Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

Portfolio : THAITONE COLOR

Posted By Plook Magazine | 12 เม.ย. 60
8,342 Views

  Favorite

 

THAITONE COLOR

 

จากความมุ่งมั่นตั้งใจของ อ.ไพโรจน์ พิทยเมธี ในการศึกษาวิจัยเรื่องเฉดสีของเมืองไทย นำไปสู่เฉดสีที่แสนสวยงามที่มีชื่อว่า "ไทยโทน" สีที่มาจากเอกลักษณ์ความเป็นไทย ซึ่งได้รับความสนใจมาก จนนำไปสู่การต่อยอดทางความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร ในหัวข้อการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากสีไทยโทน

 

โลโก้ ไทยโทน

 

รู้จักสีไทยโทน สีไทยโทนก็คือสีที่ได้จากธรรมชาติ เช่น แร่ธาตุ สมุนไพร ผัก ผลไม้ พืชทางธรรมชาติ มีเฉดสีมากถึง 156 สี นอกจากสีจะสวยน่าใช้แล้ว ชื่อสีก็ยังไพเราะแสดงถึงความเป็นไทยอีกด้วย เช่น สีฝาด สีขาวขาบ สีควันเพลิง สีขี้ผึ้ง สีตากุ้ง สีเขียวนกกะลิง สีโศก สีหงชาด สีบัวโรย สีหงสบาท สีนิลุบน สีนิลกาฬ ฯลฯ ซึ่งทาง อ.ไพโรจน์ ก็ได้นำสีไทยโทนมาใช้ในวิชา usage of colors  ให้นักศึกษาเลือกแล้วออกแบบเป็นโปสเตอร์ผลิตภัณฑ์โดยใช้ระยะเวลาประมาณหนึ่งอาทิตย์

 


 

แรงบันดาลใจจากสีธรรมชาติ


ต่อยอดความคิด เรามีโอากสได้พูดคุยกับข้าวตู-พิชามญชุ์ โอภาสถิรกุล ตัวแทนของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ เล่าถึงขั้นตอนตั้งแต่เริ่มออกแบบว่า “เริ่มจากอาจารย์จะให้ไฟล์สีที่วิจัยขึ้นมาเกี่ยวกับสีไทยโทน จากนั้นนำสีมาดูว่าจะเอาไปทำแบบไหนได้บ้าง ผลิตภัณฑ์อะไรที่น่าจะโชว์สีไทยโทนได้ เพื่อที่จะส่งเสริมสีที่มาจากของไทย จากนั้นก็จะทำการค้นหารูปภาพประกอบสู่การออกแบบ โดยจะกำหนดดีเทลในรูปคือ ชื่อสี เพื่อให้คนรู้จัก ชื่อผลิตภัณฑ์ ที่เหลือก็แล้วแต่จะออกแบบโปสเตอร์ ส่วนโปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบมี Adobe Illustrator ไว้จัดวางหน้ากระดาษ แล้วก็ Adobe Photoshop ในการตัดต่อรูปภาพ บางคนก็ใช้ Digital Painting วาดรูปออกมาเลยค่ะ”



 

วิธีการทำงาน


"ผลงานออกแบบของนักศึกษามีทั้ง กระเป๋า เครื่องสำอาง ของใช้ ของกิน เครื่องเขียน กว่า 52 ชิ้น แต่ละชิ้นมีความสวยงาม เอกลักษณ์โดดเด่น สะดุดตา ไม่เหมือนกัน เพราะมาจากแรงบันดาลใจ ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคน “ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบขึ้นมานั้นต้องน่าดึงดูด น่าสนใจ บางคนใช้เวลาแก้ผลงาน 2-3 รอบ ในการเลือกสีเอามาทำผลิตภัณฑ์ค่ะ" ข้าวตูเล่าถึงความยากในการออกแบบ



 

นักคึกษาภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ ปี 2 ม.ศิลปากร


หลังจากที่ผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ออกสู่สายตามวลชนก็ได้รับความสนใจอย่างมาก หลาย ๆ ผลงานได้รับการติดต่อ มีคนสนใจที่จะนำไปจำหน่าย แต่ผลงานนี้ยังเป็นเพียงขั้นตอนการออกแบบจำลองเท่านั้น ในการพัฒนาเพื่อต่อยอด


 

“สิ่งที่ได้จากวิชาที่เรียนสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิต เช่น เรื่องโทนสี วิธีการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นแบรนด์ของไทย เป็นต้น ถ้าหากมีโอกาสในการผลิตผลงานออกมา ก็ต้องการให้คนทั่วโลกรู้จักและเป็นที่ยอมรับ” ข้าวตูทิ้งท้ายถึงการนำวิชาเรียนมาประยุกต์ใช้ได้จริง

 

ผลงานการสร้างสรรค์ของนักคึกษาภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ ปี 2 ม.ศิลปากร

คลิกที่นี่ https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/57309​

 

 

เรื่อง : วรรณวิสา สุภีโส

 

นิตยสาร Plook

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow