Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

รวมเรื่องน่ารู้ของ กฐิน

Posted By มหัทธโน | 22 ก.ย. 63
17,961 Views

  Favorite

กฐิน คืออะไร 

เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้

 

การทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน

จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น

 

โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ และอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทรงคุณที่มีจีวรชำรุด

ประเพณีการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนไทยมีมาช้านาน โดยมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ โดยการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์จัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญประจำปี

 

ในปัจจุบันถวายผ้ากฐินในแง่การสนับสนุนผ้าไตรจีวรเพื่อใช้ในสังฆกรรมสำคัญของคณะสงฆ์ได้ถูกลดความสำคัญลงไป แต่กลับให้ความสำคัญกับบริวารของกฐินทานแทน เช่น เงิน หรือวัตถุสิ่งของ เพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาถาวรวัตถุและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดเป็นสังฆทานอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน

 

ประเภทของกฐิน 

ในการทอดกฐินนั้น มีกฐิน 3 ประเภท
ก. จุลกฐิน (กฐินแล่น) คือ กฐินที่มีการเตรียมและการทอดกฐินเสร็จภายใจ 24 ชั่วโมง
ข. มหากฐิน
ค. กฐินตกค้าง คำว่า "กฐินตกค้าง" คือวัดซึ่งพระสงฆ์จำพรรษาและปวารณาแล้ว ไม่มีใครจองกฐิน

 

ที่มาภาพ : https://bit.ly/30eZJiS


พิธีทำบุญทอดกฐิน 

เจ้าภาพจะมีการจองวัดและกำหนดวันทอดล่วงหน้า เตรียมผ้าไตร จีวร พร้อมอัฐบริขาร ตลอดบริวารอื่น ๆ และเครื่องไทยทาน ก่อนนำกฐินไปทอดมักมีการคบงัน วันรุ่งขึ้นก็เคลื่อนขบวนไปสู่วัดที่ทอด เมื่อนำองค์กฐินไปถึงวัดจะมีการแห่เวียนประทักษิณรอบวัดหรือรอบพระอุโบสถสามรอบ จึงนำผ้ากฐินและเครื่องประกอบอื่น ๆ ไปถวายพระสงฆ์ที่โบสถ์หรือศาลาการเปรียญ เมื่อทำพิธีถวายผ้ากฐินและบริวารแด่พระสงฆ์ พระสงฆ์ทำพิธีรับแล้วเป็นเสร็จพิธีสามัคคี

 

มูลเหตุมีการทำบุญกฐิน สมัยพุทธกาล 

 พระภิกษุชาวเมืองปาฐา 30 รูป จะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร แต่จวนใกล้กำหนดเข้าพรรษาเสียก่อน จึงหยุดจำพรรษาที่เมืองสาเกต พอออกพรรษาแล้วก็รีบพากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทั้ง ๆ ที่ผ้าสบงจีวรเปื้อนเปรอะ เนื่องจากระยะทางไกลและฝน ผ้าสบงจีวรจึงเปียกน้ำและเปื้อนโคลน จะหาผ้าผลัดเปลี่ยนก็ไม่มี

 

พระพุทธเจ้าทรงเห็นความลำบากของพระภิกษุเช่นกัน จึงมีพุทธบัญญัติให้พระภิกษุแสวงหาผ้าและรับผ้ากฐินได้ตามกำหนด
พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ จากเดิมพระสงฆ์จะไปเก็บผ้าในป่าช้าที่ห่อศพมาทำความสะอาดและย้อมสี เพื่อนุ่งห่มเท่านั้น 

 

มารู้จักศัพท์เกี่ยวกับกฐิน


1 กฐินหลวง คือ กฐินที่กษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง มี16วัดในประเทศ

2 กฐินพระราชทาน คือ กฐินที่พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานผ้าไตร ให้หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนนำผ้าไตรจีวรของพระเจ้าอยู่หัว ไปถวายตามวัดพระอารามหลวง ซึ่งเป็นวัดที่พระเจ้าอยู่หัวทรงอุปถัมป์ มีอยู่300กว่าวัดทั่วประเทศ หรือบางกรณีที่ไม่ใช่วัดพระอารามหลวง แต่ทำเรื่องขอพระราชทานผ้าไตร แล้วท่านทรงอนุญาติ วัดนั้นได้ผ้าไตรพระราชทาน ก็จัดว่าเป็นกฐินพระราชทาน

3 กฐินราษฎร์ คือกฐินที่ชาวบ้านอย่างเราๆเป็นเจ้าภาพ บางคนต้องการเป็นเจ้าภาพคนเดียว 

4 กฐินสามัคคี คือทุกคนเป็นเจ้าภาพร่วมกัน

5 กฐินตกค้าง คือกฐินที่ทางวัดไม่มีเจ้าภาพกฐิน ทำให้วัดไม่มีใครไปถวายผ้าไตรจีวรหรือปัจจัย 

6 จุลกฐิน คือการปั่นฝ้าย ทอ ตัด เย็บ และถวายภายในวันเดียว ต้องใช้ความสามัคคีมาก เพื่อให้ทันถวายผ้ากฐินซึ่งมีเวลาเพียง1วัน

7 กฐินเดาะ คือการที่พระขอให้โยมมาเป็นเจ้าภาพกฐิน ซึ่งจริง ๆ พระเขาห้ามขอ ต้องให้โยมปวารนาเอง

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • มหัทธโน
  • 4 Followers
  • Follow