Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

วันก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป

Posted By Plook Panya | 25 มี.ค. 60
8,241 Views

  Favorite

25 มีนาคม พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957)
วันก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป 

มีการรวมตัวกันของประเทศในแถบยุโรป 6 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ลักเซมเบิร์ก และเนเธอร์แลนด์ เพื่อลงนามสนธิสัญญาโรมร่วมกันและก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Econcmic Community) ภายหลังได้เปลี่ยนเป็นประชาคมยุโรป (European Community) อันเป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบูรณาการทางเศรษฐกิจ เเละเป็นสถาบันหลักของสหภาพยุโรป 

 

ที่มาของการก่อตั้ง

•พ.ศ. 2493  ประเทศฝรั่งเศสมีโครงการจะก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป (The European Coal and Steel Community : ECSC) ขึ้น เพื่อช่วยยกฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศในยุโรป และสร้างพื้นฐานก่อนก้าวไปสู่การเป็นสหพันธรัฐในอนาคต ฝรั่งเศสจึงได้ขอความร่วมมือจากประเทศต่างๆในยุโรป โดยแถลงการณ์ต่อบรรดาผู้แทนของหนังสือพิมพ์ทั่วโลก ในตอนนั้นมีประเทศเยอรมนี เบลเยี่ยม อิตาลี ลักเซมเบิร์ก และเนเธอร์แลนด์ ที่ตกลงเข้าร่วมเป็นสมาชิก และได้จัดตั้งเป็นองค์การนี้ขึ้นอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2494

 

•ต่อมาผู้นำทั้ง 6 ได้ร่วมกันจัดตั้งองค์การป้องกันยุโรป (European Defence Council : EDC) ขึ้นอีกองค์การหนึ่ง เพื่อให้ประเทศสมาชิกได้มีความร่วมมือกันทางการเมือง และเพื่อเป็นการสนับสนุนองค์การนาโตด้วย แต่รัฐสภาของฝรั่งเศสกลับไม่ยอมให้สัตยาบัน

 

•ด้วยความจำเป็นที่ยุโรปจะต้องมีนโยบายต่างประเทศร่วมกัน รัฐมนตรีการต่างประเทศของประเทศสมาชิกทั้ง 6 จึงมอบหมายหน้าที่ให้สภาของประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรปเตรียมโครงการ จัดตั้งประชาคมการเมืองยุโรป (European Political Community : EPC) ขึ้น เพื่อเสนอต่อรัฐบาลของประเทศทั้ง 6 โดยองค์การนี้มีจุดประสงค์ที่จะดำเนินนโยบายทางการต่างประเทศและการป้องกันประเทศ แต่ก็ถูกวิจารณ์อย่างรุนแรง จนต้องล้มเลิกโครงการไป

 

ประเทศทั้ง 6 จึงเปลี่ยนแนวทางจากการรวมตัวทางการเมือง มาเป็นการรวมตัวทางเศรษฐกิจแทน และได้ร่วมมือกันต่อตั้งกลุ่ม "ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปหรือตลาดร่วมยุโรป" (The European Economic Community : EEC) และ "ประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรปหรือยูเรตอม" (European Atomic Energy Community : EAEC 
หรือ Euratom) 
ขึ้นใน พ.ศ.2500 โดยการก่อตั้งองค์การทั้ง 2 นี้ ได้แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่สำคัญของยุโรปตะวันตก 

 

การขยายความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรป

เมื่อพ.ศ. 2510  มีการเสริมสร้างความมั่นคงให้แก่ทวีปยุโรป โดยพัฒนาเศรษฐกิจให้เป็นแบบตลาดร่วมหรือตลาดเดียวเพื่อผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ  ด้วยการรวมองค์การบริหารของประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรปหรือยูเรตอมเข้าด้วยกัน และเรียกชื่อใหม่ว่า "ประชาคมยุโรป" (European Community : EC) โดยมีประเทศสมาชิกใหม่เข้าร่วมเพิ่มเติมตามลำดับดังนี้

    •พ.ศ. 2516 : เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร

           • พ.ศ. 2524 : กรีซ

            •พ.ศ. 2529 : โปรตุเกส สเปน

 

กระทั่งวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2536 จึงได้ใช้ชื่อเป็น "สหภาพยุโรป" (European Union : EU) โดยเพิ่มบทบาทการเป็นองค์การทางด้านการเมืองระหว่างประเทศด้วย นอกเหนือจากการเป็นองค์การที่ให้ความร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกเพียงอย่างเดียว  ภายใต้สนธิสัญญามาสทริกต์ (Maastricht Treaty) อันมีเสาหลัก 3 ประการ คือ (1) ประชาคมยุโรป (2) นโยบายร่วมด้านการต่างประเทศและความมั่นคง และ (3) ความร่วมมือด้านกิจการยุติธรรมและกิจการภายใน 
โดยมีเป้าหมายสุดท้ายอยู่ที่การเป็นหนึ่งเดียว คือมีนโยบายด้านการเมือง การต่างประเทศ เศรษฐกิจการเงิน และสังคม เพียงนโยบายเดียว มีการเคลื่อนย้ายประชากร แรงงาน สินค้าบริการ  และเงินทุนได้อย่างเสรี ปราศจากอุปสรรคระหว่างกัน

 

ภายหลังได้มีประเทศสมาชิกใหม่เข้าร่วมอีกมากมาย และในปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) ได้มีประเทศสมาชิกรวมแล้วทั้งสิ้น 27 ประเทศ จากเดิมที่มี 28 ประเทศ โดยประเทศอังกฤษเป็น 1 ในสมาชิก EU  ที่เพิ่งลาออกจากการเป็นสมาชิกไปเมื่อ พ.ศ.2559 อ่านเพิ่มเติมที่นี่ : https://th.wikipedia.org/wiki/การออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร

 

 

http://www.schengenvisainfo.com/eu-countries/
ธงของสหภาพยุโรป ดาวสีเหลืองที่ล้อมรอบเป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จาก, http://www.schengenvisainfo.com/eu-countries/

 

 

http://www.schengenvisainfo.com/eu-countries/
ธงสหภาพยุโรป และประเทศสมาชิก จาก, http://www.schengenvisainfo.com/eu-countries/

 

 

http://farrellworldcultures.karnscity.wikispaces.net/European+Union+Page
แผนที่ประเทศสมาชิกในสหภาพยุโรป จาก, http://farrellworldcultures.karnscity.wikispaces.net/European+Union+Page

 

 

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Panya
  • 7 Followers
  • Follow