Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

สยามทำ "สนธิสัญญาเบอร์นี่" กับอังกฤษ

Posted By Plook Panya | 20 มิ.ย. 60
103,695 Views

  Favorite

20 มิถุนายน พ.ศ. 2369 (ค.ศ. 1826)
สยามทำ "สนธิสัญญาเบอร์นี่" กับอังกฤษ

รัฐบาลสยามลงนามใน “สนธิสัญญาเบอร์นี” (Burney Treaty) กับอังกฤษในวันนี้ นับเป็นสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ฉบับแรกที่สยามได้ทำกับประเทศตะวันตกในสมัยรัตนโกสินทร์ ผลจากการทำสนธิสัญญาฉบับนี้ทำให้เกิดการขยายตัวทางการค้าทั้งในเรื่องของการเก็บภาษี และการผลิตสินค้าส่งออกให้มากขึ้น
 

ร้อยเอก “เฮนรี เบอร์นี” (Henry Burney) ทูตของอังกฤษ เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยามในปีพ.ศ. 2368 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) โดยมีความประสงที่จะขอเปิดสัมพันธไมตรีกับสยาม และขอความสะดวกในการค้าได้อย่างเสรี โดยใช้เวลา 5 เดือนจึงสามารถทำสนธิสัญญากับสยามได้สำเร็จ และจัดทำขึ้นเป็น 4 ภาษาได้แก่ ไทย อังกฤษ โปรตุเกส และมลายู

 

ภาพ
ภาพ : Wikipedia

 

สาระสำคัญของสนธิสัญญาเบอร์นี

• อนุญาตให้พ่อค้าสยามทำการค้ากับพ่อค้าอังกฤษได้อย่างเสรี

• รัฐบาลสยามจะเก็บภาษีจากพ่อค้าอังกฤษตามความกว้างของปากเรือ 

• เจ้าพนักงานสยามมีสิทธิ์ลงไปตรวจสอบสินค้าของพ่อค้าชาวอังกฤษ 

• ชาวอังกฤษที่เข้ามาค้าขายในประเทศสยามจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายสยามทุกประการ

 

การทำสนธิสัญญาเบอร์นีก่อให้เกิดการขยายตัวด้านการค้าต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในโครงสร้างเศรษฐกิจสยาม 2 ประการคือ ทำให้รัฐต้องปรับวิธีการหารายได้และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ในรูปภาษีมากขึ้น และก่อให้เกิดการผลิตเพื่อการค้าส่งออกเพิ่มขึ้น

 

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Panya
  • 7 Followers
  • Follow