Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

วิธีการประเมินผลอย่างสร้างสรรค์ในห้องเรียน

Posted By Plook Teacher | 10 ก.ย. 62
10,210 Views

  Favorite

นรรัชต์  ฝันเชียร

             การประเมินผลถือเป็นหัวใจอย่างหนึ่งในการจัดการเรียนรู้ เพราะเป็นสิ่งที่วัดผู้เรียนว่ามีความเข้าใจและความสามารถเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้นี้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งการวัดและประเมินผลนั้นมีมากมายหลากหลายวิธี ซึ่งการเลือกใช้วิธีการได้อย่างเหมาะสมนั้นจำเป็นต้องพิจารณาจากเนื้อหาวิชา เช่นวิชาที่เน้นความรู้ความจำ ก็ควรวัดและผระเมินผลด้วยการทำข้อสอบหรือเขียนอธิบาย ในขณะที่วิชาที่เน้นการปฏิบัติก็ควรวัดและประเมินผลผู้เรียนจากผลงานที่เขาได้ทำ และนอกจากนี้อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพิจารณาคือเรื่องของวัยวุฒิ เพราะผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นล้วนมีพัฒนาการและทักษะที่ไม่เท่ากัน เราไม่อาจใช้การทำข้อสอบหลายตัวเลือกกับเด็กชั้นอนุบาลได้ และขณะเดียวกันการให้คำถามง่ายๆก็ดูจะไม่ใช่เรื่องท้าทายสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเลือกใช้วิธีวัดและประเมินผลให้เหมาะสม ซึ่งจะทำให้เราได้ข้อมูลที่เที่ยงตรงและอ้างอิงได้

 

             อย่างที่กล่าวในขั้นต้น การวัดและประเมินผลนั้น สามารถกระทำได้หลากหลายวิธี โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องวัดจากการทำข้อสอบเพียงอย่างเดียว และจากบทความบนเว็บไซต์ทางการศึกษา Thoughtco.com ที่มีชื่อว่า “13 Creative Examples of Informal Assessments for the Classroom” ที่นำเสนอโดย Kris Bales หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญการศึกษาแบบโฮมสกูล ต่อไปนี้คือตัวอย่างของวิธีการประเมินผลในห้องเรียนที่น่าสนใจ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ดังนี้

 

ภาพ : shutterstock.com

 

การสังเกต

             นับว่าเป็นแนวทางการประเมินผลที่เป็นพื้นฐานที่สุดของครู การสังเกตคือหัวใจของการประเมินผลอย่างไม่เป็นทางการ เป็นสิ่งที่ง่ายและสามารถกระทำได้ด้วยตัวเอง เพียงแค่เฝ้าดูนักเรียนในความดูแลของคุณตลอดทั้งวัน และค่อยหาสัญญาณของพฤติกรรมและความรู้สึกที่แตกต่างในตัวเขา เช่น ความรู้สึกเบื่อ ความตื่นเจ้น พฤติกรรมที่มีต่อเพื่อนฝูง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ และบันทึกสิ่งเหล่านั้นไว้เป็นข้อมูล โดยบันทึกตามลำดับเวลาเพื่อให้เห็นภาพการพัฒนาของนักเรียน อันจะเป็นข้อมูลสำคัญในการประเมินผลนักเรียนอย่างมีคุณภาพ

 

การนำเสนอปากเปล่า

             ตั้งเวลาหนึ่งหรือสองนาที แล้วให้นักเรียนบอกสิ่งที่เขาเรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่เรียน ยกตัวอย่างเช่น หากนักเรียนกำลังเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษษในการพูดสื่อสาร ครูอาจให้นักเรียนตั้งชื่อคำบุพบทได้มากที่สุดในเวลา 30 วินาที โดยที่ครูช่วยเขียนคำเหล่านั้นเป็นกระดาน  หรือการให้นักเรียนนำเสนอด้วยการเริ่มต้นประโยค เช่น    “ สิ่งที่ฉันชอบเกี่ยวกับหัวข้อนี้คือ…” “ สิ่งที่น่าสนใจหรือน่าประหลาดใจที่สุดที่ฉันเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้คือ…” และให้พวกเขาผลัดกันออกมานำเสนอ เป็นต้น

 

รายการบันทึก

             ให้เวลานักเรียนหนึ่งถึงสามนาทีในตอนท้ายของแต่ละวันเพื่อมีเวลาสำหรับการจดบันทึกสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ โดยครูอาจขอให้เด็กจดบันทึกตามแนวทางที่กำหนด เช่น  ระบุข้อเท็จจริง 5-10 ข้อที่พวกเขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่เรียน หรือ ให้เขียนเกี่ยวกับสิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดที่พวกเขาเรียนรู้ในวันนี้ เป็นต้น

 

กระดาษโยน

             ให้นักเรียนเขียนคำถามที่อยากรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่เรียนบนกระดาษ จากนั้นให้นักเรียนขยำกระดาษเป็นก้อนกลม จากนั้นให้นักเรียนทุกคนโยนกระดาษ แล้วรีบไปหยิบก้อนกระดาษที่โยนนั้นคนละ 1 ก้อน จากนั้นเลือกนักเรียนมาอ่านออกเสียงคำถามแล้วตอบคำถามทีละคนจนครบทุกคน

 

มุมห้อง

             เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ยอดเยี่ยมในการทำให้นักเรียนได้เคลื่อนไหวไปพร้อม ๆ กับประเมินสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ โดยเริ่มต้นจากการติดป้ายตัวเลือก ก ข ค ง หรือ A B C D ที่แต่ละมุมของห้อง จากนั้นคุณครูอ่านคำถาม และตัวเลือกคำตอบ จากนั้นให้นักเรียนรีบไปมุมห้องที่มีป้ายตรงกับคำตอบที่ถูกต้องของคำถาม

 

จับคู่การ์ด

             ให้นักเรียนของคุณเล่นเกมจับคู่การ์ด โดยทำการ์ดขึ้นมาสองชุด เป็นชุดของคำถาม และชุดของคำตอบ จากนั้นสุ่มการ์ดทั้งหมด แล้วคว่ำการ์ดวางไว้บนโต๊ะ โดยแบ่งเป็นด้านที่เป็นคำถามและด้านที่เป็นคำตอบ จากนั้นให้นักเรียนผลัดกันพลิกการ์ดสองใบพยายามจับคู่การ์ดคำถามกับการ์ดคำตอบที่ถูกต้อง หากนักเรียนจับคู่การ์ดได้ถูกต้องจะได้สิทธิ์เปิดอีกครั้ง แต่ถ้าเลือกการ์ดไม่ตรงกัน ต้องออกไปต่อแถวใหม่ นักเรียนคนใดที่พลิกการ์ดและตรงกันมากที่สุดคือผู้ชนะ

 

ภาพ : shutterstock.com

 

กรอกคำตอบในกระดาษ

             เป็นวิธีที่ดีถ้าในตอนท้ายของแต่ละวันหรือแต่ละสัปดาห์ ให้นักเรียนกรอกคำตอบลงในกระดาษชิ้นเล็กๆก่อนออกจากห้องเรียน คุณครูสามารถพิมพ์คำถามบนการ์ด เขียนบนไวท์บอร์ด หรืออ่านให้พวกเขาฟัง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ยอดเยี่ยมสำหรับวัดสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้และพื้นที่สำหรับเขาในการอธิบายเพิ่มเติม

 

สาธิต

             จัดหาเครื่องมือและวัสดุต่างๆ และให้นักเรียนแสดงสิ่งที่พวกเขารู้ผ่านการปฏิบัติ อธิบายกระบวนการตามที่พวกเขาได้ดำเนินการ เช่น หากพวกเขาเรียนรู้เกี่ยวกับการวัดความยาว ให้เขาลองใช้อุปกรณ์สายวัดหรือตลับเมตรวัดความยาวของเส้นที่กำหนด หรือหากพวกเขากำลังศึกษาเกี่ยวกับส่วนต่างๆของพืช ลองให้นักเรียนดูพืชหลากหลายชนิดและให้นักเรียนชี้ส่วนต่าง ๆ ของพืช โดยให้อธิบายทีละคน เป็นต้น

 

ภาพ : shutterstock.com

 

ภาพวาด

             การวาดเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมสำหรับผู้เรียนที่มีหัวทางศิลปะในการแสดงสิ่งที่ได้เรียนรู้ พวกเขาสามารถวาดขั้นตอนของกระบวนการหรือสร้างการ์ตูนเพื่ออธิบายเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ หรือพวกเขาสามารถวาดและพืชป้ายเซลล์หรือชิ้นส่วนของชุดเกราะของอัศวินซึ่งแสดงให้เห็นได้ว่าเขาเข้าใจหรือจดจำส่วนต่างๆได้มากน้อยแค่ไหน

 

ปริศนาอักษรไขว้

             เราสามารถใช้ปริศนาอักษรไขว้มาเป็นเครื่องมือในการประเมินผลการเรียนรู้ได้อย่างสนุกสนานและปราศจากความเครียด สร้างจิ๊กซอว์ด้วยเครื่องทำปริศนาอักษรไขว้โดยใช้คำจำกัดความหรือคำอธิบายเป็นเบาะแส คำตอบที่ถูกต้องจะทำให้สามารถแก้ปริศนาได้สมบูรณ์  คุณสามารถใช้ปริศนาคำไขว้ในการประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายของประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์หรือหัวข้อวรรณกรรมเช่นรัฐ, ประธานาธิบดี , สัตว์หรือแม้กระทั่งกีฬาก็ได้

 

การบรรยาย

             การเล่าเรื่องเป็นวิธีการประเมินนักเรียนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในแวดวงโฮมสกูลและได้รับแรงบันดาลใจจากชาร์ลอตต์เมสันนักการศึกษาชาวอังกฤษในช่วงเปลี่ยนศตวรรษที่ 20 นักเรียนมักจะเล่าให้คุณครูหรือผู้ปกครองฟังด้วยคำพูดของเขาเอง เกี่ยวกับการฝึกฝน สิ่งที่เขาได้ยินหลังจากอ่านออกเสียงหรือเรียนรู้หลังจากศึกษาหัวข้อต่าง ๆ ในการอธิบายบางสิ่งด้วยคำพูดของตัวเองจำเป็นต้องมีความเข้าใจในหัวเรื่อง การใช้คำบรรยายเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับการค้นพบสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้และระบุพื้นที่ที่คุณอาจต้องดูแลมากขึ้น

 

แสดงละคร

             เชื้อเชิญให้นักเรียนเล่นบทบาทสมมุติงจากหัวข้อที่พวกเขากำลังศึกษา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพเป็นพิเศษ สำหรับการศึกษาที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์หรือการศึกษาชีวประวัติ ละครเป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าและง่ายต่อการใช้งานสำหรับครอบครัวโฮมสกูล เป็นเรื่องปกติสำหรับเด็กเล็กที่จะรวมสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้เข้ากับการเล่นที่ทำเป็นของพวกเขา ฟังและสังเกตขณะที่ลูกของคุณเล่นเพื่อประเมินสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้และสิ่งที่คุณอาจต้องชี้แนะ

 

ภาพ : shutterstock.com

 

การประเมินตนเองของนักเรียน

             ใช้การประเมินตนเองเพื่อช่วยให้นักเรียนไตร่ตรองและประเมินความก้าวหน้าของตนเอง มีตัวเลือกมากมายสำหรับการประเมินตนเองอย่างง่าย หนึ่งในนั้นคือขอให้นักเรียนยกมือเพื่อระบุว่าข้อความใดที่พวกเขาคิดว่าตรงกับสิ่งที่พวกเขาคิด :“ฉันเข้าใจหัวข้ออย่างเต็มที่ ” “ ฉันเข้าใจหัวข้อเป็นส่วนใหญ่” “ ฉันสับสนเล็กน้อย” หรือ“ ฉันต้องการความช่วยเหลือ” หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือให้นักเรียนยกนิ้วโป้งขึ้นหรือลงเพื่อระบุว่าเข้าใจเนื้อหาหรือต้องการความช่วยเหลือ หรือใช้มาตราส่วนห้านิ้วและให้นักเรียนชูจำนวนนิ้วที่สอดคล้องกับระดับความเข้าใจของนักเรียนเป็นตน

 

             ทั้งหมดนี้คือวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างสร้างสรรค์ แบบไม่เป็นทางการ ซึ่งมีประโยชน์อย่างมาก ในการประเมินผลการเรียนรู้ พฤติกรรมและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของนักเรียน อย่างไรก็ดี แม้ว่าการประเมินผลเหล่านี้จะเป็นการประเมินผลที่ไม่เป็นทางการ แต่ถ้าสามารถนำผลการประเมินมาจัดเก็บเป็นข้อมูลในรูปแบบเอกสารหรือการบันทึกอื่นๆ การประเมินแบบไม่เป็นทางการนี้ ก็สามารถนำไปอ้างอิงประสิทธิภาพนักเรียนอย่างเป็นทางการได้เช่นเดียวกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้อ่านที่จะสามารถประยุกต์ในการแสดงผลได้มากน้อยแค่ไหน แต่ก็ต้องนับว่าทั้งหมดนี้เป็นวิธีการที่น่าสนใจที่น่าหยิบยืมไปใช้เป็นอย่างยิ่ง

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Teacher
  • 127 Followers
  • Follow