Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

สูงวัยอย่างไร...ห่างไกลอัลไซเมอร์

Posted By Plook Creator | 16 ต.ค. 61
3,609 Views

  Favorite

อัลไซเมอร์ เป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่ง พบบ่อยในผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป โดยพบในหญิงมากกว่าชาย เป็นการสูญเสียความสามารถทางสมอง โดยเฉพาะความจำระยะสั้นที่จะเสียไป รวมถึงความเฉลียวฉลาด การใช้เหตุผล ภาษา การคิด การตัดสินใจ อาจมีอาการทางจิตร่วมด้วย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หากมีอาการเช่นนี้ควรรีบพบแพทย์ระบบประสาทหรือจิตแพทย์โรคอัลไซเมอร์โดยด่วน
 

ภาพ : freepik.com

 

อาการหลงลืมแตกต่างจากโรคอัลไซเมอร์อย่างไร อาการหลงลืมตามวัย ได้แก่ หลงลืมเรื่องที่ไม่สำคัญ ไม่บ่อย และต้องไม่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน อาการหลงลืมตามวัยนี้จะสามารถช่วยให้ดีขึ้นได้ ถ้ามีความตั้งใจที่จะจดจำอย่างจริงจัง จดบันทึก เตือนตัวเองโดยวิธีการต่าง ๆ ฝึกตัวเองให้มีสติอยู่เสมอ จะช่วยลดอาการหลงลืมให้น้อยลงได้ เราสามารถสังเกตอาการของโรคอัลไซเมอร์ได้ จากข้อมูลดี ๆ โดย ทีมแพทย์โรงพยาบาลในเครือบริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด ดังนี้

1. ความเข้าใจภาษาลดลง ใช้ภาษาไม่ถูกต้อง เรียกชื่อสิ่งของไม่ถูก อาจหยุดพูดกลางคันและไม่รู้ว่าจะต้องพูดอะไรต่อ หรือพูดย้ำกับตัวเอง รวมถึงอาจพูดน้อยลง

2. สับสนเรื่องเวลาหรือสถานที่ อาจลืมว่าตอนนี้ตนอยู่ที่ใดและเดินทางมายังสถานที่นั้นได้อย่างไร

3. ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้มาก่อน เช่น ลืมวิธีการเปลี่ยนช่องทีวี

4. บกพร่องในการรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไม่ทราบว่าของสิ่งนี้มีไว้ทำอะไร หรือไม่สามารถแยกแยะรสชาติหรือกลิ่นได้

5. บกพร่องในการบริหารจัดการ และตัดสินใจแก้ไขปัญหา ไม่กล้าตัดสินใจหรือตัดสินใจผิดพลาดบ่อย ๆ

6. บกพร่องในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ แต่งตัว ไม่สามารถไปไหนตามลำพังได้

7. บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง เช่น ซึมเศร้า เฉื่อยชา โมโหฉุนเฉียวง่ายโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน เห็นภาพหลอน หวาดระแวง
 

ภาพ : freepik.com

 

ทำอย่างไรให้ห่างไกลอัลไซเมอร์

1. ไม่ควรอยู่กับบ้านเฉย ๆ ควรทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชอบ

2. ร่วมกิจกรรมทางสังคมที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น อาสาสมัคร ชมรมต่าง ๆ

3. ออกกำลังกาย แอโรบิค โยคะ เดินในที่อากาศโปร่ง

4. เล่นกีฬาที่มีการฝึกสมอง เช่น หมากรุก หมากฮอส ช่วยให้ใจสงบ มีสมาธิ และเป็นการปรับร่างกายให้เข้าสู่ภาวะสมดุลและกระตุ้นสมองให้คิดและวางแผน ตัดสินใจ ทำให้สมองแข็งแรงและทำงานอย่างสมดุล

5. ทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวมือ เท้า และประสาทสัมผัสทั้ง 5 ให้เกิดการเชื่อมโยงของระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาทและสมองส่วนต่าง ๆ ให้ทำงานประสานกันอย่างเป็นระบบ ทำจิตใจให้แจ่มใส และฝึกสมองให้มีการใช้ความคิด ความจำ เช่น อ่านหนังสือ ฟังดนตรี ร้องเพลง เต้นรำ

6. สิ่งสำคัญคือต้องดูแลร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้หลากหลาย งดเหล้าและบุหรี่ และลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งจะมีผลกระทบต่อภาวะสมองเสื่อม
 

ภาพ : freepik.com


เพียงเท่านี้ เราก็สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นของการเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ หรือสามารถขอคำปรึกษาได้จากทีมแพทย์โรงพยาบาลในเครือบริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด (โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ (จังหวัดสมุทรปราการ) โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ (จังหวัดนครสวรรค์) โรงพยาบาลพิษณุเวช (จังหวัดพิษณุโลก) และโรงพยาบาลสหเวช (จังหวัดพิจิตร)) และสามารถติดตามสาระดี ๆ เกี่ยวกับการแพทย์ได้ที่ www.princhealth.com
 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Creator
  • 0 Followers
  • Follow