Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

SACICT เชิดชูสุดยอดช่างฝีมือ “ครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม” คัดผลงานแห่งปี มาให้ชมภายในงาน “๑ ทศวรรษ อัตลักษณ์แห่งสยาม”

Posted By Plook News | 05 ก.พ. 62
3,245 Views

  Favorite

SACICT เชิดชูสุดยอดช่างฝีมือ “ครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม”

คัดผลงานแห่งปี มาให้ชมภายในงาน “๑ ทศวรรษ อัตลักษณ์แห่งสยาม” 31 ม.ค. – 3 ก.พ. 2562

 

ภาพ : ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ

 

 

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT คัดสรรบุคคลระดับช่างฝีมือ และช่างฝีมือขั้นสูงที่มีผลงานยอดเยี่ยมด้านศิลปหัตถกรรมประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ เป็น “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” “ครูช่างศิลปหัตถกรรม” และ “ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม” ประจำปี 2562 พร้อมนำสุดยอดผลงาน มาจัดแสดงภายในงาน “๑ ทศวรรษ อัตลักษณ์แห่งสยาม”  ระหว่าง 31 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  
 

 

ภาพ : ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ


นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กล่าวว่า  “ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ หรือ SACICT ได้เล็งเห็นความสำคัญการที่จะอนุรักษ์ รักษาคุณค่าภูมิปัญญา ทักษะฝีมือและองค์ความรู้เชิงช่างที่อยู่ในตัวบุคคล  ที่ถือได้ว่าเป็นสมบัติอันมีค่าที่สุดเหล่านี้ ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา  และส่งต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน คนรุ่นหลังได้เห็นคุณค่า  เกิดเป็นแรงบันดาลใจในการช่วยกันอนุรักษ์ รักษา สืบสานต่อ  ในขณะเดียวกันก็ยังส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาต่อยอดผสมผสานด้วยภูมิปัญญาดั้งเดิม และแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ พัฒนาต่อยอดสู่ความร่วมสมัยและสมัยนิยม อันจะนำไปสู่การสร้างโอกาสทางการตลาดในเชิงพาณิชย์ต่อไปได้ ด้วยความสำคัญดังกล่าวนี้  SACICT จึงได้มีการดำเนินกิจกรรมคัดสรรและเชิดชูเกียรติบุคคลที่ทรงคุณค่าเหล่านี้ใน 3 สถานะ ประกอบด้วย ครูศิลป์ของแผ่นดิน   ครูช่างศิลปหัตถกรรม และ ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ซึ่งดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา 

ภาพ : ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ

 

“สำหรับในปี 2562 นี้มีจำนวนผู้ที่เสนอชื่อเข้าร่วมการคัดสรรทั้ง 3 ประเภท จากทั่วประเทศมากกว่า 300 ราย ในหลากหลายประเภทผลงานศิลปหัตถกรรม แต่ละคนล้วนแล้วมีผลงานที่น่าสนใจทั้งสิ้น ในการพิจารณาคัดสรรนั้น SACICT มีการดำเนินการตามขั้นตอน ซึ่ง จะพิจารณาโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีการแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีการแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในงานศิลปหัตถกรรมหลากหลายแขนง และในแต่ละปีคณะกรรมการ จะทำงานกันอย่างหนักมาก เพื่อร่วมพิจารณาคัดสรรบุคคลผู้มีฝีมือ โดยจะให้ความสำคัญในเรื่องของบุคคลผู้มีทักษะฝีมือ และผู้ที่เปี่ยมด้วยองค์ความรู้         ภูมิปัญญาที่สะท้อนผ่านผลงานอันทรงคุณค่า งดงาม น่าประทับใจ ที่เป็นที่สุดของงานแขนงนั้นๆ จริงๆ และในปี 2562  คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  ร่วมคัดสรรบุคคลที่สมควรได้รับการเชิดชูเป็น  “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” “ครูช่างศิลปหัตถกรรม”   และ “ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม”  ประจำปี 2562  รวม  25 คน 

 

ผู้ที่ได้รับการเชิดชูเป็น “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” ถือเป็นบุคคลเป็นบุคคลชั้นบรมครู เป็นผู้อนุรักษ์ รักษา คงคุณค่าองค์ความรู้ภูมิปัญญา ในงานศิลปหัตถกรรม สั่งสมสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบันด้วยทักษะฝีมือเชิงช่างชั้นสูง สั่งสมประสบการณ์ในการสร้างสรรค์งานมาอย่างยาวนาน ถือเป็นสุดยอดของผู้มีฝีมือที่ล้ำเลิศ ในปี 2562 มีผู้ที่ได้รับการเชิดชู จำนวน 7 คน ประกอบด้วย 
1.นางสาวทองอยู่ กำลังหาญ ช่างทอ “ผ้าซิ่นตีนจก” 
2.นายสงคราม งามยิ่ง ช่างทอ “ผ้าไหมมัดหมี่” 
3.นายเจน นวลสุภา ช่างฝีมืองานแกะสลักไม้ 
4.นายตีพะลี อะตะบู ช่างฝีมือ “กริชรามันห์” 
5.นายบุญมี ล้อมวงศ์  ช่างฝีมือ “เครื่องทองเหลืองบ้านปะอาว”  
6.นายอุทัย เจียรศิริ  ช่างฝีมือ “เครื่องถม”  
7.นายชยธร ภาณุมาศ ช่างฝีมือ “ปูนปั้นสด” 

 

ภาพ : ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ


ครูช่างศิลปหัตถกรรม  เป็นบุคคลผู้มีทักษะฝีมือในงานศิลปหัตถกรรม และรักษาคุณค่าองค์ความรู้ ภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษที่สะท้อนในศาสตร์และศิลป์เชิงช่าง ดำรงไว้ซึ่งการอนุรักษ์ สร้างสรรค์หรือต่อยอดเพื่อให้คนรุ่นปัจจุบันได้ตระหนักและเข้าถึงงานศิลปหัตถกรรม นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนา สร้างสรรค์ต่อยอดสร้างงานศิลปหัตถกรรมด้วยทักษะฝีมือที่มีความละเอียด ประณีต และงดงาม  ในปี 2562 มีผู้ที่ได้รับการเชิดชู จำนวน 10 คน ประกอบด้วย 
1.นายอำพัน น่วมนุ่ม  ช่างฝีมือ “เครื่องจักสานหวาย” 
2.ครูทองใบ เอี่ยมประไพ ช่างทอ “ผ้าทอสี่เขา” 
3.นางณิษา ร้อยดวง  ช่างทอ “ผ้ายกมุก” 
4.นายศุภชัย เขว้าชัย ช่างทอ “ผ้าไหมมัดหมี่” 
5.นางสำเนา จบศรี ช่างทอ “ผ้าซิ่นตีนจก” 
6.นางสุพัตรา ชูชม ช่างทอ  “ผ้าซิ่นตีนจก” 
7.นายยรรยงค์  คำยวง ช่างฝีมือ “แกะสลักสามมิติ” 
8.นายไพโรจน์ สืบสาม ช่างฝีมือ  “เครื่องประดับทองโบราณ”  
9.นายสำเนียง หนูคง ช่างฝีมือ “สลักดุน” 
10.นายเชวง โล่เจริญสุขเกษม ช่างฝีมือ “เรือโบราณจำลอง” 

 

ภาพ : ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ

 

ส่วน ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม  เป็นกลุ่มที่เป็นหัวใจของการสืบสานงานศิลปหัตถกรรม ผู้มีความมุ่งมั่นและใฝ่เรียนรู้ เป็นผู้  ที่มารับช่วงต่อเพื่ออนุรักษ์ไม่ให้หายไป เริ่มจากการเป็นลูกหลาน หรือการเป็นลูกศิษย์ ที่ได้รับการถ่ายทอดในงานศิลปหัตถกรรมแขนงนั้นๆ  ซึ่งเป็นกลุ่มพิเศษที่ มีทั้งเป็นคนรุ่นใหม่ และคนที่พร้อมจะสืบสานต่อ กลุ่มทายาทฯ  จะเป็นกำลังสำคัญในอนาคต  ด้วยการสร้างสรรค์ และต่อยอดผลงานทำให้เป็นที่รู้จัก และพัฒนาการผลิตสู่ตลาดได้  ในปี 2562 มีผู้ที่ได้รับการเชิดชู จำนวน 8 คน  ประกอบด้วย

1.นางเพ็ญภักดิ์ แก้วสุข ช่างทำ “งานหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่” 
2.นายจักษ์ภิรมย์ ศรีเมือง ช่างทอ “ผ้ายกสังเวียนโบราณ” 
3.นางติ๋ม ป้อมคำ  ช่างทอ “ผ้าซิ่นตีนจก” สัญลักษณ์
4.นายธนกร เปลี่ยนพิทักษ์ ช่างฝีมือ “ปักสะดึงกรึงไหม” 
5.นายบันเทิง ว่องไว  ช่างทอผ้ามัดหมี่ และ “ผ้ามัดหมี่แบบโบราณ” 
 6.นางลัดดา ชูบัว ช่างทอ  “ผ้าทอนาหมื่นศรี” 
7.นายณัฐกฤตกรณ์ ปินใจ  ช่างฝีมือ “แผ่นโลหะ” 
8.นายพิชิต นะงอลา มีทักษะ ช่างฝีมือ “สลักดุนลอยตัวขนาดใหญ่” 

 

ภาพ : ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ


 SACICT จะประกาศเชิดชูเกียรติ  พร้อมทั้งนำสุดยอดผลงานของทั้งครูศิลป์ของแผ่นดิน   ครูช่างศิลปหัตถกรรม และ ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม มาจัดแสดงภายใน “1 ทศวรรณ อัตลักษณ์แห่งสยาม” จัดขึ้น 31 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 10.00 - 20.00 น. ณ ห้องเพลนารี 1-3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  ซึ่งเป็นงานที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี 
“และปีนี้ถือเป็นครั้งยิ่งใหญ่กว่าทุกๆ ครั้งของการจัดงานอัตลักษณ์แห่งสยาม  ด้วยการรวมผลงานศิลปหัตถกรรมสมบัติจากบุคคลระดับ “ครู” ไว้ในที่เดียวกันกว่า 180 คูหาที่นำมาจำหน่าย และเผยแพร่ถ่ายทอดองค์ความรู้ และที่สำคัญที่ถือว่ายิ่งใหญ่กว่าทุกครั้ง ก็คือ การเปิดเวทีจำหน่ายผลงานที่เป็น “ที่สุด” อันเป็นฝีมือ “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” และ “ครูช่างศิลปหัตถกรรม”  ซึ่งไม่สามารถได้เห็นผลงานเหล่านี้ในคูหาจำหน่ายปกติ เพราะเป็นผลงาน “ชิ้นพิเศษ” ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาเฉพาะซึ่งมีเพียงชิ้นเดียวเพื่องานครั้งนี้เท่านั้น จึงอยากจะขอเชิญชวนทุกท่านได้ร่วมส่งเสริม สนับสนุน และเป็นกำลังใจให้กับช่างผู้รังสรรค์งานหัตถศิลป์ไทย ผลิตชิ้นงานที่ทรงคุณค่า สวยงาม สะท้อนอัตลักษณ์ภูมิปัญญาของชาติไทย เพื่อเป็นมรดกส่งต่อรักษาไว้ให้ลูกหลานสืบไป” 

สอบถามเพิ่มเติมโทร. 1289   หรือสนใจติดตามได้ที่   www.sacict.or.th และ    http://www.facebook.com/sacict

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook News
  • 5 Followers
  • Follow