Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ประติมากรรมประดับพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ (ตอนที่ ๑)

Posted By Plookpedia | 10 ก.พ. 60
21,619 Views

  Favorite

พระเมรุมาศและประติมากรรมประดับพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ มีรูปแบบการก่อสร้างที่สมพระเกียรติและยิ่งใหญ่ตามแนวคิดเรื่องคติจักรวาลของศาสนาพราหมณ์ฮินดูและพุทธศาสนา    

 

พระเมรุมาศทรงบุษบก 9 ยอด, จาก http://www.matichon.co.th/news/442959
พระเมรุมาศทรงบุษบก ๙ ยอด, จาก http://www.matichon.co.th/news/442959

 

พระเมรุมาศเปรียบเป็นสัญลักษณ์แทนเขาพระสุเมรุอันเป็นศูนย์กลางของจักรวาล โดยรอบพระเมรุมาศปรากกฏซึ่งอาคารบุษบกน้อยใหญ่ที่รายล้อมเปรียบได้กับเขาสัตบริภัณฑ์ หรือเขาบริวารทั้ง ๗ ของยอดเขาพระสุเมรุ ตามคติพราหม์ฮินดูและพุทธได้กล่าวถึงเขาพระสุเมรุไว้ว่าเป็นดินแดนแห่งสรวงสวรรค์ที่มีเทพ เทวดา และสัตว์ป่าหิมพานต์อาศัยอยู่ บริเวณรอบพระเมรุมาศจึงประกอบไปด้วยประติมากรรมรูปต่าง ๆ ที่สื่อความหมายถึงชีวิตในแดนสุขาวดี

 

เนื่องจากบนยอดเขาพระสุเมรุนั้นเป็นที่ตั้งแห่งสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อันมีผู้ปกครองสูงสุดคือ พระอินทร์ ผู้เป็นใหญ่เหนือเทวดาทั้งปวง  จึงสามารถโยงเข้ากับคติเกี่ยวกับพระนามของกษัตริย์ผู้เป็น “อินทราชา” ได้ ทั้งยังเกี่ยวข้องกับพระอิศวรหรือพระศิวะ หนึ่งในเทพตรีมูรติผู้สถิต ณ เขาไกรลาสตามคติ “เทวราชา” และพระวิษณุหรือพระนารายณ์ หนึ่งในเทพตรีมูรติผู้สถิต ณ เกษียรสมุทรเพื่อคอยรักษาและคุ้มครองโลกตามคติ “รามราชา” ได้อีกด้วย การที่พระบรมศพได้รับอัญเชิญมากระทำพิธีที่พระเมรุมาศจึงเปรียบได้กับเทพเจ้าที่เสด็จกลับมายังแดนสวรรค์นั่นเอง

การถวายพระเพลิงพระบรมศพที่พระเมรุมาศจึงเปรียบเสมือนการส่งเสด็จกษัตริย์กลับสู่สวรรค์ยังเขาพระสุเมรุตามคติความเชื่อเรื่องสมมติเทพที่ว่ากษัตริย์ทรงเป็นเทพที่อวตารลงมาเพื่อปกครองมวลมนุษย์

ต้นแบบงานศิลปกรรมที่ใช้จัดสร้างประติมากรรมประดับพระเมรุมา

กลุ่มประติมากรรม สำนักช่างสิบหมู่ ได้คัดลอกลวดลายศิลปกรรมมาจากภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ภาพจากสมุดจิตรกรรมภาพสมุดไทยและภาพสมุดข่อยที่เป็นภาพวาดพระราชพิธีโบราณ รวมถึงประติมากรรมสัตว์หิมพานต์ที่ประดับอยู่บริเวณปราสาทพระเทพบิดรภายในวัดพระศรีรัตนศาสดารามนำมาเป็นต้นแบบในการปั้นรูปหล่อ เทพ เทวดา สัตว์มงคลประจำทิศ สัตว์หิมพานต์ต่าง ๆ โดยปราศจากการเพิ่มเติมเสริมแต่งจินตนาการใด ๆ ขึ้นมาใหม่

 

https://www.dmc.tv
https://www.dmc.tv

ภาพไตรภูมิจากสมุดข่อยฉบับหลวง สมัยธนบุรี, 

จาก https://www.dmc.tv/pages/ความรู้รอบตัว/บูรพกษัตริย์ไทยกับพระไตรปิฎก.html

มีการปั้นรูปหล่อประติมากรรมทั้งหมดกว่า ๔๒๑ รายการ ได้แก่ เทวดายืนรอบพระเมรุมาศ ๑๒ องค์ เทวดานั่ง ๕๖ องค์  องค์มหาเทพ ๔ องค์ ได้แก่ พระศิวะ พระนารายณ์ พระอินทร์ พระพรหม  ครุฑยืนรอบพระเมรุมาศทั้ง ๔ ทิศ ทิศละ ๑ คู่ ท้าวจตุโลกบาลทั้ง ๔ และสัตว์มงคลประจำทิศ ได้แก่ ช้าง ม้า โค สิงห์ ทั้ง ๔ ทิศ ทิศละ ๑ คู่ ตลอดจนสัตว์หิมพานต์ต่าง ๆ และมีประติมากรรมประดับรอบชั้นฐานและยอดของพระเมรุมาศ 

การทำงานของกลุ่มประติมากรรมสำนักช่างสิบหมู่ , จาก https://www.facebook.com/sculpturefineart

กลุ่มประติมากรรม สำนักช่างสิบหมู่กำลังปั้นสัตว์หิมพานต์, 

จาก https://www .facebook.com/ sculpturefineart/

พระพรหม 1 ในมหาเทพประดับพระเมรุมาศ , จาก https://www.facebook.com/sculpturefineart/

ทวยเทพประดับพระเมรุมาศ,

จาก https://www.facebook.com/sculpturefineart/

https://www .facebook.com/ sculpturefineart/
 "ม้า" สัตว์มงคลประจำทิศ ประดับบริเวณบันไดทางด้านตะวันตกของพระเมรุมาศ,
จาก https://www.facebook.com/sculpturefineart/

คติจักรวาลกับการจัดวางประติมากรรรมประดับพระเมรุมาศ

การจัดวางประติมากรรมเพื่อประดับพระเมรุมาศได้ยึดเอาแนวคิดเรื่องคติจักรวาลเข้ามาผนวกเช่นเดียวกันกับการจัดวางผังของสถาปัตยกรรม ประติมากรรมแต่ละชิ้นนั้นจะมีความหมายเฉพาะตัว และมีการจัดวางโดยเรียงลำดับชั้นให้สอดคล้องกันกับชั้นของพระเมรุมาศ เป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงสวรรค์ชั้นภูมิต่าง ๆ อันเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หิมพานต์ และเหล่าเทพ เทวดาในแต่ละชั้น

         

รูปด้านและแผนผังแสดงการจัดวางประติมากรรมประดับพระเมรุมาศ

 

http://www.matichon.co.th/news/429307
รูปด้านแสดงตำแหน่งประติมากรรมสัตว์หิมพานต์ จาก, http://www.matichon.co.th/news/429307

 

http://www.matichon.co.th/news/429307
รูปด้านแสดงตำแหน่งประติมากรรมเทวดา จาก, http://www.matichon.co.th/news/429307

 

 

http://www.matichon.co.th/news/429307
แผนผังการจัดวางประติมากรรมจากมุมมองมองด้านบน, จาก http://www.matichon.co.th/news/429307

•  ชั้นฐาน คือ ลานพื้นอุตราวรรต  เปรียบได้กับเชิงเขาพระสุเมรุ สถานที่ตั้งของป่าหิมพานต์  จึงมีสระอโนดาตจำลอง และประติมากรรมรูปสัตว์หิมพานต์

•  ชั้นชาลาที่ ๑ เปรียบได้กับสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ หรือสวรรค์ชั้นแรกที่อยู่ใกล้โลกมนุษย์ และมีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตมากที่สุด มีท้าวจตุโลกบาลคอยปกปักรักษาทิศทั้ง ๔ จึงปรากฏประติมากรรมรูปท้าวจตุโลกบาล สัตว์หิมพานต์ และเทวดาชั้นต่าง ๆ 

•  ชั้นชาลาที่ ๒ ปรากฏประติมากรรมรูปครุฑเป็นสำคัญ  เนื่องจากครุฑเป็นสัญลักษณ์แทนพระพาหนะที่จะคอยติดตามองค์กษัตริย์ไปในทุกที่ ๆ 

•  ชั้นชาลาที่ ๓ เป็นคติพราหมณ์ฮินดูและพุทธที่ผสมผสานกัน โดยนำมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง ๔ องค์มาร่วมสถิต ณ ชั้นฐานเดียวกัน และมีเทวดามาเฝ้ารับเสด็จองค์กษัตริย์

 ชั้นชาลาที่ ๔ คือ ที่ตั้งพระจิตกาธาน (แท่นถวายพระเพลิงพระบรมศพ) สำหรับประดิษฐานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ 

การสร้างประติมากรรมประกอบพระเมรุมาศในครั้งนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการปั้นหุ่นต้นแบบ จากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการขยายแบบจริงต่อไป โดยจะดำเนินการ ณ โรงขยายแบบบริเวณทิศใต้ของสนามหลวง ซึ่งในบทความตอนต่อไป เราจะกล่าวถึงคติความเชื่อเกี่ยวกับทวยเทพแต่ละองค์ และเหล่าสัตว์หิมพานต์ว่ามีความสำคัญต่อพระราชพิธีพระบรมศพและพระเมรุมาศอย่างไร

 

 

 

 

 

    

แหล่งข้อมูล
กรมศิลป์จัดทำภาพ 3 มิติพระเมรุมาศสุดอลังการ เผยภาพจิตรกรรมเขียนแบบศิลปะ ร.9 มีคุณทองแดงนั่ง สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560
กรมศิลป์โชว์ภาพ 3 มิติ พระเมรุมาศในหลวงรัชกาลที่ 9 สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560
คติไตรภูมิกับการสร้างพระเมรุและพระเมรุมาศ สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560
จัดสร้างเทวดาประกอบพระเมรุมาศ สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560
ประวัติราชประเพณีพระบรมศพ สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560
ปั้นเทวรูปใช้ต้นแบบวัดพระแก้ว สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560
เปิดตัว “ก่อเกียรติ ทองผุด” เปิดเบื้องหลังการออกแบบ “พระเมรุมาศ 9 ยอด” สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560
สภาปัตยกรรมในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพจากอยุธยาถึงต้นรัตนโกสินทร์ : กระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงในการสร้างสรรค์ สืบค้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560
หิมพานต์อยู่ที่ไหน สืบค้นเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560
อธิบายสวรรค์ 6 ชั้นแบบละเอียดยิบ สืบค้นเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560
อลังการ ‘พระเมรุมาศ ร.9’ จำลอง ‘เขาพระสุเมรุ-ป่าหิมพานต์’ อัญเชิญ ‘เทพยดา’ ร่วมรับเสด็จ..ส่งสู่สวรรคาลัย สืบค้นเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560
14 ประติมากรรม ประดับตกแต่งพระเมรุมาศ ‘ร.9’ สืบค้นเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560
ลงเสาหลักพระเมรุมาศปลายมีนาคมเร่งสร้างประติมากรรมประกอบ สืบค้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2560
เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow