Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

มอส ปฏิภาณ ควงภรรยา แชร์ประสบการณ์การนอนกรน เตือนคนไทยระวังภัยนอนกรน...อันตรายถึงชีวิต !

Posted By Boonvipa | 18 มี.ค. 62
4,004 Views

  Favorite

นอนกรนเป็นอาการที่พบได้บ่อย และพบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่ทราบหรือไม่ว่าอาการนอนกรน ไม่ได้เพียงแต่สร้างความรำคาญให้กับคนที่นอนข้าง ๆ แต่อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยเกี่ยวกับโรคหยุดหายใจขณะหลับได้

ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมโรคนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ และด้วยความห่วงใยจาก บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดงาน “WORLD SLEEP DAY 2019 - ใครว่า “การนอน” เป็นเรื่องเล่น ๆ” เนื่องในวันนอนหลับโลก เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการนอน และส่งเสริมการให้ความรู้เกี่ยวกับการนอนหลับ และโรคหยุดหายใจขณะหลับ
 


ศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัยรัตน์ นิรันตรัตน์ ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย กล่าวว่า “การนอนกรน เกิดจากการที่ช่องคอแคบลงมากกว่าปกติในขณะหลับ ทำให้ลมหายใจเข้า-ออกแรงขึ้น ซึ่งเนื้อเยื่อของผนังคอ เพดานอ่อน ลิ้นไก่ และโคนลิ้นมีการสั่นสะเทือนจนเกิดเสียงดังขึ้น โดยคนที่มีอาการมาก จะพบว่าผนังคอยุบตัวลงจนอากาศไม่สามารถผ่านไปได้ชั่วขณะ หรือเรียกว่า การหยุดหายใจขณะหลับ

จากสถิติพบว่า ร้อยละ 20 ของผู้ที่นอนกรนเป็นประจำมักมีอาการหยุดหายใจร่วมด้วย สำหรับผู้ที่เป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายอย่างมาก โดยอาจจะส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต ความจำถดถอย การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และยังอาจเกิดภาวะง่วงนอนกลางวันมากกว่าปกติ อาการหลับใน ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้”
 


“อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ป่วยเป็นโรคหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA)  มีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน และผู้ที่มีการหยุดหายใจขณะหลับในระดับรุนแรงน้อย คือ น้อยกว่า 15 ครั้งต่อชั่วโมง จะมีอัตราการเสียชีวิตจากการหยุดหายใจขณะหลับเฉลี่ยร้อยละ 8 ซึ่งหากหยุดหายใจมากกว่า 15 ครั้งต่อชั่วโมง จะมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10 - 16 และเมื่อเทียบกับคนปกติแล้วจะมีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงกว่า 2 - 3 เท่า เสี่ยงต่อโรคหัวใจมากกว่า 2 เท่า และเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองมากกว่า 3 เท่า

ดังนั้น หากพบว่าตัวเองหรือคนที่คุณรักมีอาการนอนกรนเป็นประจำ แนะนำให้รีบไปปรึกษาแพทย์ และให้ความสำคัญในการหาวิธีป้องกันและรักษาอาการนอนกรนอย่างเหมาะสมต่อไป” ศ. นพ.ชัยรัตน์ กล่าวเพิ่มเติม
 


ด้านคุณมอส ปฏิภาณ และภรรยา คุณเกม ดวงพร ปฐวีการณ์ เกี่ยวกับการนอนหลับอย่างไรให้ร่างเป๊ะใจปิ๊ง ว่า “ด้วยความที่เป็นหัวหน้าครอบครัว ก็จะทำงานค่อนข้างเยอะ ทั้งงานคอนเสิร์ต อีเว้นท์ต่าง ๆ ทำให้ปกติก็พักผ่อนไม่ค่อยเพียงพออยู่แล้ว พอกลับถึงบ้านมานอนหลับ ตัวผมเองไม่รู้สึก แต่คนข้าง ๆ เขาจะรู้เลยว่าผมนอนกรน ซึ่งมันก็จะไปกระทบการพักผ่อนของเขาด้วย แล้วเวลาที่ตื่นขึ้นมา ก็จะรู้สึกคอแห้ง ช่วงกลางวันก็เริ่มมีอาการง่วงเหมือนนอนไม่เต็มอิ่ม อาจจะส่งผลต่อการทำงาน เพราะเราจะต้องใช้สมาธิมาก เพราะจะเบลอ ๆ คือตอนนั้นรู้สึกเลยว่าปล่อยเอาไว้คงไม่ดีกับการทำงานแน่นอน ที่สำคัญ เรารู้เลยว่าการนอนนี่ส่งผลระยะยาวต่อสุขภาพจริง ๆ จึงวางแผนที่จะเข้าไปตรวจที่ Sleep Center ด้วย

แต่เนื่องจากช่วงที่ผ่านมายังไม่มีเวลา เพราะพึ่งจะกลับมาจากการพาน้องโสนและน้องสวรรค์ไปเที่ยว จึงใช้อีกหนึ่งวิธีง่าย ๆ เป็นแบบทดสอบ 8 ข้อ ที่ให้เราสามารถตรวจด้วยตัวเองก่อนได้ว่ามีความเสี่ยงหรืออาการมากน้อยแค่ไหน โดยถ้ามีอาการมาก เท่าที่รู้ก็อาจจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจสำหรับคนนอนกรน หรือการผ่าตัด เพื่อลดอาการนอนกรนและให้เราพักผ่อนได้อย่างเพียงพอครับ”  

สำหรับผู้ที่สนใจ หรือสงสัยว่าตัวเองมีความเสี่ยงโรคหยุดหายใจขณะหลับ สามารถเข้าไปทำแบบทดสอบได้ที่ Philips.com.sg/saveoursleep.
 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Boonvipa
  • 9 Followers
  • Follow