Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ออมเงินแบบมีเทคนิค ได้ทั้งดอกเบี้ย และได้ความคุ้มค่า

Posted By Plook Blog | 04 ก.ค. 62
15,764 Views

  Favorite

ทำเอาหลายคนฮือฮากับประกาศของกรมสรรพากร เรื่อง "เก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์" ในอัตรา 15% จากผู้ที่ได้รับดอกเบี้ยรวมกันทุกบัญชีเกิน 20,000 บาทต่อปี สำหรับนักออมที่ได้รับดอกเบี้ยไม่ถึง ก็คงไม่ต้องกังวลอะไร แค่คิดว่าจะหาเงินฝากอย่างไรให้ได้ดอกเบี้ย ก็หืดขึ้นคอแล้ว

แต่นักออมที่มีเงินเยอะสักหน่อย คำนวณดูแล้วคิดว่าจะได้รับดอกเบี้ยเกิน 20,000 บาทแน่ ๆ ก็คงต้องหาเทคนิคช่วยออมเงินกันหน่อย แต่อย่าถึงขั้นตกอกตกใจถอนเงินออกเพื่อเอาไปฝังตุ่ม ฝังไหใต้ถุนบ้าน ปล่อยแช่จนมันผุพังกันเลย เพราะนอกจากการฝากธนาคารแล้ว เรายังมีทางเลือกในการออมเงินอีกหลายวิธีที่ทำให้เงินของเรางอกเงย

 

 

• ME by TMB Smart Tips มีวิธีออมเงินแบบมืออาชีพ เพียงแค่เพิ่มเทคนิคนิดหน่อยก็ได้ทั้งดอกเบี้ย แถมเหลือเงินไปลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อได้ผลตอบแทนมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันยังมีการลงทุนในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบการลดหย่อนภาษี เงินปันผล รางวัล และอื่นๆ ที่ได้ความคุ้มค่าและมั่นคงในระยะยาว

 

คำนวณหาเงินฝากตั้งต้น กับ ดอกเบี้ยที่จะได้รับ

• “ดอกเบี้ย 20,000 บาท หารด้วยดอกเบี้ยต่อปีที่คุณได้รับ” ก็จะได้ยอดเงินฝากที่คุณจะฝากแล้ว ยกตัวอย่างเช่น สิ้นปีคุณต้องการดอกเบี้ย20,000 บาท เพียงฝากเงินกับบัญชี ME SAVE จำนวน 1,176,458 บาท ที่ให้ดอกเบี้ยสูงถึง 1.7% ต่อปี (ในกรณีที่ฝากมากกว่าถอน) คุณก็ได้ดอกเบี้ยพอดี โดยไม่ต้องเสียภาษีแล้ว ในขณะที่ฝากในบัญชีออมทรัพย์ทั่วไปคุณจะต้องฝากเงินจำนวน 4-6 ล้านต่อปี ถึงจะได้ดอกเบี้ย 20,000 บาท ลองใช้วิธีคำนวณนี้เพื่อช่วยคุณบริหารจัดการเงินฝากได้ง่ายขึ้

 

ตารางเปรียบเทียบเงินฝาก และดอกเบี้ยที่ได้รับต่อปี

 

อย่าออมเงินผิดที่ เลือกฝากเงินกับบัญชีออมทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ยสูง

  • • TMB เปิดเผยว่า การออมเงินของคนไทยกระจุกตัวอยู่ที่เงินฝากธนาคารกว่า 80% และเกินครึ่งเป็นเงินฝากออมทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ยต่ำ ดังนั้นจึงควรเลือกบัญชีที่ให้ดอกเบี้ยสูง ไม่มีเงื่อนไข วัตถุประสงค์เพื่อฝากเงินในจำนวนที่น้อยกว่า แต่ได้ผลตอบแทนที่มากกว่า และนำเงินส่วนที่เหลือไปต่อยอดกับการลงทุนในรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งมีอีกหลากหลายวิธี อาทิ
    • ›เลือกบัญชีฝากประจำแบบปลอดภาษี
    • ›0.30 – 0.50% ต่อปีหรือตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด
    • ›ไม่ลืมผลตอบแทนในรูปแบบของการลดหย่อนภาษี (LTF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ทั้งสองกองทุนสามารถซื้อได้สูงสุด 15% ของเงินได้ทั้งปี สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี แต่นักออมควรทำความเข้าใจก่อนว่า การลงทุนในหุ้นมีความเสี่ยง มูลค่าเงินที่ลงทุนไปอาจจะได้คืนไม่เต็มจำนวน แต่ก็อาจจะได้คืนสูงกว่าที่ลงทุนก็ได้

 

 

• แบ่งเงินไปลงทุนในสลากออมทรัพย์ เพิ่มดอกเบี้ย ลุ้นรางวัลใหญ่

เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการออม ข้อดีของสลากประเภทนี้คือ เงินต้นไม่สูญ มีโอกาสถูกรางวัล ซึ่งรางวัลใหญ่ไม่น้อยหน้าสลากกินแบ่งรัฐบาล และยังได้รับดอกเบี้ยด้วย ซึ่งผู้ที่สนใจควรทำความเข้าใจในสลากของแต่ละธนาคารให้ดีก่อนตัดสินใจ เนื่องจากสลากที่ขายมีความแตกต่างกันทั้งมูลค่าต่อหน่วย รวมถึงเงินรางวัล และรายละเอียดต่าง ๆ

• หักเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพแบบเต็มแม็กซ์

• ฝากเงินเพื่อรับปันผล กับสหกรณ์ออมทรัพย์

• ซื้อประกันสะสมทรัพย์ ได้ทั้งเงินคืนต่อปี ลดหย่อนภาษี และความคุ้มครองชีวิต 

การลงทุนนี้ เป็นการซื้อความคุ้มครองพร้อมทั้งออมเงินไปในตัว และยังสามารถลดหย่อนภาษีได้ด้วย ซึ่งการออมเงินจะจ่ายเบี้ยเป็นรายปี รายเดือน ตามระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้ในสัญญา โดยผู้ถือกรมธรรม์สามารถเลือกได้ว่าจะออมกี่ปี เช่น ส่งเบี้ย 5 ปี คุ้มครองชีวิต 10 ปี หรือ ส่งเบี้ย 9 ปี คุ้มครองชีวิต 15 ปี เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันก็มีผลิตภัณฑ์ประกันสะสมทรัพย์ออกมาให้เลือกมากมาย บางแห่งได้มีการพัฒนารูปแบบขายประกันให้มีความสะดวกมากขึ้น อย่างเช่น ME SURE ของME by TMB ประกันซื้อง่าย จ่ายคืนเร็ว ลดหย่อนภาษีได้ คุ้มครองทันที ไม่ต้องตรวจสุขภาพ สามารถซื้อผ่านแอปพลิเคชันได้ตลอด 24 ชม.

 

วิธีออมเงินที่รวบรวมมาให้นี้ แต่ละรูปแบบมีทั้งข้อดี มีความเสี่ยง และผลตอบแทนแตกต่างกันไป แต่มีอีกวิธีสำคัญมาก คือ “คิดบวก” ลองนึกดูดีๆ ดอกเบี้ยที่เราได้รับมา 20,000 บาท เสียภาษี 15%  เป็นเงิน 3,000 บาท ยังเหลือดอกเบี้ยอีกตั้ง 17,000 บาท แล้วลองนึกต่ออีกว่า ถ้าเราฝากเงินเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดอกเบี้ยที่เราจะได้รับตั้งเท่าไหร่ โดยเงินต้นก็ยังอยู่และยังได้ดอกเบี้ยเพิ่มพูนเป็นผลลัพธ์ให้เราชื่นใจด้วย แค่เลือกออมกับบัญชีที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า ก็เท่ากับทำให้เงินของเรางอกเงยแล้ว

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Blog
  • 5 Followers
  • Follow