Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ดับไฟได้ทันใจ แล้วอะไรอยู่ในถังดับเพลิง

Posted By Atiphat | 10 ส.ค. 60
12,547 Views

  Favorite

หลายคนคงจะคุ้นกับถังสีสดขนาดใหญ่ตามอาคารบ้านเรือน
ว่ามันต้องเป็นถังดับเพลิงแน่นอนใช่ไหมครับ วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันว่า
มีสารอะไรอยู่ในถังดับเพลิง ทำไมถึงได้ดับไฟได้ทันใจขนาดนี้

 

ถังดับเพลิงมีหลายประเภท แต่ประเภทจะมีส่วนประกอบหลัก ๆ ที่บรรจุในถัง เพื่อให้สามารถควบคุมการทำงานได้แตกต่างกันไปครับ โดยส่วนประกอบหลักมีดังต่อไปนี้ครับ

 

1. ผงเคมีแห้ง

ในถังดับเพลิงจะมีส่วนประกอบสำคัญ คือ โมโนแอมโมเนียม ฟอสเฟต (Monoammonium Phosphate, NH4H2PO4) ซึ่งเป็นผงเคมีแห้งที่จะตรงเข้ายับยั้งปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้ไฟลุก

2. คาร์บอนไดออกด์ (CO2) และ น้ำ

โดยปกติออกซิเจนจะเป็นตัวช่วยให้ไฟลุกติดได้ง่าย ดังนั้น การบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในถังดับเพลิง ก็เพื่อให้มันไปแทนที่ก๊าซออกซิเจนซึ่งอยู่รอบ ๆ กองเพลิง หลังจากฉีดพ่นออกไป การมีคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปแทนที่ นอกจากช่วยคุมเพลิงได้แล้วยังลดความร้อนได้อีกด้วย

3.สาร Halon หรือ Halotron

เป็นสารที่ใช้มานานแต่ปัจจุบันไม่มีการผลิตมาใช้แล้ว แต่ยังคงหลงเหลือให้เห็นอยู่บ้าง สารนี้จะทำให้สารเคมีเหลวที่อยู่ในเพลิงกลายเป็นไอที่ไม่เป็นพิษต่อชั้นบรรยากาศ และนอกจากนี้ยังทำหน้าที่ทำความสะอาดรวมถึงป้องการอันตรายที่จะเกิดภัยจากกระแสไฟฟ้าได้ด้วย

4.ผงโลหะ

ผงโลหะในที่นี้ เช่น โซเดียม หรือคอปเปอร์คลอไรด์ รวมถึงทรายด้วย ซึ่งผงโลหะแต่ละชนิดก็จะมีความสามารถแตกต่างกันไป เช่น โซเดียมคลอไรด์ช่วยควบคุมเพลิงที่เกิดจากลิเทียม และลิเทียมอัลลอยด์ ส่วนคอปเปอร์คลอไรด์จะออกฤทธิ์ได้ดีกับเพลิงที่เกิดจาก ยูเรเนียม ผงอะลูมิเนียม แมกซิเนียม โพแทสเซียม โซเดียม

ภาพ : Shutterstock

 

ทั้งนี้สารดับเพลิงจะมีลักษณะแตกต่างหันไปตามส่วนประกอบที่ใช้ ทำให้เราเห็นว่าถังดับเพลิงมีหลายสีหลายแบบ ดังนั้น เพื่อเป็นการปลอดภัยไว้ก่อน ยิ่งเราศึกษารายละเอียดข้างถัง เราก็จะรู้ถึงการใช้งานที่เหมาะสมจนเกิดความปลอดภัยมากขึ้น อย่าลืมไปลองสังเกตกันดูนะครับ

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ไฟและการดับไฟ

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Atiphat
  • 2 Followers
  • Follow