกตค่ะ”

“ต้อมไปขอยืมคุณแม่มาดูซิจ้ะ”

“เห็นเลขในช่องสี่เหลี่ยมไหม ดูซิว่ามีกี่ตัว”

“เห็นค่ะ มี 5 ตัว เป็นอะไรคะ”

“รหัสไปรษณีย์ แสดงว่าเป็นจังหวัด อำเภอ อะไร จ้ะ”

“บ้านเลขที่เป็นรัหสด้วยใช่ไหมคะ”

“ใช่จ้ะ ต้อมเก่งมาก ลองนึกอย่างอื่นดูซิ”

“ต้อมนึกออกแล้วค่ะ เบอร์โทรศัพท์ก็เป็นรหัส”

“ยอดเลย แล้วจำได้ไหมว่าโทรศัพท์บ้านเรามีเลขกี่ตัว”

“จำได้ว่ามี 6 ตัวค่ะ”

“จ้ะ เบอร์โทรศัพท์ทุกจังหวัดยกเว้นกรุงเทพฯ เคยมีตัวเลข 6 ตัว ส่วนกรุงเทพฯ มี 7 ตัว”

“เอ เวลาคุณพ่อโทรศัพท์ไปหาคุณปู่ กด 02 ก่อนกดเบอร์คุณปู่”

“ต้อมช่างสังเกตดีจัง  02 เขาเรียกว่ารหัสพื้นที่หรือเราเคยเรียกกันว่ารหัสทางไกลจ้ะ แต่ก่อนนี้เวลาคุณพ่อหรือใคร ๆ ก็ตามที่อยู่นอกพื้นที่ 02 จะโทรศัพท์ไปกรุงเทพฯ ต้องกดรหัส 02 ก่อน และเวลาคุณปู่หรือคนในจังหวัดอื่น ๆ จะโทรศัพท์มาบ้านเรา ต้องกดรหัสพื้นที่ของจังหวัดนครสวรรค์ก่อน”

“รหัสพื้นที่ของนครสวรรค์คืออะไรคะ”

“056 จ้ะ”

“เวลาคุณปู่โทรศัพท์มาบ้านเรา ก็ต้องกด 056 235061 ใช่ไหมคะ”

“ใช่จ้ะ ไม่ว่าใครจะโทรศัพท์มาบ้านเราก็ต้องกด 056 235061”

“ต้อม ตูมตาม กำลังคุยกันเรื่องอะไรจ้ะ”

“เรื่องโทรศัพท์นี่ตั๊ก”

“เหรอ ตั๊กกำลังสงสัยว่า จะโทรศัพท์ไปหาเพื่อนที่ชัยนาทอย่างไร ต้องกดรหัสพื้นที่ไหม”

“อ๋อ ไม่ยาก เราต้องไปเปิดสมุดโทรศัพท์ดูว่าชัยนาทใช้รหัสพื้นที่อะไร แล้วกดรหัสพื้นที่ก่อน แล้วตามด้วยหมายเลขโทรศัพท์บ้านเพื่อน”

“ทำไมตูมตามรู้ล่ะ”

“ผมก็อ่านในสมุดโทรศัพท์และเอกสารประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ นะซิ เขาบอกเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับโทรศัพท์ไว้หลายอย่าง เช่น วิธีใช้ รหัสพื้นที่ อัตราค่าโทรศัพท์ บริการต่าง ๆ”

“จริงด้วย ตั๊กลืมไป วันหลังต้องอ่านให้ละเอียด จะได้รู้เรื่องมากขึ้น”

“ผมขอสนับสนุนความคิดคุณ เวลาซื้อของก็เหมือนกัน ต้องอ่านข้อความที่กล่อง หรือแผ่นปลิว หรือคู่มือ ที่มีมากับของนั้น ๆ ให้ละเอียด จะได้รู้จักสิ่งของนั้นอย่างดี และใช้ถูกต้อง” น้องต้อมตอบคำถามของพี่ตูมตามได้ไหมเอ่ย นี่จ้ะคำถาม



“ต้อมทำเสร็จแล้ว ข้อ 1 ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 เป็นรหัสค่ะ เมื่อกี๊ที่ต้อมหายไป ต้อมไปถามพี่ติ๊กว่ามีรหัสอะไรอีก พี่ติ๊กบอกให้รีบตอบ นึกออกแค่นี้ คือ เลขประจำตัวนักเรียน เลขที่บัตรประชาชน เลขที่สมุดฝากเงินธนาคาร”

“ดีมากจ้ะ ถ้าต้อมสังเกตตามถนน อ่านหนังสือ ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ ต้อมอาจพบรหัสอีกมากมาย”

“พี่ตั๊กจะบอกเพิ่มเรื่องการใช้ตัวเลขนะจ๊ะ รองเท้า เสื้อ กางเกง กระโปรงสำเร็จรูป บางร้านจะมีตัวเลขที่เป็นเบอร์ติดไว้”

“จริงด้วยค่ะ ต้อมจำได้แล้ว รองเท้ามีตัวเลขติดอยู่ที่พื้นรองเท้าตรงส้นเท้า”
ตูมตามเล่าว่าไปเที่ยวตามร้านต่างๆ ได้ยินคนซื้อคนขายพูดกัน จึงรู้ว่าสีทาบ้านก็มีเบอร์เพราะว่าเรียกชื่อสีไม่ค่อยตรงกัน และสีมีมากมายใกล้เคียงกัน จึงมีตัวอย่างสีและมีเบอร์กำกับ ตะปูก็มีเบอร์บอกขนาด

“พี่ตูมตามคะ ต้อมนึกออกแล้ว ส้มก็มีเบอร์ วันนั้นไปตลาด ได้ยินมี่ค้าบอกว่าส้มเบอร์ 1 เบอร์ 0 ค่ะ” ต้อมตอบอย่างตื่นเต้น

“ใช่จ้ะ พี่ตั๊กก็นึกออกเหมือนกัน เบอร์ของส้มก็บอกขนาดของลูกส้ม ส้มเบอร์ 1 จำนวน 8-9 ผลจะหนังประมาณ 1 กิโลกรัม”

“ถ้าเรารู้จำนวนส้มที่ต้อง เราก็ประมาณได้ซคะว่าต้องซื้อสมกี่กิโลกรัม”

“ถูกต้องจ้ะ ทำให้วางแผนการซื้อและคิดเงินที่จะใชอย่างคร่าว ๆ ได้”

“วันนี้ต้อมเหนื่อยแล้วค่ะ ขอบคุณพี่ตูมตาม พี่ตั๊กค่ะ” ทั้งสามชวนกันไปหาคุณพ่อ เพื่อถามว่าจะให้ช่วยทำอะไรในสวนบ้างไหม


ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน