Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เมื่อไฟดับ ให้ทำ 3 อย่างนี้

Posted By sevenman | 11 ต.ค. 65
10,533 Views

  Favorite

เหตุการณ์ไฟดับเป็นเรื่องไม่คาดคิดที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เพราะมักกะเกิดขึ้นอย่างกระทันหัน ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทำอย่างไรดี เพื่อให้ไฟกลับมาใช้ได้อย่างเป็นปกติเร็วที่สุด วันนี้มีข้อแนะนำ 3 ข้อ จะมีอะไรบ้างมาดูกัน

 

 
หนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ไฟดับมักจะเกิดจากแรงลมในช่วงฝนตก โดยเฉพาะหน้าฝน ที่พัดพากิ่งไม้ให้ไปโดนสายไฟ หรืออาจเกิดเหตุรุนแรงถึงขั้นต้นไม้ล้มทับสายไฟฟ้า ส่งผลกระทบต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน สร้างความไม่สะดวกในการใช้ชีวิตไม่ว่าจะกลางวันหรือกลางคืน หลายคนมักจะรอนาน กว่าเจ้าหน้าที่จะเข้ามาจัดการได้ แต่ถ้าเรารู้เทคนิค 3 สิ่งที่ควรทำนี้แล้ว จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
 
 
ทุกครั้งที่ไฟดับ ให้เราแจ้งเหตุไฟฟ้าขัดข้อง หรือ ไฟดับ ได้ที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค PEA Call Center 1129 หรือ แอปพลิเคชัน PEA Smart Plus พร้อมแจ้ง 3 ชุดข้อมูลสำคัญดังนี้
 

1. หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า 12 หลัก

ซึ่งดูได้จากบิลค่าไฟฟ้า โดยในตัวเลขจะมีข้อมูลใกล้เคียงสถานที่เกิดเหตุ พิกัดที่อยู่อาศัย หน่วยงาน PEA ท้องที่ที่ควบคุมดูแล ทำให้เจ้าหน้าที่เข้าถึงพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว โดยควรบันทึกชุดตัวเลขไว้ในโทรศัพท์มือถือเพื่อความสะดวกเวลาต้องการใช้งาน

 

2. ข้อมูลผู้แจ้งเหตุ

ได้แก่ชื่อ เบอร์ติดต่อที่สะดวก เพื่อการประสานงานขอข้อมูลเพิ่มเติมระหว่างการเดินทาง รวมทั้งสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมอื่น ๆ เท่าที่จำเป็น

 

3. สาเหตุเบื้องต้นที่คาดการณ์ รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น

เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการประเมินของทีมช่างไฟฟ้า PEA ในการวางแผนปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่จะได้มีการเตรียมความพร้อมไว้ระดับหนึ่ง ก่อนที่จะมาถึงหน้างาน
 
 

 

สิ่งที่เจ้าหน้าที่หรือผู้เชี่ยวชาญจะทำการช่วยเหลือเราเมื่อเกิดเหตุขัดข้องนั้น จะเป็นไปตาม 4 ขั้นตอนปฏิบัติดังนี้

1. วางแผนการทำงาน
เมื่อตรวจพบความผิดปกติของการจ่ายกระแสไฟฟ้า หรือได้รับแจ้งจากผู้ใช้บริการ ทีมนายช่างไฟฟ้าจะเร่งวางแผนการทำงาน พร้อมเดินทางไปยังบริเวณที่เกิดเหตุขัดข้องโดยเร็ว
 
2. เร่งหาจุดขัดข้อง
บางครั้งเจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาสำรวจสายไฟฟ้ายาวหลายสิบกิโลเมตร เพื่อค้นหาจุดที่เกิดเหตุขัดข้องขึ้น
 
3. จัดการแก้ไข
ในกรณีที่เกิดความเสียหายไม่มากนัก ก็สามารถจัดการแก้ไขได้อย่างฉับไว แต่ในกรณีที่เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างต่าง ๆ อาทิ เสาไฟฟ้าล้ม/หัก ต้นไม้ล้มทับสายไฟ อาจต้องใช้ระยะเวลาที่เพิ่มมากขึ้น
 
4. จ่ายไฟปกติ
การเปิดให้กระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านจุดที่ดำเนินการซ่อมแซม พร้อมแจ้งผลของการปฏิบัติงานไปยังผู้ร้องเรียน พร้อมรีเช็คผลลัพธ์ของการทำงาน 
 
 
 
 
 

 

“เพราะไฟฟ้าคือชีวิต ต้องพร้อมรับทุกสถานการณ์” สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ PEA Call Center 1129 หรือ www.facebook.com/Provincial.Electricity.Authority และ www.pea.co.th

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • sevenman
  • 1 Followers
  • Follow