Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

โครงการอาชีวะสร้างชาติเกษตรอัจฉริยะ (Smart-Precision Farming)

Posted By Plook News | 24 ก.ค. 60
8,112 Views

  Favorite

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. เป็นเจ้าภาพในการจัดโครงการอาชีวะสร้างชาติ...เกษตรอัจฉริยะ (Smart-Precision Farming)

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) มีความรู้ความเข้าใจในระบบการเชื่อมต่อ GNSS แบบพิกัดแม่นยำสูง และนำมาประยุกต์การใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีการเกษตร
 


ตลอดจนเป็นกลไกลสำคัญ ในการนำความรู้สู่การพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรอีกทั้งยังส่งเสริมและสนับสนุนให้เยาวชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศที่ทันสมัย และนำไปปฏิบัติจริง ในระบบเกษตรกรรม ตลอดจนรองรับ Thailand 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

ในการนี้ การจัดโครงการอาชีวะสร้างชาติเกษตรอัจฉริยะ (Smart-Precision Farming)” จะจัดขึ้นระหว่างเดือนกรกฎาคม 2560 - เดือนธันวาคม 2560 โดยมีการจัดอบรมให้กับนักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จำนวน 4 ภูมิภาค และจัดแข่งขันอุปกรณ์ทางการเกษตร ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
 

เกี่ยวกับโครงการ
 

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) ได้ดำเนินกิจกรรมด้านระบบดาวเทียม เพื่อการนำทาง Global Navigation Satellite System (GNSS) มาอย่างต่อเนื่องโดยการร่วมมือทั้งในและนอกประเทศ นอกจากนี้รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในด้านประยุกต์ใช้งาน GNSS เพื่อยกระดับมาตรฐานของประเทศในด้านการขนส่ง การจัดทำแผนที่มีความถูกต้อง การวางผังเมืองและเขตเศรษฐกิจ 

อีกทั้งทาง สทอภ. ตระหนักถึงความสำคัญของอาชีพเกษตรกรที่อยู่ในสถานะขาดเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจและสังคมส่งผลให้อาชีพการเกษตรกรไม่มั่นคง ลูกหลานมีแนวโน้มที่จะไปประกอบอาชีพอื่นแทน สำนักงานฯ จึงเห็นสมควรที่จะนำโครงการโดยใช้ระบบ GNSS แบบพิกัดแม่นยำสูงมาประยุกต์กับเทคโนโลยีการเกษตรส่งผลให้เกิดความสะดวกในการใช้งาน ประหยัดเวลา และแรงงาน รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตเพื่อดึงลูกหลานเกษตรกรกลับมาประกอบอาชีพถิ่นฐานเดิม

สทอภ. ในฐานะเป็นหน่วยงานหลักกำหนดมาตรฐานกลางสำหรับระบบสำรวจข้อมูลระยะไกลและระบบภูมิสารสนเทศได้ทำการพัฒนาระบบที่รองรับการเชื่อมต่อ GNSS แบบพิกัดแม่นยำสูง เพื่อนำมาประยุกต์การใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีการเกษตร ทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศในยุคThailand 4.0 และรองรับเกษตรกรรม 4.0

ทั้งนี้ สทอภ.เล็งเห็นถึงความส าคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยบูรพา จัดกิจกรรมประกวดสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีการเกษตรภายใต้ “โครงการอาชีวะสร้างชาติเกษตรอัจฉริยะ (Smart-Precision Farming)” โดยรับสมัครนักเรียนในสังกัดส านักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาทั่วประเทศเข้ามาเรียนรู้

ทางด้านการเกษตรกรรมด้วยเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและ GNSS และคัดเลือกทีมผู้ผ่านเข้ารอบจำนวน 30 ทีม ทั่วประเทศให้มาแข่งขันในเชิงนวัตกรรมด้าน GNSS ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรีเป็นเวลา 4 วัน 3 คืน โดยภายในกิจกรรมจะให้นักเรียนที่ได้การคัดเลือกนำเสนอชิ้นงานการพัฒนาต่อยอดสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถใช้งานร่วมกับระบบ GNSS แบบพิกัดแม่นยำสูงเพื่อเป็นนวัตกรรมสู่ภาคการเกษตร ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดำเนินกิจกรรม สทอภ. จะได้ประสานงานกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อกท.) เพื่อเป็นหน่วยงานร่วมจัดและสนับสนุนโครงการต่อไป

นอกจากนี้ สทอภ. กำาหนดให้มีการจัดงานแสดงผลงานด้านนวัตกรรม GNSS การทดลองสิ่งประดิษฐ์การเกษตรกรรม Thailand 4.0 และตลาดนัดชุมชนโดยในจังหวัดระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ในช่วงเดือนธันวาคม 2560 ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เพื่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้และย่านนวัตกรรมตลอดจนเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ในการนำระบบ GNSS แบบพิกัดแม่นยำสูง มาใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นกลไกลสำคัญในการขับเคลื่อนนำความรู้สู่การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตรต่อไป
 

สามารถส่งใบสมัครและข้อเสนอโครงการได้ที่ E-mail nuttawut@gistda.or.th
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์ 082-983-1970 ณัฐวุฒิ ทองทิพย์ (ช้าง) , 083-073-0726 ศิวัช รุจิรา (โอ๊ค)
 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook News
  • 5 Followers
  • Follow