Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

15 มิถุนายนนี้ รอชมปรากฏการณ์ดาวเสาร์ใกล้โลกมากที่สุด ในรอบปี

Posted By มหัทธโน | 15 มิ.ย. 60
4,908 Views

  Favorite

 วันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน 2560 เวลา 16.00 น.
ติดตามชมดาวเสาร์ที่จะมาอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (opposition) เป็นตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี
โดยมีระยะทางห่างจากโลกประมาณ 1,353 ล้านกิโลเมตร

 

ภาพ : เพจอาจวรงค์ ป๋องแป๋ง จันทมาศ
สืบค้นจาก https://www.facebook.com/ardwarong/photos/a.409698355818015.1073741837.406167566171094/1352887681499073/?type=3&theater เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.60

 

ปรากฎการณ์ดาวเสาร์ใกล้โลก

เขียนโดย พิสิฏฐ นิธิยานันท์ (เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ NARIT)

 

“ดาวเสาร์ใกล้โลก” หรือ Saturn Opposition เป็นปรากฏการณ์ที่ดาวเสาร์โคจรมาอยู่ระยะใกล้โลกที่สุด ในจังหวะที่โลกกำลังจะโคจรแซงดาวเสาร์ 

โลกกับดาวเสาร์อยู่ห่างกันประมาณ 8 – 11 AU (1 AU เป็นระยะทางประมาณระยะห่างเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ มีค่าประมาณ 149.6 ล้านกิโลเมตร) ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของโลกและดาวเสาร์ โดยดาวเสาร์จะใกล้โลก ในช่วงที่โลกโคจรแซงดาวเสาร์ และดาวเสาร์จะอยู่ไกลโลก (Saturn Conjunction) ในช่วงที่ดาวเสาร์อยู่ด้านหลังดวงอาทิตย์เมื่อมองจากโล


ในช่วงที่ดาวเสาร์ใกล้โลกนั้น เป็นโอกาสที่ดีสำหรับการสังเกตการณ์ดาวเสาร์ เนื่องจากสามารถเห็นดาวเสาร์ตลอดคืน และดาวเสาร์มีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย

 

ภาพ : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page
สืบค้นจาก https://www.facebook.com/NARITpage/photos/a.148308931899396.33419.148300028566953/1484103478319928/?type=3&theater เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.60



เนื่องจากดาวเสาร์โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นรูปวงรี ทำให้ระยะห่างของดาวเสาร์ในช่วงที่ดาวเสาร์ใกล้โลกแต่ละครั้งมีค่าไม่เท่ากัน โดยจะอยู่ที่ประมาณ 8-9 AU ซึ่งดาวเสาร์จะใกล้โลกทุกๆ 378 วัน นอกจากนี้ระนาบเส้นศูนย์สูตรและวงแหวนของดาวเสาร์ทำมุมเอียงจากระนาบวงโคจรของดาวเสาร์ ส่งผลให้ลักษณะปรากฏของเสาร์มีความเอียงของวงแหวนและการหันซีกดาวเข้าหาโลกในแต่ละครั้งไม่เหมือนกันอีกด้วย

สำหรับดาวเสาร์ใกล้โลกในปี ค.ศ.2017 ในวันพฤหัสบดีที่ 15 มิถุนายน ค.ศ.2017 ดาวเสาร์อยู่ห่างจากโลก 9.049 AU ซึ่งถือว่าห่างค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับดาวเสาร์ใกล้โลกในปีอื่นๆ โดยดาวเสาร์จะปรากฏอยู่ในบริเวณระหว่างกลุ่มดาวแมงป่องกับกลุ่มดาวคนยิงธนู ซึ่งจะอยู่เหนือขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ในเวลาหัวค่ำ

เมื่อสังเกตดาวเสาร์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่มีขนาดหน้ากล้องและกำลังขยายเพียงพอ เราจะสามารถเห็นวงแหวนหลักของดาวเสาร์แบ่งออกเป็นวงแหวน A และวงแหวน B ได้ รวมถึงดวงจันทร์บางดวงของดาวเสาร์ได้

 

จุดสังเกตปรากฎการณ์ดาวเสาร์ใกล้โลก แนะนำโดย สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ 

 

ภาพ : สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page สืบค้นจาก https://www.facebook.com/NARITpage/photos/a.148308931899396.33419.148300028566953/1483295208400755/?type=3&theater เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 60

 

จุดสังเกตการณ์หลัก 3 แห่ง ได้แก่
1) เชียงใหม่ : บริเวณลานน้ำพุ หน้าศูนย์การค้า เมญ่า ไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้ง เซ็นเตอร์ โทร. 081-8835670
2) นครราชสีมา : หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา โทร. 081-6990343
3) หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา ต.วังเย็น อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา โทร. 084-0882264

พร้อมเครือข่ายในโครงการกระจายโอกาสเรียนรู้ดาราศาสตร์ “77 จังหวัดเปิดฟ้าส่องโลกดาราศาสตร์ เปิดโอกาสเรียนรู้ทั่วหล้า” อีกกว่า 265 โรงเรียนทั่วประเทศ 


กิจกรรมที่น่าสนใจ :


- ส่อง “วงแหวนดาวเสาร์” แบบเต็มตาและ “ดวงจันทร์ไททัน” ดวงจันทร์บริวารของดาวเสาร์ ผ่านกล้องโทรทรรศน์หลากหลายชนิด
- ส่องดาวพฤหัสบดีพร้อมดวงจันทร์บริวารอีก 4 ดวง 
- แนะนำการดูดาวเบื้องต้นและวิธีการใช้แผนที่ดาว
- บรรยายให้ความรู้ทางดาราศาสตร์
 
ตั้งแต่เวลา 18.00-22.00 น.  ไม่มีค่าใช้จ่าย

 

 

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • มหัทธโน
  • 4 Followers
  • Follow