Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

Vocabulary: 10 เทคนิคการใช้ตัวย่อในภาษาอังกฤษ

Posted By NAVYMONDAYs | 13 ก.ค. 61
37,448 Views

  Favorite

เราจะเห็นว่าในภาษาอังกฤษมีการใช้ตัวอักษรย่อ แต่ใช้อย่างไรให้ถูกต้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานเขียน เรามาดู 10 เทคนิคการใช้ตัวย่อในภาษาอังกฤษกันค่ะ


10 เทคนิคการใช้ตัวย่อในภาษาอังกฤษ

1. ใช้ Indefinite Articles หรือคำนำหน้าคำนามนับได้เอกพจน์ทั่วไป

    นั่นคือการใช้ a หรือ an นำหน้าตัวย่อ โดยเลือกใช้ระหว่าง a หรือ an จากเสียงของตัวอักษรแรกของตัวย่อ เช่น

    Brain damage can be seen on an MRI.
    (เครื่อง MRI ช่วยให้เห็นรอยโรคในสมอง)

    You need to gather inspiration to become a DIY expert.
    (คุณต้องหมั่นหาแรงบันดาลใจเพื่อที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการสร้างสรรค์งานประดิษฐ์)


2. เติมจุดหลังตัวย่อ

    ทางฝั่งอเมริกา จะเติมจุดหลังตัวย่อที่เกิดจากอักษรตัวแรกและอักษรตัวสุดท้ายของคำนั้น เช่นคำว่า Doctor จะใช้ตัวย่อว่า Dr. ในขณะที่ทางฝั่งอังกฤษนั้นมักจะละจุดไว้ ได้แก่ Dr


3. วิธีการใช้ตัวย่อคำว่า Doctors

    - กรณีที่หมายถึงแพทย์ สามารถใช้ได้ 2 แบบคือ Dr. ตามด้วยชื่อ เช่น Dr.Peter Smith หรือ ชื่อตามด้วย M.D. เช่น Peter Smith, M.D. แต่จะไม่ใช้ทั้ง 2 แบบพร้อมกันนะคะ
    - ในกรณีที่ไม่ใช่แพทย์ สามารถใช้ได้ 2 แบบเช่นกัน ได้แก่ Dr. ตามด้วยชื่อ เช่น Dr.Jane Paul หรือ ชื่อตามด้วย Ph.D. เช่น Jane Paul, Ph.D. จะไม่ใช้ทั้ง 2 แบบพร้อมกันเหมือนเดิมค่ะ


4. วิธีการใช้ตัวย่อของแต่ละเดือนและแต่ละวันในหนึ่งสัปดาห์

    เราจะใช้ตัวย่อของเดือนในกรณีที่นำหน้าด้วยวันที่หรือตามด้วยวันที่เท่านั้น เช่น 14 Feb. และ Feb. 14 ตามลำดับ โดยสามารถใช้ตัวย่อของเดือนต่าง ๆ ได้ดังนี้ค่ะ
    Jan. = January (มกราคม)
    Feb. = February (กุมภาพันธ์)
    Mar. = March (มีนาคม)
    Apr. = April (เมษายน)
    Aug. = August (สิงหาคม)
   Sep. = September (กันยายน)
   Oct. =  October (ตุลาคม)
   Nov. = November (พฤศจิกายน)
   Dec. = December (ธันวาคม)
*สังเกตว่าจะมี 3 เดือนที่เราไม่ใช้ตัวย่อนะคะ ได้แก่ May (พฤษภาคม), June (มิถุนายน) และ July (กรกฎาคม)
 *จะไม่ใช้ตัวย่อของแต่ละเดือนในกรณีที่กล่าวถึงเฉพาะเดือนหรือตามด้วยปีโดยไม่มีวันที่


5.  การใช้ตัวย่อทั่วไป

    การใช้ตัวย่อที่เกี่ยวกับเวลา เราจะใช้ตัวพิมพ์เล็กสำหรับการบอกเวลา นั่นคือ a.m. และ p.m. ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่สำหรับการบอกปีคริสตศักราช A.D. และพุทธศักราช B.E.


6. การใช้ Etc.

    Etc. เป็นตัวย่อของคำว่า Et Cetera ในภาษาละตินซึ่งมีความหมายว่า “และอื่น ๆ” สิ่งที่ต้องระวังคือ เราจะไม่ใช้คำว่า and etc. และไม่ใช้คำว่า etc. ปิดท้ายเมื่อใช้คำว่า such as หรือ including


7. ใส่จุดหลังตัวอักษรแต่ละตัวของคำย่อ

    โดยทั่วไปมักใส่จุดหลังตัวอักษรแต่ละตัวของคำย่อ ยกเว้นบางกรณีเข่น NATO, DVD, IBM


8. ทำอย่างไรเมื่อตัวย่ออยู่ท้ายประโยค?

    ใช้เพียงจุดเดียว เป็นทั้งจุดของตัวย่อและใช้แทนที่จุด full stop ของประโยคนั้น ๆ ด้วย


9. หลีกเลี่ยง RAS syndrome

    หลีกเลี่ยง RAS syndrome หมายความว่า เป็นการใช้ตัวอักษรย่อหรือคำย่อ ซ้ำซ้อน หลีกเลี่ยงวลีที่ซ้ำซ้อนเช่น เครื่องกดเงิน ATM หรือองค์กร BBC


10. หลีกเลี่ยง Alphabet Soup

      หลีกเลี่ยง ซุป ตัวอักษร หมายความว่า  ใช้ตัวอักษรย่อ หรือตัวย่อมากเกินไป หากไม่แน่ใจว่าตัวย่อดังกล่าว เป็นคำที่ผู้อ่านคุ้นเคยหรือไม่ จึงควรเขียนคำเต็มออกมาให้ชัดเจน
 

 

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • NAVYMONDAYs
  • 7 Followers
  • Follow