Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ครบเครื่องเรื่องการศึกษา (Context of Modern Education)

Posted By Plook Teacher | 05 ต.ค. 59
14,312 Views

  Favorite

 

การศึกษายุคดิจิทัล

        การศึกษาปัจจุบัน เป็นการศึกษาที่ได้นำวิทยาการความรู้มากมายบรรจุไว้และกลั่นกรองออกมาให้นักเรียนได้เรียนรู้ การเข้าถึงความรู้ในอดีตแตกต่างกับในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ในอดีตเราเรียนรู้ผ่านการบอกสอนของครู หรือผู้รู้ในแต่ละศาสตร์ ถ่ายทอดความเป็นแบบแผนจากรุ่นสู่รุ่นมาอย่างยาวนาน จนกลายเป็นภูมิปัญญา ต่อมาได้มีการจัดระบบความรู้เป็นศาสตร์ในด้านต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ได้อย่างเป็นระบบ และในยุคปัจจุบันนี้เองที่การเข้าถึงความรู้นั้นได้เปิดกว้างผ่านเครื่องมืออย่างอินเตอร์เน็ตที่ทำเราสามารถเข้าถึงความรู้ได้ทันท่วงที เข้าถึงแหล่งข้อมูลที่หลากหลายทั่วโลก

 

        ประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในวงการต่าง ๆ ทำให้วงการเหล่านั้นพัฒนาได้อย่างรวดเร็วไม่เว้นแม้วงการศึกษา ดังนั้นการศึกษาสมัยใหม่จึงถือว่าเป็นการศึกษาในยุคดิจิทัล ยุคที่ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างไร้ขีดจำกัด ดังนั้นครูในยุคดิจิทัลจึงต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และนำประโยชน์ของเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสมเพื่อตอบสนองเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของการศึกษา นั่นคือการพัฒนานักเรียนให้มีประสิทธิภาพ

 

        ทักษะการพัฒนา 3 I นั้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเป็นครูมืออาชีพในยุคปัจจุบัน 3 I (ตามแนวคิดของ เอกชัย กี่สุขพันธ์, 2559) นั้นประกอบด้วย การสร้างแรงบันดาลใจ ( Inspiration) ทักษะการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร (IT& Communication skills) และการออกแบบการเรียนรู้ ( Instructional Design) เนื่องจากปัจจุบันเป็นยุคการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ( Digital learning) ครู จึงต้องเป็นผู้แสวงหาความรู้ให้ทันสมัยสมกับเป็นครูในยุคดิจิทัล (Digital teacher) อย่างแท้จริง

 

        นักเรียนในยุคนี้ เป็นยุคที่ต้องเรียนรู้ว่าจะเรียนอย่างไร ( learn how to learn) เรียนรู้ว่าจะรู้ได้อย่างไร (learn how to know) และเรียนรู้ว่าจะทำอย่างไร (learn how to do) ครูในยุคนี้จึงต้องเรียนรู้ว่าจะสอนอย่างไร (learn how to teach) เรียนรู้ว่าจะคิดอย่างไร ( learn how to think) และเรียนรู้ว่าจะสังเคราะห์อย่างไร ( learn how to synthesize)

 

การออกแบบระบบการเรียนรู้ให้ทันยุคสมัย

        เมื่อเทคโนโลยีได้เข้ามาสู่วงการศึกษา ครูหลายท่านพยายามปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ แต่จริง ๆ แล้วการรู้เท่าทันเทคโนโลยี สามารถทำให้เราเข้าใจนักเรียนได้มากขึ้น เข้าถึงนักเรียนได้มากขึ้น ดังนั้นการออกแบบระบบการเรียนรู้ทั้งหลายก็ควรมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาเพื่อประโยชน์สูงสุด

 

        การออกแบบการเรียนรู้ที่ครูสามารถใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ มาปรับใช้ได้นั้น ถือว่าเป็นการทำให้ครูทำงานง่ายขึ้นอย่างเป็นมืออาชีพ การนำเทคโนโลยีมาช่วยในการออกแบบการเรียนรู้นี้ สามารถช่วยเสริมตั้งแต่การวางแผนโดยบางโปรแกรมสามารถจัดการตารางสอนของครู และสามารถเลือกเวลาประชุมที่เหมาะสมได้โดยส่งผลกระทบต่อชั่วโมงสอนน้อยที่สุด ช่วยในการติดต่อสื่อสารไม่ว่าจะเป็นการแจ้งข้อมูลผ่านอีเมล เฟซบุ๊ก ไลน์ ซึ่งจะสามารถช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี ช่วยในการประชุมโดยใช้การนำเสนอผ่านคอมพิวเตอร์ ทำให้การนำเสนอข้อมูลชัดเจนและกระชับขึ้น ช่วยในการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อต่าง ๆ ให้นักเรียนได้ประสบการณ์ทดแทนการเดินทางไปดูของจริง ช่วยในการทำแผนจัดการเรียนรู้โดยการใช้รูปแบบเอกสารโปรแกรมต่าง ๆ ที่สามารถเข้าไปดูเทคนิคการสอนที่หลากหลายได้ทุกวิชาทุกระดับชั้น พร้อมกับสื่อที่สามารถเลือกนำมาใช้ได้เป็นอย่างดี

 

        เด็กในยุคอนาคตจึงสามารถเรียนได้ทุกที่รู้ได้ทุกเวลา ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่อีกต่อไป ครูจึงต้องเพิ่มหรือแนะนำแหล่งการเรียนรู้ให้มากกว่าใบความรู้หรือหนังสือ อาจต้องมีการหาแสวงหาแหล่งการเรียนรู้ใหม่ๆจากโลกกว้างผ่านอินเทอร์เนต และครูเป็นผู้แนะนำให้นักเรียนหลังจากที่ครูได้เข้าไปดูแล้วเห็นว่าเหมาะสมกับการเรียนของนักเรียน

 

สื่อ โปรแกรม และนวัตกรรมจะนำมาสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนได้อย่างไร

การใช้สื่อ โปรแกรม และนวัตกรรมมาช่วยสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ มีให้เลือกได้หลากหลาย ดังตัวอย่างต่อไปนี้

การใช้ระบบส่งงานบนการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (cloud computing)

ครบเครื่องเรื่องการศึกษา (Context of Modern Education)

 

        การใช้ระบบดังกล่าว คือการทำงานของคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกับอินเตอร์เน็ต ที่ให้บริการผู้ใช้ในการแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน โดยข้อมูลจะถูกเก็บไว้ผ่านเครือข่ายไร้สาย ลักษณะของระบบดังกล่าวอาจเป็นรูปแบบแอปพลิเคชัน ในรูปของระบบการจัดเก็บข้อมูล หรือในรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งจะสะดวกต่อการเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายกว่าการส่งงานผ่านเอกสาร หรืออีเมล

 

        ครูสามารถสั่งงานนักเรียน แล้วให้นักเรียนส่งข้อมูลเข้ามาในระบบดังกล่าว ซึ่งทำให้ครูและเพื่อนสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวและพร้อมนำไปใช้ได้ทันที โดยนักเรียนสามารถส่งได้จากคอมพิวเตอร์ที่บ้าน คอมพิวเตอร์พกพาหรือแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือของตนเอง ครูก็สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้ทุกที่ทุกเวลาเช่นกัน นอกจากนี้ยังสามารถจำกัดการเข้าใช้ได้ตามความเหมาะสม

 

การสร้างรูปแบบแผนการสอนยุคดิจิทัล

        การสร้างรูปแบบแผนการสอนยุคใหม่นั้น ครูไม่จำเป็นต้องละทิ้งแนวคิดการศึกษาแบบดั้งเดิมที่ได้เรียนรู้มาแต่เป็นการเชื่อมโยงเครื่องมือดิจิทัลมาใช้ได้อย่างเหมาะสม ครูอาจใช้แบบฟอร์มที่ออกแบบจากโปรแกรมในการจัดทำแผนการเรียนรู้ รวมไปถึงจัดหาสื่อ หรือสร้างสื่อการสอนขึ้นใหม่เพื่อใช้ควบคู่กับแผนการเรียนรู้ที่ออกแบบขึ้นนอกจากนี้ในขั้นสอนครูอาจเลือกภาพเคลื่อนไหว เพลง หรือเกมที่มีเนื้อหาตรงกับเรื่องที่สอนมาให้นักเรียนได้ดู ได้ Benajmin P. Griner, Philip J. Butler  เล่น ได้แสดงความคิดต่อยอดโดยครูต้องเปลี่ยนจากการให้ความรู้ มาเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ให้นักเรียนรู้จักค้นคว้าด้วยตนเอง มาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน พร้อมกับครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทาง

 

        ระบบห้องเรียนออนไลน์ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้สามารถช่วยในการเรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด โดยที่ครูสามารถนำความรู้ที่จะสอน อัพโหลดในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร รูปภาพ วีดิทัศน์ รวมถึงแหล่งค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเตรียมไว้เป็นแนวทางให้กับนักเรียน ทั้งนี้ เพื่อให้ครูทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะแนวทางการแสวงหาความรู้และให้นักเรียนได้ฝึกฝนทักษะการแสวงหาความรู้ และสรุปองค์ความรู้ด้วยตัวเอง เช่น บทเรียนแสวงรู้บทเว็บ (WebQuest) ซึ่งปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการก็ได้มีการพัฒนา และสนับสนุนด้านนี้อย่างต่อเนื่อง

 

การใช้สื่อเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการเรียนรู้ 

ครบเครื่องเรื่องการศึกษา (Context of Modern Education)

 

        กิจกรรมการเรียนรู้ปัจจุบันสามารถพัฒนารูปแบบต่าง ๆ อย่างหลากหลาย เช่น การสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง ครูเลือกภาพยนตร์มาเปิดบางช่วงบางตอนผ่านคอมพิวเตอร์ แล้วให้นักเรียนสังเกต วิเคราะห์ ตอบคำถามหรือตัดสินใจภายใต้กระบวนการเหล่านั้น นอกจากนี้ครูยังสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่อาจไม่สะดวกในการเดินทางโดยให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถเจอกับนักเรียน สนทนา และเปลี่ยนประสบการณ์ผ่านระบบออนไลน์ อาจเป็นผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น สไกป์ เว็บแคม เฟซบุ๊กไลฟ์

 

        บางครั้งอาจใช้คอมพิวเตอร์โรงเรียนในการเก็บข้อมูลที่คัดสรรมาแล้วในระบบอินทราเน็ต ( intranet) แล้วให้นักเรียนได้เข้าไปศึกษาหาความรู้จากแหล่งข้อมูลที่ครูจัดหามาให้ อาจมีทีมงานหรือเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนที่หาข้อมูลที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ โดยนักเรียนและครูร่วมหาข้อมูลเข้ามาใส่ในระบบภายใน โดยครูและเจ้าหน้าที่ ในอนาคตควรจะมีอัตราเจ้าหน้าที่ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อการตรวจสอบความถูกต้อง การอ้างอิงแหล่งข้อมูลอย่างไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ 

 

ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขการใช้สื่อ โปรแกรม และน านวัตกรรมมาใช้จัดการเรียนการสอน

ประเด็นปัญหา  ลักษณะปัญหาและอุปสรรค แนวทางการแก้ไขปัญหา
1. ความเร็ว อินเตอร์เน็ต การสอนเป็นอย่างมาก รวมถึง การดึงข้อมูลหลังจากดาวน์โหลด 

เป็นข้อมูลภายในเซฟเวอร์ของโรงเรียน  

2. การรู้เท่าทัน สื่อ รวมถึงการ ละเมิด  การมีวิจารณญาณในการใช้สื่อ ในปัจจุบันการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ตมีอิสระมาก นอกเหนือจากแหล่งข้อมูลที่ครู แนะนำให้ หรือนอกเหนือ บทเรียน นักเรียนสามารถค้นคว้า หาความรู้ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งข้อมูล จากอินเตอร์เน็ตใช่ว่าจะถูกต้อง เสมอไป 

1) ครูจะต้องเป็นผู้ที่สอดแทรกเรื่องการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในแต่ ละบทเรียนเสมอ ให้นักเรียนรู้จักแยกแยะ และมีวิจารณญาณ ในการเลือกแหล่งข้อมูล วิเคราะห์ความเหมาะสม ถูกผิด

2) ครูอาจยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไม่ว่าจะเป็น อุบัติเหตุ ภัยสังคม อาชญากรรม

3) ครูต้องสร้างความตระหนักในเรื่องความรุนแรงของ กฎหมาย โดยยกตัวอย่างจากข่าวที่ปรากฏในหัวข้อต่าง ๆ ไม่ ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องลิขสิทธิ์ การละเมิดโดยการนำภาพ ผู้อื่นมาลงโดยไม่ได้รับอนุญาต 

3. การละเมิด  การละเมิดกฎหมาย เช่น การ เผยแพร่ภาพคน ภาพผู้ตาย ภาพ ลิขสิทธิ์ การโจรกรรมทางวิชาการ (Cyber-Plagiarism) ซึ่งในระดับ ห้องเรียน ถึงแม้จะเป็นเรื่อง เล็กน้อยที่นักเรียนลอกงานจาก อินเตอร์เน็ตมาส่งครู แต่แท้จริง แล้วเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย 

1) การยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไม่ว่าในเรื่อง การกระทำความผิดบนโลกออนไลน์มาประยุกต์ในการเรียนรู้

2) การสอนหลักวิธีการอ้างอิงอย่างถูกต้อง ยกตัวอย่างการ อ้างอิงที่ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

3) การให้ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายลิขสิทธิ์มาให้ความรู้แก่ นักเรียน

4) การสร้างทักษะนักเรียนควรมีทักษะในการประมวลความรู้ และถ่ายทอดความรู้ที่ได้ออกมาเป็นภาษาของตนเอง

5) นักเรียนควรมีทักษะในการประมวลความรู้ และถ่ายทอด ความรู้ที่ได้ออกมาเป็นภาษาของตนเอง ไม่คัดลอกงานมาโดย ไม่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการฝึก ทักษะการคิดของนักเรียนเอง 

4. การอ่านออก เขียนได้  แม้ว่าการศึกษาจะก้าวมาถึงยุค ดิจิทัล แต่เรายังพบปัญหาอย่าง หนึ่งที่สำคัญคือยังมีเด็กไทย จำนวนมากอ่านหนังสือไม่ออก แม้บางคนจะเรียนอยู่ในระดับ มัธยมศึกษาแล้วก็ตาม อาจเนื่องจากในยุคดิจิทัลนั้น ทุกคน ต้องการความเร็ว จึงทำให้หลาย ครั้งที่เด็กอาจดูเพียงรูปภาพ หรือ วีดิทัศน์มากกว่าที่จะอ่าน ตัวหนังสือยาว ๆ 

1) ครูใช้เกมหรือสื่อการเรียนรู้ในการพัฒนานักเรียนได้เป็น รายบุคคล

2) การท าวิจัยในชั้นเรียนเรื่องเกี่ยวกับการอ่านออกเขียนได้

3) การหาเครื่องมือมาแก้ปัญหาเรื่องเหล่านี้ได้โดยใช้ เทคโนโลยีเข้ามาช่วย

 

คำถามเพื่อนำไปสู่ Action Learning

1. การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีมีผลต่อการจัดการเรียนการสอนของครูอย่างไร และทัศนคติของครูที่มีต่อเทคโนโลยีควรเป็นอย่างไรจึงจะมีส่วนช่วยให้การจัดการเรียนการสอนของครูมีคุณภาพมากขึ้น
2. ท่านคิดว่านวัตกรรมการศึกษาในเรื่องใดบ้าง ที่สถานศึกษาหรือครูอาจารย์ได้นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่ท่านคิดว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนได้เป็นอย่างดี เพราะเหตุใด
3. คุณลักษณะสำคัญของครูอาจารย์ควรมีอะไรบ้าง ที่จะทำให้ครูอาจารย์สามารถปรับการเรียนของนักเรียนและเปลี่ยนการสอนของตนเองให้เหมาะสมกับยุคดิจิทัล


KPIs
1. ร้อยละของครูที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้
2. สัดส่วนของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในคาบเรียน

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plook Teacher
  • 127 Followers
  • Follow