Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

การบริหารความเสี่ยงสําหรับสถานศึกษา (Risk Management for Schools)

Posted By Plook Teacher | 02 พ.ย. 59
45,297 Views

  Favorite

 

โดย บริษัท เอสซีจีเคมิคอลส จํากัด

ความสําคัญของการบริหารความเสี่ยง

         ความไม่แน่นอนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่มาจากปัจจัยภายในและภายนอกสามารถ ส่งผลกระทบต่อองค์กรทั้งทางบวกและทางลบ โดยที่ผลกระทบทางบวกถือว่าเป็นโอกาสที่องค์กรสามารถแสวงหาผลประโยชน์และความได้เปรียบ ขณะที่ผลกระทบทางลบสามารถทําให้เกิดความสูญเสียซึ่งเป็นปัญหาและความเสี่ยงต่อองค์กร

 

         อย่างไรก็ตามความไม่แน่นอนไม่สามารถควบคุมได้แต่เราสามาถจัดการกับความเสี่ยงได้โดยการวิเคราะห์โอกาสและผลกระทบของเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปจากอิทธิพลของความไม่แน่นอน เพื่อหาวิธีการจัดการ, การเตรียมการที่เหมาะสมไว้ล่วงหน้า รวมถึงการควบคุมและการตรวจสอบ การบริหารความเสี่ยงจึงเป็นเครื่องมือสําคัญที่จะช่วยให้องค์กรเกิดความมั่นใจในการดําเนินกิจกรรมต่างๆได้สําเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร ทั้งยังช่วยจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ

 

         ผู้บริหารสถานศึกษาจึงควรส่งเสริมให้การบริหารความเสี่ยงเป็นของวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้บุคคลากรที่เกี่ยวข้องมีความรู้และเข้าใจเรื่องการบริหารความเสี่ยง เกิดการตระหนักรู้ความเสี่ยงและนํามาใช้ในการบริหารงานในชีวิตประจําวันได้

 

กระบวนการบริหารความเสี่ยง

         เพื่อช่วยให้การบริหารความเสี่ยงเป็นไปอย่างมีระบบ สามารถทําการควบคุมและตรวจสอบได้ ดังนั้นการกําหนดกรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กรตามมาตรฐานสากล ซึ่งประกอบด้วย การกําหนดนโยบายในเรื่องการบริหารความเสี่ยงที่ชัดเจนจากผู้บริหารองค์กร โครงสร้างการบริหารความเสี่ยง บทบาทหน้าที่ในการกํากับดูแลรวมถึงหลักเกณฑ์และแนวทางในการบริหารความเสี่ยงที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งองค์กร โดยมีกระบวนการและวิธีการในการบริหารความเสี่ยงดังนี้

 

กรอบการกําหนดความเสี่ยงในสถานศึกษา : ระดับการศึกษาขั้นพื้นพื้นฐาน

         เพื่อช่วยในการพิจารณาความเสี่ยงพื้นฐานที่สําคัญต่อการบริหารองค์กรให้สามารถวิเคระห์ปัจจัย เสี่ยงทั้งที่มาจากภายในและภายนอก และมีโอกาสที่จะส่งผลกระทบตามเป้าหมายองค์กรที่กําหนดไว้ได้โดยทั่วไปการบริหารความเสี่ยงแบ่งเป็น 2 ระดับคือ

 

         1. ระดับกลยุทธ์ (Strategic Risk) เน้นเรื่องการบริหารงานองค์กรที่ต้องมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่กําหนดไว้เพื่อทําให้เกิดความมั่นใจในการนํากลยุทธ์ไปปฏิบัติได้ตามแผนและก่อให้เกิดความได้เปรียบและสามารถแข่งขันได้ในอนาคต
         2. ระดับปฎิบัติการ (Operational Risk) เน้นเรื่องการพัฒนาบุคคลากรให้มีทักษะความชํานาญการในเรื่องต่าง ๆ รวมถึงความตระหนักรู้ความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อเป้าหมายขององค์กร

ตัวอย่างการระบุความเสี่ยง ตามประเภทของความเสี่ยงในสถานศึกษา

เพื่อเป็นแนวทางในการระบุความเสี่ยงที่มีโอกาสทําให้เกิดผลกับเป้าหมายขององค์กรได้ในอนาคต

ปญหา อุปสรรคและแนวทางแกไข

 

หมายเหตุ : * วัฒนธรรมความเสี่ยง (Risk Culture) หมายถึง การที่พนักงานทุกคนในองค์กรมีความเข้าใจและความตระหนักรู้ในเรื่องความเสี่ยง และสามารถนํากระบวนการบริหารความเสี่ยงไปใช้ในการปฎิบัติงานตามปกติได้ โดยทั่วไปการนําไปปฎิบัติประกอบด้วย 2 ส่วนคือ (1) ค่านิยม (Value) โดยการบูรณาการเข้าไปในกระบวนการทํางาน และ (2) ความเชื่อ (Believe) โดยการปลูกฝังให้มีแนวคิดในทางบวกเพื่อหาทางป้องกันไม่ใช่การจับผิด

 

คําถามเพื่อการนําไปสู่ Action Learning
1. การบริหารความเสี่ยงมีความสําคัญต่องานบริหารสถานศึกษาอย่างไร
2. ทัศนคติของผู้บริหารต่อการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษาควรเป็นอย่างไร
3. การบริหารสถานศึกษาในแต่ละด่านอาทิ ด้านงบประมาณ , ด้านวิชาการ, ด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ, ด้านบุคคลากร, ด้านงานบริหารทั่วไป และด้านกิจการเกี่ยวกับนักเรียนนั้น ผู้บริหารสามารถระบุความเสี่ยง แต้ละด้าน และสามารถจัดลําดับความสําคัญของความเสี่ยงนั้น เพื่อการจัดการได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

KPIs
ผู้บริหารสถานศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีการจัดทำรายงานความเสี่ยง ตามขั้นตอนที่กำหนด เริ่มจากการระบุความเสี่ยง , การวิเคราะห์ความเสี่ยง และการจัดทำแผนการป้องกันหรือแก้ไขความเสี่ยงนั้น ประกอบการเสนออนุมัติทุกครั้งที่ขอรับการสนับสนุนจาก School partner ไม่น้อยกว่า 1 โครงการภายในสิ้นปี 2559

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plook Teacher
  • 127 Followers
  • Follow