Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

กรุงปารีส เปิดให้ประชาชนเข้าชมหอไอเฟลอย่างเป็นทางการวันเเรก

Posted By Plook Panya | 31 มี.ค. 60
5,997 Views

  Favorite

31 มีนาคม พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889)
กรุงปารีส เปิดให้ประชาชนเข้าชมหอไอเฟลอย่างเป็นทางการวันเเรก 

กรุงปารีส เปิดให้ประชาชนเข้าชมหอไอเฟล (Eiffel Tower) อย่างเป็นทางการวันเเรก โดยหอไอเฟลจัดเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส และมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก เนื่องจากเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีความสูงที่สุดในโลกในขณะนั้น เป็นเวลาสืบเนื่องมากว่า 40 ปี

 

วันนั้นได้มีการจัดพิธีเปิดหอไอเฟลที่ใช้แสดงในงานนิทรรศการปารีสและการฉลองครบรอบร้อยปีแห่งการปฏิวัติฝรั่งเศส  โดยมี "อเล็กซานเดอร์ กุสตาฟ ไอเฟล" (Gustave Eiffel) วิศวกรชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างเป็นคนแรกที่เดินขึ้นบันไดไป 1,710 ขั้น สู่จุดสูงสุดของหอคอยเป็นระยะกว่า300 เมตร แล้วแขวนธงชาติ 3 สีของฝรั่งเศสให้โบกไสวอยู่บนยอดหอคอย

http://gustave--eiffel.weebly.com/conclusion.html
"กุสตาฟ ไอเฟล" วิศวกรชาวฝรั่งเศส
จาก, http://gustave--eiffel.weebly.com/conclusion.html

 

 

Eiffel Tower opens - Mar 31, 1889 - HISTORY.com
On this day in History, Eiffel Tower opens on Mar 31, 1889. Learn more about what happened today on History.

ภาพสารคดีวันเปิดหอไอเฟล จาก, http://www.history.com/this-day-in-history/eiffel-tower-opens?cmpid=mrss_int_taboola_video_his

 

ที่มาของหอคอยไอเฟล

•วันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ.1789  ชาวปารีสได้เข้าโจมตีชนชั้นสูง บุกยึกคุกบาสติลย์  (Bastille)  อันมีผู้ที่มีความคิดขัดแย้งทางการเมืองถูกคุมขังอยู่ ผู้รักชาติทั้งหลายต่างรวมตัวกันเพื่อต่อต้านชนชั้นปกครอง เพื่อเป็นการปฏิวัติการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญขึ้นแทน และสร้างพื้นฐานสำหรับการเคลื่อนไหวในประชาธิปไตยยุคใหม่ อันเป็นเหตุการณ์หนึ่งในการปฏิวัติฝรั่งเศส

 

•อีก 1 ศตวรรษต่อมาหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ความภาคภูมิใจของผู้คนในประเทศกลับถูกบั่นทอนด้วยความพ่ายแพ้ต่อกองทัพเยอรมันในปี 1870 ฝรั่งเศสจึงคิดจัดงานแสดงสินค้านานาชาติขึ้นและฉลองการครบรอบร้อยปีแห่งการปฏิวัติฝรั่งเศส เพื่ออวดโฉมแก่ชาวโลกถึงความยิ่งใหญ่ และความร่ำรวยของฝรั่งเศส จึงได้เกิดการสร้างศิลปะชิ้นเอกขึ้น เป็นหอคอยขนาดยักษ์ที่แสดงงความสำเร็จในด้านอุตสาหกรรม และวิศวกรรมของฝรั่งเศส
 

ภาพจาก, pixabay
หอไอเฟล จาก, pixabay

 

การก่อสร้างหอไอเฟล

•หอไอเฟลได้รับการออกแบบและก่อสร้างในปี 1839 และถูกตั้งชื่อตามผู้ออกแบบคือ "กุสตาฟ ไอเฟล" (Gustave Eiffel)  โดยมีน้ำหนักถึง 7,300 ตัน ความพิเศษของหอคอยยักษ์นี้ คือ บนยอดของมันสามารถเบนออกจากแสงอาทิตย์ที่ส่องมายังยอดหอคอยได้ถึง 7 นิ้ว โดยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และการขยายตัวของเหล็กเมื่อได้รับความร้อนในด้านที่หันหน้าเข้าหาแสงอาทิตย์ 

 

•นอกจากนี้ตัวหอคอยยังสามารถแกว่งตัวตามแรงลมได้อยู่ในระยะ 5 นิ้ว หอไอเฟลจึงถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงการก่อสร้างหอคอยให้แกว่งได้โดยไม่คำนึงถึงหลักวิศวกรรมศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตาม "กุสตาฟ ไอเฟล" นั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างสะพานต่าง ๆ อยู่แล้ว และเข้าใจเรื่องของแรงลมเป็นอย่างดี หอคอยไอเฟลจึงมีความแข็งแรง และอยู่ยงคงกระพันมาถึงทุกวันนี้  อย่างไรก็ตามหอไอเฟลก็ไม่อาจพ้นจากข้อครหาได้ เมื่องานศิลปะชิ้นนี้กลับถูกพวกศิลปินโจมตีอย่างหนักว่าเป็นงานศิลปะที่ดูไม่มีความเป็นศิลปะเอาเสียเลย และกลัวว่าหอคอยแห่งนี้จะทำลายทัศนียภาพของกรุงปารีส

 

•หอคอยแห่งนี้ใช้คนงานก่อสร้างถึง 300 คน เพื่อประกอบเหล็กจำนวน 18,038 ชิ้น เข้าด้วยกัน โดยใช้หมุดถึง 2.5 ล้านตัว  วิศวกร 50 คนต้องช่วยกันร่างแบบจำนวนมากถึง 5,300 แผ่น เพื่อใช้ในพื้นที่ก่อสร้าง และต้องใช้เวลาถึง 4 เดือน ในการทำฐานราก และใช้เวลาถึง 2 ปี 2 เดือน กับอีก 5 วัน หอคอยนี้จึงสร้างเสร็จสมบูรณ์

 

http://www.history.com/topics/eiffel-tower/videos/seven-wonders-the-eiffel-tower
คนงานบนหอไอเฟล จาก, pixabay

 

 

http://www.thamwebsite.com/cty/tiplearn/old/pages/eiffel.htm
หมุด 2.5 ล้านตัวที่ใช้ยึดบนหอไอเฟล จาก, http://www.thamwebsite.com/cty/tiplearn/old/pages/eiffel.htm

 

 

Building the Eiffel Tower Video - Eiffel Tower - HISTORY.com
The Eiffel Tower was originally not well-liked by Parisians, but over time, it has become an iconic symbol of the city.

ภาพสารคดีการสร้างหอไอเฟล จาก, http://www.history.com/topics/eiffel-tower/videos/seven-wonders-the-eiffel-tower

 

 

•ขั้นตอนแรกของการก่อสร้างขาของหอคอยทั้ง 4 ต้น จะถูกสร้างขึ้นพร้อม ๆ กัน จนกระทั่งมาบรรจบกันที่ชั้นแรกของหอคอย ด้วยมุมที่มีความลาดชัน จึงต้องติดตั้งที่ค้ำยันที่ขาทั้ง 4 ต้น และตรงกลางของฐานหอคอย เพื่อรองรับคานและยึดโครงสร้างต่างๆ เอาไว้ ที่ขาแต่ละข้างมีแม่แรงไฮโดรลิกที่สามารถปรับระดับความสูงได้อย่างอิสระ
 

ภาพจาก, pixabay
เสาทั้ง 4 ต้นของหอไอเฟล จาก, pixabay


 

ภาพจาก, pixabay
พัฒนาการการก่อสร้างหอไอเฟล จาก, pixabay

 

 

ภาพจาก, pixabay
โครงสร้างของหอไอเฟล จาก, pixabay

 

ภาพจาก, pixabay
โครงสร้างของหอไอเฟล จาก, pixabay

ภาพจาก, pixabay
โครงสร้างของหอไอเฟล จาก, pixabay

 

แม้ว่าการก่อสร้างหอไอเฟลจะดูอันตรายมากกว่าการสร้างตึกโดยทั่วไป แต่ก็มีบันทึกว่ามีคนงานเสียชีวิตจากการสร้างหอคอยยักษ์นี้เพียงแค่คนเดียวเท่านั้น

 

การเดินทางสู่ยอดหอไอเฟล

ปัจจุบันหอไอเฟลกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังระดับโลกที่มีผู้คนมากกว่า 1 พันคน เดินทางมาเยี่ยมชมหอไอเฟลทุกๆ ชั่วโมง บริเวณขาทั้ง 4 ต้นของหอคอยจะมีลิฟท์ติดตั้งไว้อยู่ ลิฟท์นี้จะเคลื่อนที่โดยทำมุม 60 องศา โดยใช้น้ำเป็นระบบขับเคลื่อนแรงดันในท่อ สำหรับขับลูกสูบให้ส่งแรงผลักไปยังล้อเลื่อนเพื่อดึงสายเคเบิลขึ้นไป เทคโนโลยีอายุร้อยกว่าปีนี้มีการบำรุงรักษา และหล่อลื่นด้วยไขมันแกะอย่างสม่ำเสมอ และยังคงทำงานได้ดีถึงในปัจจุบัน ส่วนลิฟท์ที่ถัดไปชั้นบนของหอคอยนั้น จะทำหน้าที่ขนส่งผู้โดยสารขึ้นไปสู่ยอดหอคอยนั่นเอง

 

ภาพจาก, pixabay
ลิฟท์บนหอไอเฟล จาก, pixabay

 

การบำรุงรักษาหอไอเฟล

หอไอเฟลนั้นมีการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงเป็นอย่างดี มีการทาสีหอคอยให้เหมือนใหม่อยู่เสมอในทุก ๆ 7 ปี ซึ่งแต่ละครั้งจะใช้สีเป็นจำนวนกว่า 60 ตัน นอกจากนี้ยังมีช่างไฟฟ้าที่คอยเดินตรวจตราหอคอยนี้เพื่อดูแลแผงทำความร้อนสำหรับควบคุมอุณหภูมิน้ำในท่อไม่ให้แข็ง เพื่อป้องกันไม่ให้ท่อแตกเมื่อน้ำมีอุณหภูมิต่ำว่า -40 องศาฟาเรนไฮด์ และตรวจสอบและทำการเปลี่ยนหลอดไฟกว่า 360 หลอดเป็นประจำ เพื่อความสวยงามของหอคอยในยามค่ำคืน  

 

pixabay
หอไอเฟลยามค่ำคืน จาก, pixabay

 

 

ในตอนต้นศตวรรษที่ 20 หอไอเฟลถูกใช้เป็นศูนย์รับส่งสัญญานวิทยุ กระทั่งในปี 1909 ศูนย์วิทยุจึงถูกสร้างขึ้นอย่างถาวรที่หอไอเฟล และยังคงอยู่มาถึงปัจจุบัน

 

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Panya
  • 7 Followers
  • Follow