Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

"เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์" ศิลปินแห่งชาติ ผู้สลักความวิจิตรสู่อาหารไทย

Posted By Bonus Jee | 27 ก.พ. 60
9,503 Views

  Favorite

หลายคนอาจจะสงสัยว่าเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 ที่ผ่านมา ทำไม GOOGLE  ถึงได้โชว์รูปผัก ผลไม้แกะสลักสีสันสวยงามลงบนหน้าแรก

ผัก ผลไม้แกะสลักพวกนี้มีความสำคัญอย่างไร เเละใครเป็นผู้ริเริ่มการสรรค์สร้างงานศิลปะเหล่านี้ลงบนอาหารไทย?

 

24 กุมภาพันธ์ วันศิลปินแห่งชาติ ผู้สืบสานศิลปะไทย

ภาพวาดฝีมือการแกะสลักอาหารของ "เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์" ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประณีตศิลป์ – แกะสลักเครื่องสด) ประจำปี พ.ศ. 2552 ถูก Google เลือกมาแสดงขึ้นในหน้าหลักของเว็บไซต์เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เนื่องด้วยวันที่ 24 กุมภาพันธ์เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระปฐมบรมศิลปิน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้จัดเป็นวันยกย่องศิลปินแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนศิลปินไทยให้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท 

 

https://www.google.com/doodles/celebrating-penpan-sittitrai
ภาพวาดการแกะสลักเครื่องสด จาก, https://www.google.com/doodles/celebrating-penpan-sittitrai

 

 

https://daily.rabbit.co.th/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4-2559
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ผู้ทรงเป็นพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์  จาก, https://daily.rabbit.co.th/วันศิลปินแห่งชาติ-2559

 

"เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์" ศิลปินแห่งชาติผู้สลักความงามสู่อาหารไทย

อาจารย์เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ ศิลปินนักแกะสลัก เกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2469 ที่จ.สกลนคร จบการศึกษาประโยควิชาชีพชั้นสูง โรงเรียนการช่างสตรีพระนครใต้ และได้รับปริญญาครุศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ โปรแกรมวิชาคหกรรมศาสตร์ทั่วไป วิทยาลัยครูจันทรเกษม ก่อนเริ่มทำงานเป็นครูโรงเรียนการช่างสตรี จ.สกลนคร และย้ายไปสอนวิชาศิลปะประดิษฐ์และจริยศึกษาตามโรงเรียนทั้งในต่างจังหวัดและกรุงเทพมหานคร จนกระทั่งเกษียณอายุราชการ ก็ยังคงพร่ำสอนวิชาความรู้การแกะสลักสืบไปให้คนรุ่นหลังทุกเชื้อชาติโดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ ตราบจนสิ้นลมหายใจลงเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558

 

http://news.trueid.net/detail/33416
 เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ จาก, http://news.trueid.net/detail/33416

 

http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9580000087784
 เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ จาก, http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9580000087784

 

http://www2.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000139317
 เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์ จาก, http://www2.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000139317

 

·ผัก ผลไม้ ใบตอง ดอกไม้สด เมื่ออยู่ในมือของอาจารย์เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์แล้ว ทุกสิ่งล้วนสรรค์สร้างผ่านมีดปลายแหลม และฝีมือการแกะสลักอันคมกริบจนกลายเป็นงานศิลปะได้ทั้งสิ้น ท่านเป็นผู้ริเริ่มคิดต้นการทำอาหารแบบวิจิตร และการแกะสลักเครื่องสดเป็นรูปต่างๆ จนมีชื่อเสียงมายาวนานกว่า 50 ปี 

 

·ผลงานของอาจารย์มักมีรูปแบบในการรังสรรค์ให้สวยงามตามแบบธรรมชาติ ท่านสามารถเนรมิตให้เแตงโม กลายเป็นหงส์สง่างาม มะม่วงดิบกลายเป็นกระต่ายตัวน้อย และหัวมันฝรั่งทั้งหลายกลับกลายเป็นฝูงเป็ดได้ หรือแม้กระทั่งการรังสรรค์อาหารธรรมดาอย่างหัวเผือก หัวมันหรือกระเทียมให้กลับกลายเป็นกอบัวได้อย่างวิจิตรงดงาม  ดูเหมือนว่างานศิลปะที่ถูกถ่ายทอดผ่านอาหารนี้ เป็นสิ่งที่ท่านได้รับมาจากครอบครัว ด้วยคำสัมภาษณ์ที่ท่านเคยให้ไว้ว่า

 

"ตระกูลวชิโรดม(นามสกุลเดิม) เป็นตระกูลสร้างวัดค่ะ 

งานแกะสลัก ก็ได้ฝึกมือมาตั้งแต่ตอนนั้น 

เพราะตามประสาคนต่างจังหวัด

มีทั้งงานแห่เทียนเข้าพรรษาและแห่ปราสาทผึ้ง 

ที่ต้องร่วมแรงร่วมใจกันทำสิ่งเหล่านี้ถวายวัด"

 

http://www2.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000139317
ผลงานการแกะสลักผัก ผลไม้ จาก, http://www2.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000139317

 

http://www2.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000139317
ผลงานการแกะสลักผัก ผลไม้ จาก, http://www2.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000139317

 

http://www2.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000139317
ผลงานการแกะสลักผัก ผลไม้ จาก, http://www2.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000139317
 
http://www2.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000139317
ผลงานการแกะสลักผัก ผลไม้ จาก, http://www2.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000139317

 

http://www2.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000139317
ผลงานการแกะสลักผัก ผลไม้ จาก, http://www2.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000139317

 

ผลงานที่สำคัญ

ผลงานการแกะสลักของอาจารย์นั้นเป็นที่รู้จักและยอมรับโดยทั่วไป เพราะนอกจากจะงดงามเป็นธรรมชาติแล้ว ยังได้พัฒนารูปแบบ ลวดลาย เนื้อหา และวิธีการนำเสนอให้กว้างขวางขึ้นสู่สายตาชาวโลก โดยอาจารย์ได้เผยแพร่ผลงานตำราวิชาการ ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ลูกศิษย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ และยังเป็นผู้ริเริ่มจัดงานประกวดการแกะสลักผัก ผลไม้ คนแรกของเมืองไทยอีกด้วย

 

http://www.lungkitti.com/product.detail_846905_th_6194542
ตำราวิชาการด้านการแกะสลัก จาก, http://www.lungkitti.com/product.detail_846905_th_6194542

 

งานแกะสลักของอาจารย์ ไม่เพียงแต่ได้อวดโฉมอยู่บนโต๊ะอาหารเท่านั้น  แต่ยังสามารถสร้างสรรค์นำมาประยุกต์ใช้ตกแต่งในงานเลี้ยง งานพิธีต่าง ๆ ได้อย่างสวยงามอาทิเช่น

•การซ่อมแซมเพดานเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ โดยปักลายผ้าตกแต่งเรือ และเรือในขบวนทั้งหมดในงานฉลองกรุงรัตน โกสินทร์ 200 ปี

•รับสนองพระบรมราชโองการประดิษฐ์ผักและแกะสลักผลไม้ในงานเลี้ยงรับรองราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ และงานเลี้ยงสโมสรสันนิบาตในวันฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ที่พระบรมมหาราชวัง

•ประดิษฐ์ดอกมะลิจากแห้วจำนวน 500 ดอก ในงานอภิเษกสมรสสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เมื่อปีพ.ศ. 2528

•ประดิษฐ์มะพร้าวอ่อน 250 ผลเป็นผอบ เพื่อส่งไปงานเลี้ยงพระราชทานที่สหรัฐอเมริกา ในคราวที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เผยแพร่งานศิลปวัฒนธรรมของไทย

 

เกียรติรางวัลที่ได้รับ

•ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาช่างฝีมือ (ศิลปะการแกะสลักผัก ผลไม้ ใบตอง ดอกไม้สด) จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ.2532

•ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปะ จากกรมศิลปากรในปี พ.ศ. 2542

•ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประณีตศิลป์ – แกะสลักเครื่องสด) ประจำปี พ.ศ. 2552 

•บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาเผยแพร่เกียรติภูมิของไทยในปี พ.ศ. 2554 คัดเลือกโดย สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ 
•เกียรติบัตรผู้อนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมงานช่างแกะสลักผักผลไม้ ในการขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาปี พ.ศ. 2557

 

แม้ปัจจุบันวงการแกะสลักไทย จะสิ้นศิลปินแห่งชาติ "เพ็ญพรรณ สิทธิไตร" ไปแล้ว  แต่ด้วยคุณูปการของท่านต่อวงการศิลปะไทย และองค์ความรู้ที่ได้ถ่ายทอดสู่ผู้คนรุ่นลูก รุ่นหลานนั้น จะกลายเป็นสมบัติอันล้ำค่าของแผ่นดินไทยสืบต่อไปในอนาคต 

 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  ประวัติและผลงาน"อาจารย์เพ็ญพรรณ สิทธิไตรย์"

 

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Bonus Jee
  • 0 Followers
  • Follow