Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ผลดีและผลเสียของอาหารต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์

Posted By thaiscience | 15 มิ.ย. 61
4,649 Views

  Favorite

นาง Lorena Perrone ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแวดล้อม เช่น อาหารและโภชนาการต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ โดยโรคนี้ถือเป็นสาเหตุหลักของอาการสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ซึ่งได้ส่งผลกระทบทั่วโลกมากกว่า 25 ล้านคน โดยภาวะเซลล์สมองเสื่อมถือเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญ และก่อให้เกิดภาระมหาศาลแก่ประเทศในด้านค่าใช้จ่ายในการรักษา

 

นาง Lorena Perrone ได้เล่าว่า ปัจจุบันนี้การตรวจพบโรคอัลไซเมอร์ในระยะแรกเริ่มนั้นยังไม่สามารถทำได้เนื่องจากผู้ป่วยยังไม่มีการแสดงอาการ แต่เมื่อเราตรวจพบอาการของโรคอัลไซเมอร์ ก็กลับกลายเป็นว่าเซลล์สมองนั้นเสื่อมเกินไปที่จะรักษาเสียแล้ว

 

นาง Lorena Perrone ได้ให้คำแนะนำว่าปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่เป็นต้นตอของโรคอัลไซเมอร์ นั่นก็คือ อาหาร โดยเฉพาะอาหารจานด่วนและอาหารขยะ (Fast Food) เพราะในกระบวนการผลิตอาหารเหล่านี้จะมีการใช้เนื้อผสมกับน้ำตาล เช่น กลูโคส ก่อนไปทำให้สุกโดยใช้ความร้อนสูง (มากกว่า 150 องศาเซลเซียส) ซึ่งกรดอะมิโนของโปรตีนในเนื้อสัตว์ จะทำปฏิกิริยากับน้ำตาล โดยมีความร้อนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาและเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ที่ชื่อว่า “Advanced Glycation End Products (AGEs)” ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่เกี่ยวกับการชราภาพของมนุษย์ โดยจะทำให้ผิวพรรณของเราเหี่ยวย่น นอกจากนี้เมื่อเกิดการสะสมของสาร AGEs ระหว่างเซลล์ประสาทก็จะทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทมีปัญหาและนั่นเองก็กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเป็นโรคอัลไซเมอร์

 

นาง Lorena Perrone กล่าวว่า ผู้บริโภคควรหลีกเหลี่ยงอาหารประเภทปิ้งย่าง เพราะมีส่วนประกอบทั้งโปรตีนจากเนื้อสัตว์และน้ำตาลที่ใช้ในการหมักเนื้อเหล่านั้น อีกทั้งการปิ้งยังมีความร้อนสูงซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างสาร AGEs ในทางกลับกันผู้บริโภคควรเลือกอาหารที่มีส่วนประกอบของอาหารเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ ผักและผลไม้ ขนมปัง ข้าวสาลีและธัญพืชต่าง ๆ น้ำมันมะกอก ปลา และไวน์แดง ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดสาร AGEs ได้

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • thaiscience
  • 2 Followers
  • Follow