Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

โรคติดเชื้อวัณโรคในเด็ก

Posted By Plook Parenting | 09 ก.ค. 61
3,371 Views

  Favorite

วัณโรคเป็นโรคที่เราคงเคยได้ยินกันมานานแล้ว และส่วนใหญ่ก็มักจะคิดว่าเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ความจริงสามารถเกิดขึ้นกับเด็กได้เช่นกัน อีกทั้งยังวินิจฉัยได้ยากกว่าผู้ใหญ่อีกด้วย 

 

โรคติดเชื้อวัณโรคในเด็ก เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งในบางครั้งเชื้อนี้จะไม่ได้อยู่แต่ในปอดเท่านั้น อาจแพร่กระจายไปที่อื่น ๆ ในร่างกายได้ เช่น กระดูกและข้อ ไต และเยื่อหุ้มสมอง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงไม่ควรมองข้ามเพราะเป็นโรคที่อันตราย ที่เป็นมากอาจถึงขั้นชีวิตได้

 

ภาพ : Shutterstock

 

โอกาสที่ทำให้เด็กเป็นโรคติดเชื้อวัณโรคเกิดจากอะไรบ้าง

     • เด็กมักติดเชื้อวัณโรคได้จากคนใกล้ชิดโดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่เป็นผู้ป่วย ติดต่อกันได้จากการไอ จาม หรือหายใจรับเชื้อเอาละอองเสมหะที่มีเชื้อวัณโรคเข้าไปในปอด

     • เด็กมีภูมิคุ้มกันต่ำทำให้ได้รับเชื้อวัณโรคได้ง่าย เช่น ในช่วงอายุน้อยต่ำกว่า 2 ปี

     • มีร่างกายอ่อนแอเช่น โรคขาดอาหาร เป็นโรคเอดส์ หรือกำลังป่วยเป็นโรคอื่นๆ

 

อาการ

โดยทั่วไปเมื่อเด็กได้รับเชื้อเข้าสู้ร่ากาย จะไม่มีอาการผิดปกติหรือยังยังไม่แสดงให้เห็นชัดเจน แต่อาจสังเกตได้จากอาการเหล่านี้

     • มีไข้

     • ไอเรื้อรังติดต่อกัน

     • เบื่ออาหาร

     • น้ำหนักลด

     • อ่อนเพลีย

     • บางรายต่อมน้ำเหลืองโต

 

แนวทางการป้องกันและวิธีการรักษา

เนื่องจากอาการนั้นไม่แสดงออกทันที ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยดูว่ามีคนใกล้ชิด หรือผู้ใหญ่ในครอบครัวคนใดที่เป็นโรควัณโรคหรือไม่ หากมีก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่าลูกอาจมีโอกาสติดเชื้อได้ จึงควรพาไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ทำการวินิจฉัย และถ้าตรวจแล้วพบว่าเป็นโรคนี้ แพทย์ก็จะทำการรักษาต่อไปด้วยวิธีดังนี้

1. หลังจากทำการตรวจแล้วผลบ่งชี้ว่าเป็นเพียงการติดเชื้อวัณโรค โดยที่ยังไม่มีอาการใด ๆ แพทย์จะพิจารณาให้ยารักษาเพียงขนานเดียว เช่น ยา INH รับประทานนาน 9 เดือน

2. ในกรณีที่พบว่ามีการลุกลามของวัณโรคแล้ว แพทย์จะพิจารณาให้ยาร่วมกันอย่างน้อย 2-3 ชนิดไปอย่างน้อย 9 เดือนถึง 1 ปี

 

การป้องกัน

1. ฉีดวัคซีนบี.ซี.จี. เพื่อป้องกันการเกิดโรควัณโรค แต่วัคซีนอาจไม่มีประสิทธิภาพพอในการป้องกันวัณโรคปอดมากนัก ถึงแม้จะป้องกันได้ไม่เต็มร้อยแต่ก็สามารถป้องกันเชื้อวัณโรคชนิดรุนแรงแบบแพร่กระจาย และวัณโรคเยื่อหุ้มสมองได้

2. เมื่อเด็กมีไข้ หรือมีอาการเจ็บป่วยหลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในแหล่งชุมชน สถานที่ที่มีผู้คนแออัด เช่น ห้างสรรพสินค้า สวนสาธารณะ

3. หากสมาชิกคนใดคนหนึ่งในบ้านเป็นโรคนี้ควรรีบรักษาให้หาย ใส่หน้ากากอนามัยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และพาเด็กไปพบแพทย์ทันที

 

ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าเด็กอาจได้รับเชื้อก็ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันทีเพื่อทำวินิจฉัยและรักษาต่อไป เมื่ออยู่ในขั้นตอนของการรักษา คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจกับการให้ยารักษาที่จะต้องต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอด้วย หากปฏิบัติตามที่แพทย์บอกอย่างเคร่งครัดก็จะทำให้หายเป็นปกติได้ในไม่ช้า แต่มีบางครั้งที่คุณพ่อคุณแม่ให้เด็กหยุดรับประทานยาเพราะเห็นว่าอาการดีขึ้น ซึ่งกรณีเช่นนี้จะทำให้เชื้อวัณโรคดื้อยา ส่งผลให้การรักษาในครั้งต่อไปยากขึ้นและใช้เวลานานยิ่งขึ้น

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Parenting
  • 8 Followers
  • Follow