ลักษณะทางกายภาพเชิงภูมิศาสตร์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 35.3K views



ลักษณะทางกายภาพเชิงภูมิศาสตร์ ตอนที่ 1
ลักษณะทางกายภาพเชิงภูมิศาสตร์ ตอนที่ 2

ลักษณะทางกายภาพเชิงภูมิศาสตร์

      

       แผนที่ คือ รูปภาพอย่างง่ายซึ่งจำลองบริเวณบริเวณหนึ่ง และมีการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ เช่น วัตถุ หรือบริเวณย่อยๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้น แผนที่มักเป็นรูปสองมิติซึ่งแสดงระยะห่างระหว่างจุดสองจุดในบริเวณหนึ่งๆ อย่างถูกต้องตามหลักเรขาคณิต ยกตัวอย่างเช่น แผนที่ทางภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ เรายังสามารถวาดแผนที่แสดงคุณสมบัติของบริเวณต่างๆ บนพื้นโลก เช่น ความหนาแน่นของประชากร ความสูง เป็นต้น หรือของบริเวณอื่นๆ อาทิ สมองของมนุษย์ ได้อีกด้วยแผนที่สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ตามลักษณะการแสดงผล

1. แผนที่กายภาพ เป็นแผนที่แสดงลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นหลัก

2.แผนที่รัฐกิจ เป็นแผนที่เน้นการแสดงเขตการปกครองเป็นหลัก

3. แผนที่เศรษฐกิจ แสดงเขตอุตสาหกรรม การเกษตร การประมง และทรัพยากรธรรมชาติ

4.แผนที่เฉพาะกิจ หรือ แผนที่เฉพาะเรื่อง แสดงที่ตั้งของสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรือกลุ่มใดเป็นการเฉพาะ เช่นแผนที่แสดงสถานที่ท่องเที่ยว แผนที่แสดงที่ตั้งบริษัท-ห้าง-ร้าน  


ลักษณะทางกายภาพ คือ สิ่งที่อยู่รอบตัวเราที่เกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติลักษณะทางกายภาพเชิงภูมิศาสตร์  มีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้       

           1.  ภูมิประเทศ

           ภูมิประเทศ หมายถึง ลักษณะของพื้นที่ในแต่ละจังหวัด ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น เป็นภูเขาที่ราบสูง ที่ราบลุ่มที่ราบชายฝั่งทะเลสิ่งที่เราต้องศึกษา เช่น ความกว้างความยาวความลาดชันและความสูงพื้นที่  เป็นต้น การศึกษาเกี่ยวกับ ภูมิประเทศ สิ่งที่ต้องใช้ในการสำรวจ สังเกต ตรวจ วัด 

           2.  ภูมิอากาศ

           ภูมิอากาศ หมายถึง ลักษณะทั่วไปของสภาพอากาศ ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีภูมิอากาศแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและปัจจัยอื่น ๆ ด้วย

           3.  ภูมิพฤกษ์
         ภูมิพฤกษ์ หมายถึง ลักษณะพืชพันธ์ป่าไม้ชนิดตาง ๆ ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะพืชพรรณแตกต่างกัน เช่น ถ้าเราอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ลักษณะป่าไม้จะเป็นป่าเบญจพรรณ แต่ถ้าจังหวัดของเราอยู่ทางภาคใต้ลักษณะป่าไม้จะเป็นป่าดงดิบและในพื้นที่ที่อยู่ตามริมฝั่งทะเลจะพบป่าชายเลนด้วย ทั้งนี้ลักษณะของภูมิพฤกษ์จะขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ และภูมิอากาศ          

           4.  ภูมิอุทก
    ภูมิอุทก หมายถึง แหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น ห้วย หนอง คลอง แม่น้ำ ทะเล เป็นต้น แหล่งน้ำในแต่ละพื้นที่ขึ้นอยู่กับสภาพทางภูมิศาสตร์ เช่น จังหวดทางภาคเหนือมีป่าไม้มากจึงมีแหล่งต้นน้ำลำธารสมบูรณ์ จังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีป่าไม้น้อย พื้นดินเป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ แหล่งน้ำและปริมาณน้ำจึงมีน้อย                             

       5. ภูมิปฐพี

       ภูมิปฐพี หมายถึง ลักษณะหินและแร่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นโครงสร้างของเปลือกโลก การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก เช่นจังหวัดทางภาคเหนือบางจังหวัดเป็นแหล่งแร่สำคัญเช่น ถ่านหินลิกไนต์ ดินขาว ฟลูออไรต์ จังหวัดทางภาคใต้บางจังหวัดเป็นแหล่งแร่สำคัญ เช่น แร่ดีบุก แร่ยิปซัม ก๊าซธรรมชาติ                      

               6.  ภูมิธรณี

         ภูมิธรณี หมายถึง ลักษณะดิน เช่น ชนิดของดิน สมบัติของดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งดินแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน เช่น จังหวัดทางภาคเหนือดินส่วนใหญ่มีความสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ เนื่องจากภูมิประเทศเป็นภูเขาสูง จังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย จึงไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ จังหวัดในภาคกลาง ดินส่วนใหญ่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นดินตะกอนธารน้ำ ภาคกลางจึงเป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญของประเทศ