Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ใส่รองเท้า ก้าวสู่ถนนสายนักวิ่ง

Posted By TP_Jack_Plookpanya | 10 ก.ค. 58
2,164 Views

  Favorite

พักการออกกำลังกายในยิมหรือกีฬาประเภทอื่น แล้วลองไปวิ่งที่สนามดูบ้าง ครั้งแรกคุณจะรู้สึกตื่นเต้นกับการสมัครวิ่งมินิมาราธอนครั้งแรก นอกจากรองเท้าที่คอยช่วยลดแรงกระแทกแล้ว การวิ่งก็ต้องมีเทคนิคที่ควรระวัง จะได้ไม่เกิดการบาดเจ็บด้วยเหมือนกัน

 

ภาพ : Pixabay
ภาพ : Pixabay


การลงเท้ามีความสำคัญ

ราสามารถวิ่งได้อย่างเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว การลงเท้าอย่างถูกวิธีก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะจะช่วยลดอาการบาดเจ็บได้
 

1. การวิ่งแบบลงส้นเท้า (heel strike)  เป็นท่าวิ่งที่หลาย ๆ คนเคยชินอยู่แล้ว โดยที่ส้นเท้าจะแตะกับพื้นเป็นอย่างแรก แล้วตามมาด้วยฝ่าเท้า เมื่อมาถึงปลายเท้าก็เป็นการเคลื่อนตัวไปข้างหน้า ในจังหวะที่เท้าได้มีการสัมผัสพื้นควรจะงอหัวเข่าเล็กน้อย และเหยียดไปข้างหลัง แล้วยกเท้าเพื่อเหวี่ยงและเหยียดออกไปข้างหน้าก่อนที่ส้นเท้าจะสัมผัสพื้นอีกครั้ง
ข้อระวัง การวิ่งลักษณะนี้ ทำให้มีแรงกระแทกอาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บที่เข่า เพื่อลดอาการขณะวิ่งลองยกเข่าไม่สูง และก้าวไม่กว้างจนเกินไป 

 

2. การวิ่งแบบลงฝ่าเท้า (midfoot strike/forefoot strike) เป็นท่าที่ขณะวิ่งที่ปลายเท้าหรือฝ่าเท้าจะสัมผัสพื้นเป็นอย่างแรก แล้วตามมาด้วยปลายเท้าที่จะดันไปข้างหน้า การลงเท้าแบบนี้จะไม่ล่ำไปข้างหน้า
ข้อควรระวัง ท่าวิ่งแบบนี้ช่วยลดแรงกระแทกที่เข่า แต่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่เอ็นร้อยหวาย, เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ, กระดูกเกิดอาการร้าวได้
การลงเท้าในการวิ่งอาจจะต้องใช้การฝึกซ้อมของร่างกาย และความใกล้-ไกลของระยะทางที่่วิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งแบบไหนก็ทำให้เกิดการบาดเจ็บได้เพียงแต่การบาดเจ็บที่ตำแหน่งไม่เหมือนกัน ต้องลองปรับท่าตามความเหมาะสม 
 

การเอียงตัว 

ในการวิ่งแบบไม่เอียงตัวจะเป็นท่าวิ่งที่รู้สึกแอ่นหลัง ทำให้มีออาหารปวดหลังหรือไหล่ได้  ลองปรับให้เอียงตัวในลักษณะที่โน้มไปข้างหน้าสักเล็กน้อย
 

การงอข้อศอก

ภาพ : Pixabay
ภาพ : Pixabay


งอข้อศอกเล็กน้อย กำมือหลวม ๆ และแกว่งแขนไปข้างหน้าไม่สูง วิ่งในท่าที่สบาย ๆ แขนอยู่ข้างลำตัว ให้สัมพันธ์กับจังหวะการวิ่ง

 

การหายใจ

การหายใจเข้า-ออกทางจมูก ให้เป็นธรรมชาติ เมื่อรู้สึกหายใจไม่ทันลองใช้การหายใจเข้าทางจมูกและหายใจออกทางปาก แต่ถ้าเริ่มมีการอาการเหนื่อยหอบ ให้ชะลอความเร็วในวิ่งช้าลง จะเริ่มหายใจได้คล่องขึ้นจึงทำการวิ่งต่อ
 

สำหรับการวิ่งก็ควรจะมีการฝึกซ้อมท่า ฝึกซ้อมร่างกาย เพื่อไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บหรือบาดเจ็บน้อยที่สุด เมื่อซ้อมวิ่งไปเรื่อย ๆ แล้วค่อยเพิ่มระยะทางที่ไกลขึ้น ตามที่ร่างกายไหว แต่อย่าหักโหมมากเกินไป สุดท้ายก่อน และหลังวิ่งก็อย่าลืมทำการ Warm-Up, Cool-Down กันด้วยล่ะ

 

ขอบคุณภาพปก : Pixabay
เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • TP_Jack_Plookpanya
  • 0 Followers
  • Follow